พระเอกดังแชร์คลิปนี้ เสียงเพลงคืนความทรงจำนักบัลเลต์สู่หญิงชรา

พระเอกดังแชร์คลิปนี้เดลีเมล์ รายงานเบื้องหลังคลิปน่าทึ่ง เมื่อคุณยายผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ยินเสียงเพลง Swan Lake (สวอน เลกหงส์เหิน) แล้วขยับมือตามท่าที่ตนเองเคยเต้นบัลเลต์เป็นดาวดังสมัยสาวๆ หรือเมื่อ 53 ปีก่อน

 

คุณยายชื่อ มาร์ทา เซ กอนซาเลซ ชาวสเปน เสียชีวิตไปเมื่อปี 2562 แต่คลิปนี้เพิ่งเผยแพร่ออกมาให้ผู้คนเห็นถึงพลังและความมหัศจรรย์ของเสียงดนตรีที่ทำให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมฟื้นความทรงจำขึ้นมาอีกครั้ง

คลิปเริ่มจากที่คุณยายนั่งบนวีลแชร์ในบ้านพักผู้สูงอายุ ที่แคว้นบาเลนเซียของสเปน จากนั้นผู้ดูแลสวมหูฟังและเปิดเพลงสวอนเลก บทประพันธ์ของ ไชคอฟสกี ยอดคีตกวีชาวรัสเซียที่ใช้สำหรับการแสดงบัลเลต์ ให้คุณยายฟัง

ภาพคุณยายสมัยเป็นนักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง

เมื่อได้ยินเสียงเพลงคุณยายเริ่มขยับแขนและวาดมือเป็นท่าเต้นบัลเลต์สมัยที่เคยสวมบทเป็นเจ้าหญิงโอเดตต์ ตัวละครเอกของเรื่องผู้ถูกสาปให้เป็นหงส์ในเวลากลางวันและกลายเป็นมนุษย์ในเวลากลางคืน

มือของคุณยายโบกโบยราวกับหงส์ท่วงท่าสง่างามโดยยังจดจำท่าทางและทำนองเพลงอย่างแม่นยำ
ราวกับแสดงอยู่บนเวทีการเมื่อปี 2510 หลังจบการแสดงบนวีลแชร์ คุณยายได้รับเสียงปรบมือจากคนในบ้านพักผู้สูงอายุ คุณยายบอกกับผู้ดูแลว่าปลาบปลื้มจ้ะ

สมาคมมูซิกา ปารา เดสเปร์ต้า องค์กรการกุศลของสเปนเผยแพร่คลิปแสนประทับใจนี้ ซึ่งบันทึกไว้ก่อนที่มาร์ทาเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วโดยเป็นการใช้เสียงเพลงปลุกความทรงจำและอารมณ์ให้แจ่มชัดขึ้นมาอีกครั้ง สะท้อนถึงพลังของเสียงเพลงที่ไม่อาจวัดได้ และขอให้ดวงวิญญาณของคุณยายสงบสุข

อันโตนิโอ แบนเดอรัส พระเอกดังของฮอลลีวูด แชร์คลิปนี้ในเฟซบุ๊กพร้อมกับเขียนว่าเมื่อ 53 ปีก่อน เธอเป็นนักเต้นบัลเลต์ของนิวยอร์กซิตี เพลงของไชคอฟสกีดูเหมือนสยบอาการอัลไซเมอร์ได้ หวังว่าคลิปนี้จะช่วยบันทึกความทรงจำที่เป็นความหลงใหลในศิลปการแสดงของเธอ”

อันโตนิโอ แบนเดอรัส

ตอนนี้ เธอจากไปแล้ว แต่ภาพเหล่านี้ยังคงเผยแพร่และจะเก็บความงดงามของการแสดงและความหลงใหลของเธอไว้ในความทรงจำ ขอไว้อาลัยแด่ มาร์ทา เซ กอนซาเลซ

เมื่อเดือน เม.. 2562 แมตต์ สกอตต์ รมว.สาธารณสุขอังกฤษระบุว่าผู้ป่วยความจำเสื่อมได้ประโยชน์จากบัญชีเพลงส่วนตัวพร้อมทั้งแนะนำว่าควรให้ผู้ป่วยความจำเสื่อมฟังเพลงและเต้นรำ

อัลไซเมอร์แต่จำได้!

หลังจากการศึกษาจากองค์กรเพลย์ลิสต์ ฟอร์ ไลฟ์ พบว่าผู้ป่วยที่ฟังเพลงที่ตัวเองชื่นชอบ จะลดการพึ่งพายาได้ถึงร้อยละ 60 แสดงให้เห็นว่าเพลงทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมรู้สึกสงบเพราะลดความคิดฟุ้งซ่านและช่วยให้อาการป่วยดีขึ้นได้

รัฐบาลอังกฤษจึงวางแผนที่จะใช้การดูแลรักษาเฉพาะบุคคลเป็นกุญแจสำคัญของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติในระยะยาวต่อไป

สำหรับอังกฤษมีผู้ป่วยความจำเสื่อมมากกว่าปีละ 850,000 คนและคาดว่าจะเพิ่มเป็นกว่า 1 ล้านคนภายในปี 2568

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน