ออสเตรเลีย เปลี่ยนคำในเพลงประจำชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นไป ซึ่งเปลี่ยนเพื่อสะท้อนความสำคัญของ ประวัติศาสตร์ชนพื้นเมือง

The New Daily

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2564 สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า ออสเตรเลียได้ทำการแก้ไขเนื้อเพลงของเพลงชาติอย่างเป็นทางการ เพื่อยกเลิกความเข้าใจและการอ้างอิงตามเนื้อเพลงเดิมว่าประเทศนี้ “เป็นชาติที่เพิ่งเกิดใหม่และเป็นอิสระ” เปลี่ยนเป็น “เพื่อเราเป็นหนึ่งเดียวและเป็นอิสระ”

ที่ผ่านมา ออสเตรเลียเกิดการเรียกร้องจากประชาชนจำนวนมาก ให้ยอมรับว่าชนพื้นเมืองของออสเตรเลียเป็นอารยธรรมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันที่มีความเก่าแก่ที่สุดในโลก โดยการเปลี่ยนแปลงเป็น “เพื่อเราเป็นหนึ่งเดียวและเป็นอิสระ” เริ่มมีผลในวันศุกร์ที่ (1 ม.ค.64)

“เราอาศัยอยู่ในดินแดนอันไร้กาลเวลาของกลุ่มชนชาติแรก และเรารวบรวมประวัติศาสาตร์เรื่องราวของบรรพบุรุษและกลุ่มภาษาที่แตกต่างกันมากกว่า 300 ชาติพันธุ์เข้าด้วยกัน ดังนั้นเพลงประจำชาติของเราควรสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนั้นด้วย และจากการเปลี่ยนแปลงที่เราได้ทำไป ซึ่งเราได้ประกาศในวันนี้ ฉันคิดว่าออสเตรเลียบรรลุเป้าหมายนั้นแล้ว” นาย สก็อตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวกับผู้สื่อข่าว ณ กรุงแคนเบอร์รา

Reconciliation Australia

ออสเตรเลียพยายามรับมือกับความขัดแย้งกับชนพื้นเมือง”อะบอริจิน” มานานหลายทศวรรษ ซึ่งชนพื้นเมืองมาอยู่ในดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ 50,000 ปี ก่อนการมาถึงของอาณานิคมของอังกฤษ ต่อมาออสเตรเลียพยายามอย่างยิ่งเพื่อสร้างความสมานฉันท์และปรองดองกับชาวพื้นเมือง โดยในแต่ละปีออสเตรเลียจะมีวันหยุดประจำชาติ ในวันที่ 26 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ “กองเรือแรก” แล่นเข้าสู่อ่าวซิดนีย์ ในปี พ.ศ. 2331 โดยมีนักโทษและกองทหารจากอังกฤษเป็นคนกลุ่มหลัก ซึ่งคนพื้นเมืองบางคนเรียกวันประจำชาติออสเตรเลียนี้ว่า“ วันรุกราน”

Reconciliation Australia

ทั้งนี้ที่ผ่านมาก็มีการส่งเสียงถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ แต่การเรียกร้องความเสมอภาคของชนพื้นเมืองถูกจุดประกายอย่างยิ่งในช่วงที่ทั่วโลกมีการเคลื่อนไหวทางสังคมจากขบวนการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ‘แบล็กไลฟส์แมตเทอร์’ (Black Lives Matter)

Gladys Berejiklian นายกเทศมนตรีแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์

โดยความคิดที่จะเปลี่ยนคำในเพลงชาตินั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2020 โดย Gladys Berejiklian นายกเทศมนตรีแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้กล่าวว่าถ้อยคำในเพลงชาตินั้นเพิกเฉยต่อ“ วัฒนธรรมแรกแห่งชาติที่น่าภาคภูมิใจ”ของออสเตรเลีย โดยข้อเสนอดังกล่าวได้รับการต้อนรับจากฝ่ายนิติบัญญัติจำนวนมาก รวมถึง นายเคน ไวแอท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการชนพื้นเมืองของรัฐบาลกลาง ซึ่งมีเชื้อสายเป็นชนพื้นเมือง หรือแม้แต่ พอลลีน แฮนสัน หัวหน้าพรรค One Nation ที่เป็นฝ่ายขวาในออสเตรเลีย

พอลลีน แฮนสันซึ่ง ผู้ก่อตั้งและผู้นำแห่งพรรค One Nation ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนวประชานิยมฝ่ายขวาของออสเตรเลีย

ก่อนหน้านี้ พอลลีน แฮนสัน เคยกล่าวว่า เธอจะเตะก้นเด็กหญิงชื่อฮาร์เปอร์ นีลสัน วัย 9 ปี ที่ถูกลงโทษ จากการที่ฮาร์เปอร์ไม่ยอมยืนตรงร้องเพลงชาติเพื่อประท้วงอย่างสันติว่าเพลงชาติออสเตรเลียที่มีเนื้อหาที่ผิดไปจากความจริง และฮาร์เปอร์พยายามสิ่งเหล่านี้เพื่อต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคและอำนาจที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ทั้งนี้ มาร์ค นีลสัน พ่อของฮาร์เปอร์ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์จากคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้กล่าวว่า การลงโทษฮาร์เปอร์ได้สร้างความตระหนักเรื่องการเหยียดเชื้อชาติในสถาบันของรัฐ และตัวเขาเองสนับสนุนความเห็นของลูกสาวอย่างเต็มที่

โดย พอลลีน แฮนสัน วิจารณ์ว่า เด็กหญิงฮาร์เปอร์ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติ และเธอถูกล้างสมองให้เดินผิดทาง พร้อมโทษว่าที่เป็นความผิดของพ่อแม่ที่สนับสนุนเด็ก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน