หนูเป็นอัมพาตกลับมาเดินได้ ทึ่งนักวิจัยเยอรมันเสกด้วยพันธุวิศวกรรม

หนูเป็นอัมพาตกลับมาเดินได้เดลีเมล์ รายงานผลงานวิจัยล่าสุดช่วยให้หนูเป็นอัมพาตกลับมาเดินได้อีกครั้ง จุดประกายความหวังให้ผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาต 5,400,000 คนทั่วโลก

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรูเออห์ โบคุมในเยอรมนีกระตุ้นประสาทไขสันหลังที่บาดเจ็บของหนู โดยใช้โปรตีนดีไซเนอร์หรือโปรตีนที่ใช้พันธุวิศวกรรมสร้างขึ้นมา ทำให้หนูอัมพาตเคลื่อนไหวขาหลังไม่ได้ กลับมาเดินได้อีกครั้งภายในเวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ หลังจากที่ได้รับการรักษา

คณะนักวิจัยกระตุ้นให้เซลล์เส้นประสาทคอร์เทกซ์สั่งการและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกผลิตโปรตีน hyper-interleukin-6 ด้วยการฉีดไวรัสที่อัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสร้างพิมพ์เขียวให้ผลิตโปรตีนเฉพาะเซลล์ประสาท

ขณะนี้ นักวิจัยกำลังสำรวจว่า hyper-interleukin-6 มีผลบวกต่อหนูหรือไม่ แม้ว่าเกิดอาการบาดเจ็บก่อนหน้านี้หลายสัปดาห์เพื่อค้นหาคำตอบว่าการรักษาด้วยวิธีนี้พร้อมที่จะทดลองกับมนุษย์หรือไม่

โปรตีนชนิดนี้ หรือ hyper-interleukin-6 (hIL-6) ทำหน้าที่สำคัญต่อประสาทไขสันหลังที่ทำให้พิการเพราะไปทำลายใยประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ หรือ แอกซอน ซึ่งส่งสัญญาณไป-กลับระหว่างสมอง ผิวหนังและกล้ามเนื้อ หากแอกซอนหยุดทำงานก็จะขัดขวางการสื่อสารระหว่างใยประสาทและเซลล์
หากใยประสาทไม่ฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ ผู้ป่วยก็จะเป็นอัมพาต

หนูเป็นอัมพาตกลับมาเดินได้

โปรตีนนี้เป็นไซโตไคน์ซึ่งสำคัญต่อการส่งสัญญาณไปยังเซลล์ แต่โปรตีนดีไซเนอร์นี้ไม่พบตามธรรมชาติ ต้องผลิตด้วยพันธุวิศวกรรม

ดีตมาร์ ฟิสเชอร์ หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวว่าสิ่งที่พิเศษจากการวิจัยนี้ คือ โปรตีนไม่เพียงแต่จำลองเซลล์ประสาทที่ผลิตขึ้นได้โดยเซลล์เท่านั้น แต่ยังส่งไปยังไปสมอง

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยเคยทดลองใช้วิธีการแยกเซล์กระตุ้นเซลล์ปะสาทในระบบการมองเห็นมาแล้ว แต่การวิจัยล่าสุด มุ่งเน้นไปที่คอร์เทกซ์สั่งการและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกโดยใช้การผลิตโปรตีนดีไซเนอร์
ฟิสเชอร์

คณะใช้ไวรัสในการรักษาด้วยการกระตุ้นเซลล์ประสาทในส่วนคอร์เทกซ์สั่งการและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกเพื่อให้ผลิต hyper-interleukin-6 ขึ้นมาเอง

ไวรัสนี้ได้มากจากการเลือกให้เหมาะกับการรักษาแบบยีนบำบัด รวมทั้ง สร้างพิมพ์เขียวให้สร้างโปรตีนขึ้นสร้างเซลล์ประสาทสั่งการ

เซลล์เหล่านี้เชื่อมกับแอกซอนและเซลล์ประสาทในส่วนต่างๆ ของสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสั่งการการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน ส่วนโปรตีน hyper-interleukin-6 จะถูกส่งตรงไปยังเซลล์ประสาทสำคัญและกระตุ้นให้แอกซอนสร้างเซลล์ประสาทต่างๆ ขึ้นมาในสมองและส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวในประสาทไขสันหลัง ในที่สุด สัตว์ที่เคยเป็นอัมพาตก็เริ่มเดินได้อีกครั้ง หลังจากได้รับการรักษา 2-3 สัปดาห์

ฟิสเชอร์กล่าวว่านี่เป็นงานวิจัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและการทดลองในขั้นต่อไปจะแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ประยุกต์ใช้การรักษาด้วยวิธีนี้กับมนุษย์หรือไม่
///////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน