ล็อบสเตอร์สีเหลือง หายาก 1 ใน 30 ล้านตัว ได้ชื่อ บานานา (เจ้ากล้วย)

ล็อบสเตอร์สีเหลืองเดลีเมล์ รายงานว่า ชาวประมงรัฐเมนของสหรัฐอเมริกา พบกุ้งล็อบสเตอร์สีเหลือง สุดหายาก 1 ใน 30 ล้านตัว

มาร์ลีย์ บาบบ์ นักจับกุ้งล็อบสเตอร์แห่งอ่าวเทแนนท์ จับกุ้งสีแปลกได้และส่งมอบให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ เมืองบิดฟอร์ต รัฐเมน

ล็อบสเตอร์สีเหลือง

กุ้งล็อบสเตอร์สีเหลืองอร่ามมีนามว่าบานานาหรือ กล้วย ตามสีสดใสที่เกิดจากยีนผ่าเหล่าในโปรตีนที่เชื่อมโยงกับเม็ดสีที่เปลือก

ล็อบสเตอร์ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางการว่าคริสตัล ล็อบสเตอร์เกิดจากความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีทำให้เป็นสีขาว สีซีดหรือสีกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งตัว

ด้านให้ศูนยวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้งบประมาณ 860,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 25,800,000 บาท แก่แผนกวิจัยทางทะเลและองค์กรอื่นๆ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นในอ่าวเมนที่มีต่อตัวอ่อนล็อบสเตอร์และความสำเร็จในการเติบโตจนถึงขั้นโตเต็มวัย

ก่อนหน้านี้ เคยมีการศึกษาใหม่ 2 ชิ้น เมื่อปี 2562 ที่พบว่าน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นและความแตกต่างด้านสมุทรศาสตร์ในท้องถิ่นต่างๆ มีผลต่อประชากรล็อบสเตอร์ทางตอนใต้ของนิวอิงแลนด์ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติกในแคนาดา

ส่วนบานานามีสีเหลืองสดใสทำให้ตกเป็นเป้าโจมตีของนักล่าได้ง่ายและมีโอกาสรอดน้อย เจ้าหน้าที่ศูนยวิทยาศาสตร์ทางทะเลช่วยกันดูแลล็อบสเตอร์ตัวนี้และไม่มีแผนที่จะคืนสู่ท้องทะเล

ล็อบสเตอร์สีเหลือง

มหาวิทยาลัยเมนเปิดเผยผลการศึกษา 2 ชิ้นเมื่อปี 2562 พบว่ามหาสมุทรอุ่นมีผลต่อการเพิ่มและลดจำนวนประชากรล็อบสเตอร์

งานวิจัยชิ้นแรก พบว่าตัวอ่อนล็อบสเตอร์ลดลงในอีก 10 ปีข้างหน้าและน่าเป็นห่วงว่าอ่าวเมนอาจจะฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้เหมือนเดิมได้ยาก

ล็อบสเตอร์ทั่วไปสีแบบนี้ / In this March 13, 2020, file photo, lobsters await shipping at a wholesale distributer in Arundel, Maine. (AP Photo/Robert F. Bukaty, File)

ส่วนงานวิจัยชิ้นที่ 2 ศึกษาน้ำขึ้นน้ำลงกับพฤติกรรมของตัวอ่อนเพื่อดูผลกระทบด้านบวกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเพราะเมื่อน้ำทางตอนใต้ของอ่าวเมนอุ่นขึ้นก็ทำให้เพิ่มพื้นที่สำหรับให้ตัวอ่อนล็อบสเตอร์เติบโต

น้ำที่อุ่นขึ้นช่วยให้ตัวอ่อนอยู่บนผิวน้ำได้นาน แต่น้ำที่เย็นอาจทำให้ตัวอ่อนส่วนใหญ่ตาย

ส่วนน้ำที่ลึกกว่า กระแสน้ำไม่นิ่ง น้ำทะเลจึงไม่ได้เป็นชั้นของผืนน้ำที่มีอุณหภูมิต่างกันและใต้ท้องทะเลเป็นสถานที่เหมาะสำหรับตัวอ่อนล็อบสเตอร์ที่จะเติบโตต่อไปจนต้องขยายพื้นที่ใต้ทะเลสำหรับเป็นที่อาศัยของตัวอ่อนเหล่านี้และช่วยเพิ่มจำนวนล็อบสเตอร์ที่แข็งแรงให้อยู่รอดในภูมิภาคนี้มากกว่าเมื่อสิบปีก่อนและชดเชยกับจำนวนกุ้งที่อาจจะลดลงในอนาคตได้

/////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ล็อบสเตอร์สีน้ำเงิน รอดหวุดหวิด ได้ไปสวนสัตว์แทนภัตตาคาร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน