จี้คณะมนตรีความมั่นคงฯ แก้วิกฤตเมียนมา หวั่นกลายเป็น “สงครามกลางเมือง”

จี้คณะมนตรีความมั่นคงฯ – วันที่ 1 เม.ย. เอเอฟพี รายงานความคืบหน้าสถานการณ์ความไม่สงบใน เมียนมา (พม่า) ว่า นางคริสทีน ชราเนอร์ บูร์เกเนอร์ ทูตพิเศษสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ด้านกิจการเมียนมา เรียกร้องต่อที่ประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ให้เร่งดำเนินการเพื่อยุติวิกฤตที่ทวีความรุนแรง พร้อมเตือนถึงความเสี่ยงของสงครามกลางเมืองและการนองเลือดเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากรัฐบาลทหารเมียนมายังใช้กำลังและความรุนแรงปราบปรามพลเรือนที่ประท้วงเพื่อประชาธิปไตย

ขณะที่สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองในเมียนมา (เอเอพีพี) ระบุว่ายอดผู้เสียชีวิตจากการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเพิ่มเป็นอย่างน้อย 536 ราย และตั้งแต่กองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือเมื่อวันที่ 1 ก.พ. มีคนถูกจับเกือบ 2,730 คน ในจำนวนนี้ 38 คนถูกพิพากษาโทษ

“ดิฉันขอให้สภาแห่งนี้พิจารณาใช้เครื่องมือที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อดำเนินการร่วมกันและทำในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่ประชาชนชาวเมียนมาสมควรได้รับ และป้องกันไม่ให้เกิดหายนะในหลายมิติ ถ้าเรารอเวลาที่พวกเขาพร้อมจะพูด สถานการณ์ภาคพื้นอาจจะเลวร้ายลง การนองเลือดกำลังใกล้เข้ามา” นางบูร์กเนอร์กล่าว

จี้คณะมนตรีความมั่นคงฯ

(FILES) UN Special Envoy for Myanmar Christine Schraner Burgener arrives at Sittwe airport after visiting Maung Daw Township at the Bangladesh-Myanmar border area in Rakhine State. Burgener implored the UN Security Council to take action on March 31, 2021. / AFP / STR

นางบาร์บารา วูดวาร์ด เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรอังกฤษประจำยูเอ็น กล่าวว่าคณะมนตรีความมั่นคงฯ รวมเป็นหนึ่งเดียวในการประณามรัฐบาลทหารเมียนมา และกำลังเร่งหารือเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ที่จะดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ทางการจีนซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของเมียนมา แสดงจุดยืนว่าไม่ต้องการใช้มาตรการคว่ำบาตรกับเมียนมา

นายจาง จุน เอกอัครราชทูตจีนประจำยูเอ็น กล่าวในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯ เมื่อวันพุธที่ 31 มี.ค. ว่า รัฐบาลจีนต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในเมียนมาซึ่งปกครองโดยกองทัพ “จีนหวังว่าเมียนมาจะฟื้นคืนสันติภาพ เสถียรภาพ และความสงบเรียบร้อยตามรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมๆ กับเดินหน้าการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอย่างมั่นคง การรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมาอยู่ในความสนใจร่วมกันของประชาคมโลก หากเมียนมาซวนเซเข้าสู่ความปั่นป่วนยืดเยื้อ สิ่งนี้จะเป็นหายนะต่อเมียนมาและภูมิภาคโดยรวม”

นายจางยังระบุอีกว่าจีนมีความเสมอต้นเสมอปลายต่อต้านการใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจต่อเมียนมา การกดดันฝ่ายเดียวและการเรียกร้องให้คว่ำบาตรหรือมาตรการบีบบังคับอื่นๆ มีแต่จะทำให้ความตึงเครียดและการเผชิญหน้ายิ่งรุนแรง ขณะเดียวกันสถานการณ์ก็ยิ่งซับซ้อนขึ้น

จี้คณะมนตรีความมั่นคงฯ

(FILES) Permanent Representative of China to the United Nations, Zhang Jun, speaks during a United Nations Security Council meeting on t the United Nations in New York. China said on March 31, 2021, it wanted a “democratic transition” in military-ruled Myanmar but ruled out sanctions at a UN Security Council meeting. AFP

นอกจากนี้นายจางยังเรียกร้องให้มีการปกป้องธุรกิจต่างชาติในเมียนมา ซึ่งก่อนหน้านี้โรงงานจีนกว่า 30 แห่งในนครย่างกุ้งถูกจุดไฟเผาวอดท่ามกลางการสันนิษฐานว่าเพราะผู้ประท้วงโกรธเคืองที่ทางการจีนเมินเฉยต่อการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมา

“เราหวังว่าทุกฝ่ายในเมียนมาจะสามารถรักษาความสงบ ใช้ความยับยั้งชั่งใจ และดำเนินการด้วยทัศนคติที่สร้างสรรค์เพื่อลดความคุกรุ่นและทำให้สถานการณ์สงบลง ชีวิตและทรัพย์สินของชาวเมียนมา รวมถึงชาวต่างชาติและธุรกิจควรได้รับการคุ้มครอง และการโจมตีใดๆ ก็ตามเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”

ด้าน นางลินดา กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเอ็น กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะยกระดับมาตการตอบสนองถ้ากองทัพเมียนมาไม่ยอมยุติการใช้กำลังเข่นฆ่าประชาชน “ถ้าพวกเขายังดำเนินการโจมตีต่อพลเรือนต่อไป เราต้องดูว่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้” นางกรีนฟิลด์ระบุกับผู้สื่อข่าว

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า นางคลาริสสา วาร์ด หัวหน้าฝ่ายข่าวต่างประเทศของซีเอ็นเอ็น เดินทางถึงนครย่างกุ้งเมื่อช่วงเย็นวันพุธตามเวลาท้องถิ่น เพื่อตีแผ่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังกองทัพก่อรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม นักข่าวดังระบุว่าเป็นการยากที่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ทหารติดอาวุธและพาหนะของกองทัพขับตามตน เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้รายงานการสลายการชุมนุม

จี้คณะมนตรีความมั่นคงฯ

Smoke rises from a fire at Ruby Mart in Yangon in the early morning of April 1, 2021 with the Shwedagon Pagoda seen illuminated in the background, as the country continues to be in turmoil after the February military coup. / AFP / STR

หวั่นกลายเป็น “สงครามกลางเมือง”

This handout from the Karen Information Center taken and released to AFP on March 31, 2021 shows ethnic Karen people taking part in an anti-military coup demonstration in Hlaingbwe township, in eastern Myanmar’s Karen state. AFP

หวั่นกลายเป็น “สงครามกลางเมือง”

AFP

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน