หนังสือพิมพ์เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย – เมื่อ 1 ก.ค. เอเอฟพี รายงาน การยืนหยัดฝ่าวิกฤตของ หนังสือพิมพ์ “มุมไบ สมาชาร์” หนังสือพิมพ์เก่าแก่ที่สุดในเอเชียที่ยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงทุกวันนี้ จนเข้าสู่ปีที่ 200

มุมไบ สมาชาร์ ตีพิมพ์ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 1 ก.ค. 2021 ฉลองเข้าสู่ปีที่ 200 นับจากฉบับแรกออกสู่สายตานักอ่าน ผ่านสงครามโลกมาแล้ว 2 ครั้ง ต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม เศรษฐกิจโลกตกต่ำ และล่าสุด ต้องฝ่าผลกระทบจากโรคระบาดโควิด ท่ามกลางการแข่งขันของสื่อคู่แข่งอื่นๆ

In this photograph taken on July 1, 2021 employees sort out newspaper copies for distribution of the 200th year anniversary edition of the Mumbai Samachar newspapers. (Photo by Indranil MUKHERJEE / AFP)

ฉบับปฐมฤกษ์พิมพ์ที่นครมุมไบ เมืองเศรษฐกิจของอินเดียในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 1822 (พ.ศ.2365) โดยใช้ภาษาคุชราตและเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเดิมออกเป็นรายสัปดาห์สำหรับผู้อ่านนักธุรกิจในมุมไบ

“มุมไบ สมาชาร์” ในภาษาฮินดี แปลว่า “ข่าวมุมไบ” เผยแพร่ข้อมูลตารางเรือออก รายชื่อทรัพย์สิน การแต่งตั้งราชการ ราคาฝิ่นในจีนและข่าวจากกองทหารอังกฤษอื่นๆ

In this photograph taken on June 29, 2021 Nilesh Dave (C), editor of the Mumbai Samachar newspaper (Photo by Indranil MUKHERJEE / AFP)

นิเลศ เทพ ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มุมไบ สมาชาร์ มา 9 ปี กล่าวว่าหนังสือพิมพ์เริ่มตีพิมพ์จำหน่ายให้พ่อค้าอ่านมาจนถึงทุกวันนี้จึงเรียกกันว่า “หนังสือพิมพ์พ่อค้า”

นอกจากพ่อค้าวาณิชแล้ว ผู้มีชื่อเสียง เช่น มหาตมะ คานธี และชวาหะร์ลาล เนห์รู อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดียยังเคยเขียนจดหมายถึงบรรณาธิการซึ่งกลายเป็นเอกสารสำคัญอันล้ำค่า

In this photograph taken on July 1, 2021 a man reads the 200th year anniversary edition of the Mumbai Samachar newspaper. (Photo by INDRANIL MUKHERJEE / AFP)

ผู้อ่านเชื่อมั่นคือหลักชัย

หลายปีมานี้ มุมไบ สมาชาร์ ฉบับรายวันพิมพ์ด้วยกระดาษขนาดใหญ่มีข่าวสารต่างๆ ทั้งการเมือง ธุรกิจและข่าวทั่วไปสำหรับผู้อ่านภาษาคุชราตใน 12 รัฐต่างๆ ทั่วประเทศ

ปัจจุบัน หนังสือพิมพ์มุมไบ มียอดพิมพ์กว่า 150,000 ฉบับต่อวัน และมีผู้อ่านแฟนพันธุ์แท้รออ่านทุกวันทำให้หนังสือพิมพ์รอดพ้นจากวิกฤตสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตกต่ำทั่วโลก

เทพกล่าวว่าหลายคนเป็นนักอ่านหนังสือพิมพ์มุมไบ สมาชาร์ ตัวยงมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กและมีคำกล่าวในภาษาคุชราตว่า “ถ้าเรื่องไหนตีพิมพ์ในมุมไบ สมาชาร์ แสดงว่าเป็นเรื่องจริง” ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นและเชื่อใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

In this photograph taken on June 29, 2021 a taxi drives past the office building of the Mumbai Samachar newspaper, Asia’s oldest newspaper still in print, in Mumbai. (Photo by Indranil MUKHERJEE / AFP)

ส่วนเนื้อหาซีรีส์เรื่อง “ริเริ่มภาษาแม่” รวมทั้ง เทศกาลหนังสือภาษาคุชราต การแสดงละครและการแข่งขันแต่งเรียงความ ช่วยให้มีนักอ่านหน้าใหม่และเพิ่มยอดพิมพ์

สวนกระแส เพิ่มราคาหนังสือพิมพ์

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์ในอินเดียลดลงช้ากว่าประเทศอื่นๆ เพราะข่าวทางแพลตฟอร์มดิจิทัลมาแรงมียอดขายกระฉูด ยิ่งเมื่อการระบาดของโควิด-19 กระหน่ำธุรกิจหนังสือพิมพ์ บางสำนักข่าวจำใจปลดพนักงานและบางแห่งปิดตัวลง

In this photograph taken on July 1, 2021 employees check the quality of printing of the 200th year anniversary edition of the Mumbai Samachar newspaper. (Photo by Indranil MUKHERJEE / AFP)

ขณะที่มุมไบ สมาชาร์ไม่ลดราคาหรือรัดเข็มขัด แต่กลับสวนกระแสในช่วงโควิด-19 ระบาดด้วยการขึ้นราคาจาก 7 รูปีเป็น 10 รูปี ส่งผลให้เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่แพงที่สุดในประเทศและแพงกว่าหนังสือพิมพ์คู่แข่ง 2 เท่า อีกทั้งยังไม่มีนโยบายเกษียณอายุพนักงานที่มีอยู่ 200 คน

เทพกล่าวว่าพนักงานคนหนึ่งอายุ 87 ปีและยังคงเขียนงาน เขาเริ่มงานกับมุมไบ สมาชาร์ตั้งแต่อายุ 18 ปี

In this photograph taken on July 1, 2021 an employee checks the printing quality of the 200th year anniversary edition of the Mumbai Samachar newspape (Photo by Indranil MUKHERJEE / AFP)

สำหรับเจ้าของหนังสือพิมพ์ คือ ครอบครัวขมา ตั้งแต่ปี 1933 (พ.ศ.2476) หลังจากซื้อกิจการจากสำนักพิมพ์ที่ล้มละลาย แต่ทุกวันนี้ ธุรกิจหนังสือพิมพ์มีกำไร แต่เทพไม่ขอเปิดเผยรายได้ พร้อมทั้งมั่นใจว่าอนาคตจะไปได้สวยและยืนยาวไปอีก 500 ปี

/////////////////

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน