ตาลิบันยึดอัฟกาฯซีเอ็นเอ็น รายงานวิเคราะห์ผลกระทบการล่มสลายของรัฐบาลอัฟกานิสถาน และการหวนคืนอำนาจของตาลิบัน หลังสงครามยืดเยื้อที่สหรัฐยกทัพมาทุ่มเทอะไรต่อมิอะไรไปมากมายกว่า 20 ปี ว่าไม่เพียงจะเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรม แต่ยังหมายถึงว่าตาลิบันจะได้ครอบครองแร่ธาตุหายากราคาสูงในอัฟกานิสถาน

ตาลิบันยึดอัฟกาฯ

Taliban fighters pose for photograph in Wazir Akbar Khan in the city of Kabul, Afghanistan, Wednesday, Aug. 18, (AP Photo/Rahmat Gul)

อัฟกานิสถานเป็นประเทศยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่เมื่อปี 2553 ทหารกองทัพสหรัฐ และนักธรณีวิทยาพบว่า ที่ตั้งของประเทศที่พาดผ่านภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียใต้ เป็นแหล่งแร่ธาตุที่ล้ำค่า มีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกิน 30 ล้านล้านบาท ที่อาจจะเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจให้พลิกโฉมอย่างน่าตะลึงพรึงเพริด

DARA-E-SHIKARI – FEBRUARY 5: An Afghan man holds a small peice of gold, prospected from the site of the proposed Qara Zaghan gold mine on February 5, 2011 in the village of Dara-E-Shikari, Afghanistan. (Photo by Benjamin Lowy/Getty Images)

แร่ธาตุที่อยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เหล็ก ทองแดง ทองคำ ที่ปรากฏอยู่ตามจังหวัดต่างๆ รวมไปถึงแร่หายาก และอาจสำคัญที่สุดคือเป็นแหล่งลิเทียม ธาตุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในแบตเตอรีไฟฟ้า สำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ และแร่นีโอไดเมียม สำหรับการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ลดคาร์บอน เพื่อรับมือวิกฤตโลกร้อน

ร็อด ชนูโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ผู้ก่อตั้งองค์กร กลุ่มอนาคตนิเวศวิทยา Ecological Futures Group กล่าวว่า อัฟกานิสถานไม่เพียงเป็นประเทศหนึ่งที่ร่ำรวยทรัพยากรแร่ธาตุ แต่ยังมีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21

Copper ore is seen at Aynak, Logar Province, Afghanistan. (Matthew C. Rains/Tribune News Service via Getty Images)

อุปสรรคด้านความมั่นคง การขาดโครงสร้างพื้นฐาน และภัยแล้งที่รุนแรง เป็นตัวขัดขวางการขุดค้นแหล่งแร่ธาตุของอัฟกานิสถานมาตั้งแต่อดีต และเหมือนกับว่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ ภายใต้การคุมอำนาจของตาลิบัน

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่สนใจอย่างยิ่ง คือจีน ปากีสถาน และอินเดีย ที่อาจจะผูกมิตรกับตาลิบัน แม้จะเกิดความโกลาหลก็ตาม

“นี่เป็นเครื่องหมายคำถามที่ใหญ่มาก” ชนูโอเวอร์ กล่าว

ตาลิบันยึดอัฟกาฯ

Taliban fighters patrol in the Wazir Akbar Khan neighborhood in the city of Kabul, Afghanistan, Wednesday, Aug. 18, 2021. (AP Photo/Rahmat Gul)

ความสงบไม่เคยเกิดขึ้น แร่จึงอยู่ที่เดิม

มีตัวเลขคาดการณ์จากฝ่ายวิจัยสภาคองเกรสสหรัฐว่า ชาวอัฟกันถึงร้อยละ 90 มีชีวิตอยู่ต่ำกว่าระดับที่รัฐบาลขีดเส้นว่ายากจน มีรายได้น้อยกว่า 2 ดอลลาร์ หรือราว 66 บาทต่อวัน ส่วนธนาคารโลก ระบุว่า เศรษฐกิจของอัฟกานิสถานเปราะบาง และต้องพึ่งพาผู้อื่นอย่างมาก

“การพัฒนาภาคเอกชน และการกระจายการลงทุน ถูกกดทับด้วยความไม่มั่นคง การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน และบรรยากาศธุรกิจที่เต็มไปด้วยอุปสรรค” รายงานวิจัยระบุ

This satellite photo provided by Planet Labs Inc. shows vehicles trying to reach the civilian side of Kabul International Airport, also known as Hamid Karzai International Airport, Wednesday, Aug. 18, 2021. (Planet Labs Inc. via AP)

ปัจจุบัน สามประเทศที่เป็นแหล่งแร่ธาตุหายากสำคัญ ได้แก่ จีน สาธารณรัฐคองโก และออสเตรเลีย ครอบครองสัดส่วนลิเทียม โคบอลต์ และแร่หายากอื่นๆ อยู่ถึงร้อยละ 75

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคยประเมินว่า ลิเทียมที่อยู่ในอัฟกานิสถานอาจมีปริมาณสูงจนเป็นคู่แข่งของโบลิเวีย ชาติในอเมริกาใต้ ซึ่งครอบครองสัดส่วนสูงสุดในโลก

“ถ้าอัฟกานิสถานมีช่วงเวลาสงบสักไม่กี่ปี เพื่อเปิดทางให้พัฒนาทรัพยากรแร่ธาตุ ประเทศนี้จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดภายในทศวรรษนี้” ซาอิด มีร์ซาด จากสำนักงานสำรวจธรณีสหรัฐ กล่าวกับนิตยสารไซเอินซ์ เมื่อปี 2553

This picture taken from the top of a hillside shows a general view of the Kabul city on August 15, 2021. (Photo by Wakil KOHSAR / AFP)

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นได้เห็นแล้วว่า ความสงบไม่เคยเกิดขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุในอัฟกานิสถานยังอยู่ในผืนดินเหมือนเดิม แม้จะมีการขุดทอง ทองแดง และเงินอยู่บ้าง แต่สำหรับ ลิเทียม และแร่หายากอื่นๆ แล้วต้องลงทุนมากกว่า และอาศัยเทคโนโลยีฮาวทู เช่นเดียวกับการใช้เวลา

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ IEA ประเมินว่า ต้องใช้เวลาเฉลี่ยอย่างน้อย 16 ปี นับจากการค้นพบแหล่งแร่ เพื่อจะเริ่มขั้นตอนการผลิต

ตาลิบันยึดอัฟกาฯ พารวย?

ทุกวันนี้ การผลิตแร่ธาตุในอัฟกานิสถานแต่ละปี ทำเงินได้เพียง 1 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 30 ล้านบาทเท่านั้น อีกทั้งร้อยละ 30-40 ยังถูกถลุงไปกับการคอร์รัปชั่น เช่นเดียวกับ การการครอบครองโครงการเหมืองเล็กๆ โดยเจ้าพ่อค้ายา หรือโดยตาลิบัน

FILE – China’s Xinhua News Agency, Taliban co-founder Mullah Abdul Ghani Baradar, left, and Chinese Foreign Minister Wang Yi pose for a photo during their meeting in Tianjin, China. (Li Ran/Xinhua via AP, File)

ดังนั้นในมุมมองของชนูโอเวอร์ ตาลิบันมีโอกาสจะใช้อำนาจในการพัฒนากิจการเหมือง แต่สิ่งที่แปลกที่จะเป็นอุปสรรคก็คือ ตาลิบันต้องเร่งอุทิศสรรพกำลังให้กับด้านความมั่นคง และด้านมนุษยธรรม ในขณะที่การหาต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนเป็นเรื่องยากมาก

“ใครจะเข้ามาลงทุนในอัฟกานิสถานกันในเมื่อไม่เคยลงทุนมาก่อน สำหรับเอกชนแล้วคงไม่เสี่ยงแน่นอน” ข่านกล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการแสดงทีท่าของรัฐบาลจีนที่ต้องการรักษาการติดต่อสื่อสารกับตาลิบันในอัฟกานิสถาน จึงถูกมองว่า จีนจะเข้ามามีบทบาทในอัฟกานิสถาน ทั้งในแง่ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน และแรงดึงดูดเรื่องลิเทียม

ชนูโอเวอร์ มองว่า ธุรกิจเหมืองเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะหากเหมืองดำเนินการโดยไม่ระมัดระวังแล้ว อาจเกิดหายนะทางนิเวศวิทยา และกระทบต่อประชาชนที่ไม่มีปากมีเสียงอย่างยิ่ง เมื่อรวมถึงความไม่มีเสถียรภาพ จีนอาจไปมองหาที่ภูมิภาคอื่นจะดีกว่า

…………

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ตาลีบัน : ผู้นำกลุ่มติดอาวุธที่เพิ่งเข้ายึดอัฟกานิสถานสำเร็จคือใคร

นักรบตาลิบัน เปิดฉากยิงผู้ชุมนุมในนันการ์ฮาร์ เดินถือธงชาติ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน