ฝนกระหน่ำบนยอดน้ำแข็ง ซีเอ็นเอ็น รายงานปรากฏการณ์ทางอากาศที่เกาะกรีนแลนด์ ฝั่งขั้วโลกเหนือ ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 4 กิโลเมตร เกิดฝนตกกลางฤดูร้อนบนยอดเขา และเป็นครั้งแรกนับจากปี 2532 ที่พื้นที่สูงสุดของเกาะมีฝนเจิ่งนองแทนที่จะเป็นหิมะปกคลุม

อุณหภูมิในฤดูร้อนของกรีนแลนด์เมื่อสุดสัปดาห์ 14-15 ส.ค. สูงกว่าระดับเยือกแข็งเป็นครั้งที่ 3 ในเวลาไม่ถึง 10 ปี คือต่อจากปี 2555 และ 2562

น้ำแข็งละลายเป็นเส้นทางคลองเข้าสู่แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ เมื่อปี 2562 / Meltwater carved a canal into the Greenland ice sheet near the Sermeq Avangnardleq glacier in 2019.Credit…Sean Gallup/Getty Images

อุณหภูมิที่อบอุ่นขึ้นทำให้ฝนตกหนักและมีปริมาณน้ำฝน 7,000 ล้านตันกระหน่ำลงบนแผ่นน้ำแข็ง ซึ่งเทียบแล้วมากพอที่จะเติมน้ำให้เต็มสระน้ำรีเฟล็กทิง พูล หน้าอนุสรณ์สถานลินคอล์นในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้เกือบ 250,000 ครั้ง

ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติกล่าวว่าฝนตกหนักที่สุดบนแผ่นน้ำแข็งนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติตั้งแต่ปี ..2493 ฝนที่กระหน่ำลงมายังทำให้น้ำแข็งมหาศาลละลายเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ส.ค. ซึ่งมากกว่าปริมาณปกติในช่วงเวลานี้ของปีถึง 7 เท่า

โดยเริ่มตกจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของชายหาดกรีนแลนด์จนถึง ซัมมิต สเตชัน สถานีซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้สังเกตสภาพอากาศของอาร์กติก ตั้งอยู่ที่จุดสูงสุดบนแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์

เท็ด สแกมโบส นักวิทยาศาสตร์ระดับสูง ประจำศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ มหาวิทยาลัยโคโลราโด กล่าวว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากรีนแลนด์อบอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว อากาศอบอุ่นขึ้นผิดปกติใน 10-20 ปีเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

ฝนกระหน่ำบนยอดน้ำแข็ง

Icebergs near Ilulissat, Greenland. The climate crisis is having a profound impact on glaciers. Photograph: Ulrik Pedersen/NurPhoto/REX/Shutterstock

สถานีตรวจอากาศบนยอดเขา หรือ ซัมมิต สเตชัน ของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ มีนักวิทยาศาสตร์สังเกตสภาพอากาศขั้วโลกเหนือและการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งโดยมีเจ้าหน้าที่ประจำตลอดทั้งปีเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงนับตั้งแต่ปี 2532

ส่วน เจนนิเฟอร์ เมอร์เซอร์ เจ้าหน้าที่โครงการสำนักงานโครงการขั้วโลกของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่าเหตุการณ์ฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ทำให้การปฏิบัติการที่ซัมมิต สเตชันต้องเปลี่ยนแปลง หมายความว่าจะต้องเฝ้าติดตามสภาพอากาศที่ไม่เคยรับมือมาก่อน

ฝนกระหน่ำบนยอดน้ำแข็ง

เมื่อปี 2550 เคยมีกระแสน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งไหลพาดผ่านแผ่นน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ / An example of meltwater flowing across the Greenland ice sheet in 2007.

สภาพอากาศกำลังแปรปรวนมากขึ้น ทั้งน้ำแข็งละลาย ลมกระโชกแรงและตอนนี้เป็นฝนซึ่งเกิดขึ้นไม่เป็นไปตามปกติวิสัยในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มว่าจะเกิดถี่ขึ้น

กิจกรรมของมนุษย์เป็นต้นเหตุให้โลกร้อนและน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว สหประประชาติเปิดเผยรายงานในเดือนนี้ว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่สงผลให้กรีนแลนด์ละลายมานานกว่า 2 ทศวรรษ

FILE PHOTO: Areas of Greenland are seen from an aerial helicopter tour near Kangerlussuaq, Greenland, May 20, 2021. Saul Loeb/Pool via REUTERS/File Photo

ส่วนการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Cryosphere พบว่า โลกสูญเสียน้ำแข็งไปแล้ว 28 ล้านล้านตันตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือและแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์

เมื่อเดือน .. แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายอย่างมีนัยสำคัญในรอบ 10 ปีเพราะสูญเสียผิวน้ำแข็งกว่า 8,500 ล้านตันภายในวันเดียวซึ่งเป็นปริมาณมากพอที่จะทำให้รัฐฟลอริดาน้ำท่วมสูง 2 นิ้ว และเป็นเหตุการณ์น้ำแข็งละลายมหาศาลครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี

อีกทั้ง น้ำแข็งละลายขยายอาณาเขตออกไปในแผ่นดินไปไกลมากที่สุดนับตั้งแต่ใช้ดาวเทียมตรวจจับปรากฏการณ์ธรรมชาติเมื่อ 50 ปีก่อน

น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายมหาศาล

(Photo via Caspar Haarløv, Into the Ice via AP)

เมื่อปี 2562 น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายไหลลงทะเลประมาณ 532,000 ล้านตันเพราะในปีนั้น ฤดูใบไม้ผลิอากาศร้อนมากและในเดือน ..คลื่นอากาศร้อนทำให้ผิวแผ่นน้ำแข็งเกือบทั้งหมดเริ่มละลายส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น 1.5 มิลลิเมตรอย่างถาวร

สแกมโบสกล่าวว่ามนุษย์กำลังข้ามผ่านจุดเริ่มต้นที่ไม่เคยเห็นมานานนับพันปี แต่ยังไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ทำกับสภาพอากาศซึ่งสังเกตได้ว่าสภาพอากาศแปรปรวนเกิดบ่อยขึ้น

น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลาย

ส่วนเมอร์เซอร์กล่าวว่าเมื่อ 2 ปีก่อน หมีขั้วโลกตัวหนึ่งไปถึงยอดเขา ซึ่งเป็นสิ่งผิดปกติเพราะหมีอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งซึ่งหาอาหารกินได้ง่าย หมีต้องเดินทางหลายร้อยกิโลเมตรผ่านดินแดนในประเทศข้ามแผ่นน้ำแข็งและเมื่อ 5 ปีที่แล้ว มีผู้พบเห็นหมีขั้วโลก 3 ตัวอยู่บนยอดแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์

สแกมโบสกล่าวว่าฝนที่ตกยาวนานส่งผลต่อคุณสมบัติของหิมะเพราะทำให้ชั้นผิวหิมะด้านล่างดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากขึ้นจนกระทั่งหิมะหลอมละลาย ดังนั้น ชั้นผิวที่มีหิมะปกคลุมจะกั้นไม่ให้น้ำแข็งละลายและเมื่อน้ำท่วมผิวแผ่นน้ำแข็งก็จะทำให้น้ำไหลบ่าจากระดับพื้นที่ที่สูงกว่า

ด้านเมอร์เซอร์กล่าวว่าชั้นน้ำแข็งที่ก่อตตัวขึ้นส่งผลให้ฝนตกเมื่อสุดสัปดาห์จะเป็นสถิติที่เห็นได้ชัดเจนในอนาคต

//////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ละลายกันเห็นๆ น้ำแข็งกรีนแลนด์ไหลเป็นทาง ฤทธิ์คลื่นความร้อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน