มีนกหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถเลียนแบบเสียงของมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะนกหงส์หยก นกแก้ว นกขุนทอง รวมถึงนกกระตั้ว แต่คุณต้องประหลาดใจแน่ ๆ เมื่อนักวิจัยพบเป็ดพูดได้

งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ใน Philosophical Transactions of the Royal Society of London B ค้นพบเป็ดตัวหนึ่งสามารถเลียนแบบเสียงของมนุษย์ได้ ทำให้นักวิจัยเริ่มทบทวนวิวัฒนาการของการเรียนรู้ด้วยเสียงของสัตว์ปีกอีกครั้ง

เป็ดมัสค์ออสเตรเลีย (Biziura lobata) ชื่อว่า ริปเปอร์ ถูกเลี้ยงในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติทิดบินบิลลา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองหลวงแคนเบอร์ราในประเทศออสเตรเลีย ได้เรียนรู้วิธีการเลียนแบบเสียงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเสียงของประตูกระแทกดังปังหรือวลีที่ฟังดูเหมือนคำสบถว่า ‘เจ้าโง่‘ จากผู้เลี้ยง

ภาพจาก Youtube/Mostly Nature

ดร.ปีเตอร์ ฟูลลาการ์ นักวิจัยชาวออสซี่ที่ปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว บันทึกเสียงของเจ้าเป็ดริปเปอร์ครั้งแรกเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา แต่ทว่าเสียงบันทึกของเขาเพิ่งถูกเปิดเผยโดย ศาสตราจารย์คาเรล เทน เคท จากมหาวิทยาลัยเลเดนในประเทศเนเธอร์แลนด์

วิจัยระบุว่า “มีสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถเลียนแบบเสียงร้องได้ จึงเป็นหลักฐานชั้นเยี่ยมว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงพูดนั้นเป็นหนึ่งในพื้นฐานทางวิวัฒนาการของสัตว์ปีก

แม้ว่าเสียงบันทึกจะฟังดูเหมือน คุณมันโง่เขลา (You bloody fool) แต่ศ.คาเรล สันนิษฐานว่าเป็นไปได้ที่ริปเปอร์จะพูดว่า อาหาร “ฉันสามารถจินตนาการได้ว่าผู้ดูแลจะพูดติดตลกว่า ‘นี่คืออาหารของคุณ (Your bloody food)

ภาพจาก Youtube/Mostly Nature

นอกจากนี้ ริปเปอร์ยังไม่ใช่เป็ดเพียงตัวเดียวที่ดร.ปีเตอร์ทำการบันทึกเสียงไว้ ในปีพ.ศ. 2543 ยังมีการบันทึกเสียงเป็ดที่พยายามเลียนแบบเป็ดสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วย แต่น่าเสียดายที่เอกสารส่วนใหญ่ถูกทำลายโดยไฟป่าในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546

อย่างไรก็ตาม บทความวิจัยกล่าวว่า เป็ดทั้งสองตัวจะใช้เสียงเลียนแบบเหล่านี้ในระหว่างการแสดง ช่วงฤดูผสมพันธุ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากเป็ดเพศเมีย

การค้นพบครั้งนี้เปลี่ยนแปลงผลวิจัยที่เคยศึกษาเรื่องวิวัฒนาการเรียนรู้ด้วยเสียงของนกโดยสิ้นเชิง ซึ่งพรสวรรค์ของเป็ดมัสค์ในการเลียนแบบเป็นตัวบ่งชี้ว่าทักษะดังกล่าวมีการพัฒนาอย่างอิสระในนกหลายกลุ่ม

ทำให้เกิดคำถามมากมาย ตั้งแต่กลไกทางประสาทและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการและภูมิหลังด้านการปรับตัวและการเรียนรู้ด้วยเสียงในเป็ดสายพันธุ์นี้

ขอบคุณที่มาจาก Sciencealert The Guardian

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน