วันที่ 30 มี.ค. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ลูกแรดสุมาตรา ที่หายากยิ่งลืมตาดูในกรง ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในอินโดนีเซีย ถือเป็นชัยชนะของความพยายามในการอนุรักษ์เพื่อช่วยสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งจากการสูญพันธุ์

ลูกแรดสุมาตรา

Rare Sumatran Rhino Born in Indonesia – One of Only a Handful in Existence

กระทรวงสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซียระบุว่า ลูกแรดสุมาตรา เพศเมียเกิดที่เขตรักษาพันธุ์แรดสุมาตราในอุทยานแห่งชาติเวย์คัมบัส ในจังหวัดลัมปุงของเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 24 มี.ค.

แรดสุมาตรา แรดสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดในโลก ครั้งหนึ่งเคยเฟื่องฟูทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันพบในกลุ่มเล็กๆ บนเกาะสุมาตรา ทางเหนือของอินโดนีเซีย และเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย

รายงานของมูลนิธิแรดนานาชาติ (ไออาร์เอฟ) ระบุว่า แรดสุมาตราเหลืออยู่น้อยกว่า 80 ตัว ก่อนหน้านี้ในปี 2562 แรดสุมาตราตัวสุดท้ายของมาเลเซียตายที่เขตรักษาพันธุ์แรดบอร์เนียว และในปี 2558 แรดสุมาตราได้รับการประกาศเป็นสัตว์สูญพันธุ์ในมาเลเซีย แต่การตายของแรดตัวเมียที่มีชื่ออีมาน เท่ากับว่า แรดสุมาตราสูญพันธุ์ไปล่วงหน้าแล้ว

การเกิดของ ลูกแรดสุมาตรา ในอินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ก่อน ทำให้จำนวนแรดสุมาตราที่เขตรักษาพันธุ์แห่งนี้เป็น 8 ตัว

ไออาร์เอฟระบุว่า การตั้งท้องของแรดไม่ใช่กระบวนการง่ายๆ แม่แรดสุมาตราที่มีชื่อ โรซา เสียลูกไป 8 ตัว หลังตั้งท้องหลายครั้งก่อนๆ ส่วนพ่อแรดสุมาตราที่มีชื่อ อันดาตู เป็นแรดสุมาตราตัวแรกเท่าที่เกิดในกรงในอินโดนีเซีย

โครงการเพาะพันธุ์ในกรงที่เขตรักษาพันธุ์แรดสุมาตรา ซึ่งไออาร์เอฟช่วยสร้าง เป็นสถานที่แห่งเดียวในอินเดียสำหรับแรดสุมาตราที่จะผสมพันธุ์ตามธรรมชาติด้วยการสนับสนุนของเทคโนโลยีและความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญ

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาความอยู่รอดของแรดสุมาตราโดยเพิ่มจำนวนแรดเพื่อนำพวกมันกลับคืนสู่ป่าในวันหนึ่ง

นีนา ฟัสซีโอเน กรรมการบริหารไออาร์เอฟ กล่าวว่า “การตั้งท้องของโรซาแสดงถึงความหวังใหม่สำหรับสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งนี้ เป็นโอกาสสำคัญยิ่งสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามขั้นวิกฤต เราขอแบ่งปันความตื่นเต้นของการเกิดของลูกแรดครั้งนี้กับคนทั้งโลก!”

ลูกแรดสุมาตรา

Rare Sumatran Rhino Born in Indonesia – One of Only a Handful in Existence

หลายปัจจัยมีส่วนทำให้จำนวนประชากรแรดลดลง ปัจจัยแรกเกิดจากการลอบล่าสัตว์เพื่อเอานอ ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณของเอเชีย ปัจจัยที่สองเกิดจากกระจัดกระจายของแหล่งที่อยู่และการบุกรุกสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ทำให้แรดไม่สามารถรวมกลุ่มและผสมพันธุ์ได้

ไออาร์เอฟระบุว่า หากไม่มีการแทรกแซง แรดสุมาตราจะสูญพันธุ์ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ผู้เชี่ยวชาญแรดนานาชาติและรัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจเคลื่อนย้ายแรดไปโครงการเพาะพันธุ์ในกรงเป็นวิธีเดียวที่จะรักษาแรดสุมาตราได้

การเกิดของลูกแรดสุมาตราตัวล่าสุดมีขึ้นหลังการเกิดของแรดชวา 5 ตัว ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งในอุทยานแห่งชาติอูจุง คูลอน ในปี 2564

ตอนนี้มีแรดเหลือเพียง 5 สายพันธุ์ทั่วโลก ทั้งหมดกำลังถูกคุกคาม บางสายพันธุ์ย่อยสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยแรดดำตะวันตกซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันตกได้รับการประกาศเป็นสัตว์สูญพันธุ์ในปี 2556 เนื่องจากการรุกล้ำ ส่วนแรดขาวเหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายตายในปี 2563

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
มาเลเซียเศร้า “อิมาน” แรดสุมาตราตัวสุดท้าย ล้มตายในวัย 25 หลังป่วยเป็นมะเร็ง (คลิป)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน