เปิบมรณะ!มิร์เรอร์ รายงานกรณีอาหารเป็นพิษสุดสยองใน ประเทศแทนซาเนีย หลังจากชาวบ้านบน เกาะแซนซิบาร์ เขตกึ่งปกครองตนเองของแทนซาเนีย กิน “เนื้อเต่าทะเล” หนึ่งในเมนูเปิบจานโปรดของชนท้องถิ่น แต่ได้รับสารพิษ “ชิโลนิท็อกซิซึม” ที่ก่อให้อาการอาหารเป็นพิษจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 ราย และอีก 78 รายต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

เปิบมรณะ! – ภาพประกอบ – A green sea turtle rests on the bottom of the Arashi reef off the coast of Noord in Aruba on November 15, 2023. Joseph Prezioso / AFP

นพ.ฮาจิ บาการิ แพทย์ประจำเขตโควานนิ กล่าวว่าแม่ของเด็กชายคนหนึ่งเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ 8 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ภายหลังรับประทานเนื้อเต่าทะเลเมื่อวันที่ 5 มี.ค. ซึ่งผลตรวจสอบจากห้องแลปยืนยันว่าเหยื่อทั้งหมดกินเนื้อเต่าทะเล

ด้านเจ้าหน้าที่หน่วยงานจัดการภัยพิบัติของแซนซิบาร์นำโดย นายฮัมซา จูมา นำคณะออกพบปะประชาชนเพื่อเตือนให้หลีกเลี่ยงการกินเนื้อเต่าทะเล เหตุเศร้าในลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วบนเกาะเพมบา เมื่อเดือนพ.ย.2564 โดยครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 7 ราย รวมถึงเด็กวัย 3 ขวบ ส่วนอีก 3 คนต้องหามส่งโรงพยาบาลเพราะกินเนื้อเต่าทะเลเช่นเดียวกัน

ภาพประกอบ – FILE – Fisherman’s net set off for the evening from Chake Chake, the main port on Pemba island, Tanzania, Tuesday, Feb. 10, 2004. Authorities in Zanzibar said Saturday, March 9, 2024, that multiple people have died from eating sea turtle meat on Pemba Island, while others were hospitalized. Sea turtle meat is considered a delicacy by residents of the East African archipelago even though it periodically results in deaths from chelonitoxism, a type of food poisoning. (AP Photo/Chris Tomlinson, File)

ขณะเดียวกันมีเหตุเต่าทะเล “เคมป์ส ริดลีย์” หรือเต่าทะเลแอตแลนติก เต่าทะเลขนาดเล็กที่สุดในโลกและหายาก รวมทั้งใกล้สูญพันธุ์ จำนวน 52 ตัวเกิดภาวะ “โคลด์สตัน” เนื่องจากน้ำทะเลแถบนิวอิงแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกามีอุณหภูมิต่ำเกินไป ทำให้เต่าทะเลซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็นขยับครีบไม่ได้และว่ายน้ำไม่ได้

เจ้าหน้าที่ต้องส่งเครื่องบินไปนำเต่าทะเลเหล่านี้มาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวอิงแลนด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ มายังเมืองเทมปา รัฐฟลอริดา ทางตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันอังคารที่ 5 มี.ค.

เปิบมรณะ! – ภาพประกอบ – Pemba Island, Tanzania. The deaths were caused by a type of food poisoning called chelonitoxism. Photograph: Pandarius/Alamy

ก่อนส่งเต่าทะเล 16 ตัวไปยังพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเคลียร์วอเตอร์มารีน ส่วนตัวอื่นๆ กระจายไปพักฟื้นที่ห้องแลปโมท มารีน เมืองซาราโซตา พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในเมืองเทมปา และศูนย์ล็อกเกอร์เฮด มารีนไลฟ์เมืองจูปิเตอร์ รัฐฟลอริดา

น.ส.เชลลีย์ มาร์ควอร์ดต์ สัตวแพทย์ประจำพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเคลียร์วอเตอร์มารีน กล่าวว่าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาวเป็นประจำ โดยเจ้าหน้าที่ดูแลเต่าทะเลเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งภูมิใจที่มีส่วนในการฟื้นฟูเต่าทะเลที่จะส่งผลต่ออนาคตของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และประชาชนเข้าชมเต่าทะเลที่กำลังฟื้นฟูร่างกายที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำได้ ก่อนจะนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน