พระราชินีงาไวครองบัลลังก์บีบีซี รายงานว่า สมเด็จพระราชินีแห่งชนเผ่าเมารีองค์ใหม่ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุของค์ที่ 8 ของราชวงศ์เมารีแห่งนิวซีแลนด์ สืบต่อจาก กษัตริย์ตูเฮอิเตีย โปตาเตา เต เวโรวีโร ที่ 7 พระราชบิดา หลังเสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมพรรษา 69 พรรษา เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา

สภาหัวหน้าชนเผ่าเมารีคัดเลือกเจ้าหญิงงาไว โฮโน อิ เต โป พระชันษา 27 ปี พระราชธิดาองค์เล็กในกษัตริย์ตูเฮอิเตียให้ทรงดำรงตำแหน่ง “ควินี” ในภาษาเมารีหมายถึง “ราชินี” สืบราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์ตูเฮอิเตีย โดยก่อนหน้านี้องค์กษัตริย์ทรงเข้ารับการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาล และต่อมาเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่วันก่อนครบ 18 ปีที่พระองค์ครองราชบัลลังก์

พระราชินีงาไวครองบัลลังก์ “ควีนแห่งชนเผ่าเมารี” หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคต

พระราชินีงาไวครองบัลลังก์ – New incoming Maori Queen Nga Wai Hono i te Po sits on the throne in Ngaruawahia, New Zealand, September 5, 2024. WHAKAATA MAORI/Handout via REUTERS THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY.NEW ZEALAND OUT. NO COMMERCIAL OR EDITORIAL SALES IN NEW ZEALAND.MANDATORY CREDIT. DO NOT OBSCURE LOGO.

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระราชินีองค์ใหม่ประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้แกะสลักท่ามกลางที่ประชุมทูรังกาวายวาย มาราย จากนั้นทรงได้รับการอำนวยพรด้วยการอัญเชิญพระคัมภีร์ไบเบิลสัมผัสที่พระเศียรซึ่งเป็นไบเบิลเล่มแรกที่ใช้ในพิธีฉลองกษัตริย์เมารีองค์แรกเมื่อปี 2401 พระราชินีงาไวทรงสวมพวงมาลัยใบไม้บนพระเศียรและเสื้อคลุมระหว่างพิธีสวดมนต์หน้าพระศพพระราชบิดา

นอกจากนี้ในพระราชพิธีพระบรมศพกษัตริย์ตูเฮอิเตียยังมีการแสดงเต้นฮากาซึ่งมีความประณีตงดงามและเปี่ยมล้นไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ จากนั้นกองเรือวากาอัญเชิญหีบพระศพล่องไปตามแม่น้ำไวกาโตก่อนเคลื่อนไปยังภูเขาตาอูปิรี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมารี อันเป็นการสิ้นสุดพิธีหลังเสด็จสวรรคตครบ 1 สัปดาห์

พระราชินีงาไวครองบัลลังก์ “ควีนแห่งชนเผ่าเมารี” หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคต

พระราชินีงาไวครองบัลลังก์ – The coffin with the body of New Zealand’s Maori King, Kiingi Tuheitia Pootatau Te Wherowhero VII, is carried up Taupiri Mountain for burial in Ngaruawahia, New Zealand, Thursday, Sept. 5, 2024. (AP Photo/Alan Gibson)

นายราฮูอิ ปาปา โฆษกคิงกิตังกาหรือขบวนการเปลี่ยนกษัตริย์เมารี กล่าวว่าการสวรรคตของกษัตริย์ตูเฮอิเตียยังความเศร้าโศกให้กับชาวเมารีทั้งประเทศ และขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย

ด้านนายคริสโตเฟอร์ ลักซอน นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ยกย่องกษัตริย์ตูเฮอิเตียในฐานะผู้นำที่มีความมุ่งมั่นต่อชาวเมารีและชาวนิวซีแลนด์ทั้งปวง ขณะที่ชาวนิวซีแลนด์บางคนมองว่านโยบายรัฐบาลของนายลักซอนต่อต้านชาวเมารีและนายลักซอนไม่ได้ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพเพราะติดภารกิจเยือนเกาหลีใต้

พระราชินีงาไวครองบัลลังก์ “ควีนแห่งชนเผ่าเมารี” หลังพระราชบิดาเสด็จสวรรคต

A waka, a traditional canoe, is paddled by warriors on the Waikato River as part of the funeral of New Zealand’s Maori King, Kiingi Tuheitia Pootatau Te Wherowhero VII, in Ngaruawahia, New Zealand, Thursday, Sept. 5, 2024. (AP Photo/Alan Gibson)

การทูลเกล้าเสนอพระนามเจ้าหญิงเป็นพระราชินีสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสิ่งใหม่และส่งผลเชิงบวกต่อสมาชิกรุ่นเยาว์ชาวเมารี

ราชวงศ์เมารีมีอายุย้อนไปยังศตวรรษที่ 19 ในช่วงที่ชนเผ่าเมารีแสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยวที่สื่อถึงเอกภาพคล้ายราชวงศ์ยุโรปเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนให้กับผู้ล่าอาณานิคมชาวอังกฤษและเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวเมารีซึ่งบทบาทส่วนใหญ่ของกษัตริย์มักจะเป็นในเชิงพิธีการ

สำหรับพระราชประวัติของพระราชินีองค์ใหม่นั้น พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวัฒนธรรมศึกษาชาวเมารีและทรงสอนคาปาฮากาในภาษาเมารีหมายถึงศิลปะการแสดง พระราชินีงาไวทรงเป็นราชินีองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชนเผ่าเมารี ส่วนราชินีองค์แรกคือพระราชินีเต อะรีคินูอิ ดาเม เต อะไตรังกี คาอาฮู พระอัยยิกาของพระราชินีงาไว

Maori King Tuheitia at Turangawaewae Marae meets with Britain’s Prince Charles (unseen) in Ngaruawahia, south of Auckland, New Zealand November 8, 2015. Hagen Hopkins/Pool via REUTERS

เมื่อปีที่แล้วผู้ประท้วงหลายพันคนทั่วนิวซีแลนด์ชุมนุมต่อต้านแผนการยกเลิกนโยบายส่งเสริมสิทธิชาวพื้นเมือง รวมทั้งแผนการปิดหน่วยงานด้านสุขภาพของชาวเมารีหรือเต อากา วาย โอรา ซึ่งรัฐบาลของนางจาซินดา อาร์เดิร์น อดีตนายกรัฐมนตรีจัดตั้งขึ้น ส่วนรัฐบาลชุดปัจจุบันมีแผนที่จะเปลี่ยนชื่อหน่วยงานต่างๆ จากภาษาเมารีมาเป็นภาษาอังกฤษ

น.สเมาเรียนา ฮอนด์ นักข่าวชาวเมารี กล่าวกับบีบีซีว่าชนเผ่าเมารีสูญเสียกษัตริย์ที่ทรงโดดเด่น ทรงเป็นผู้นำชนเผ่าทั้งหมดในเอาเตอารัวซึ่งเป็นคำที่ชาวเมารีเรียกนิวซีแลนด์ ในขณะที่ประชาชนอยู่ภายใต้แรงกดดันทางการเมืองและสังคมของรัฐบาลผสมชุดนี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน