เชฟชาวตุรกีคืนชีพซินหัว รายงานว่า นายอูลาส เตเคอร์กายา เชฟชาวตุรกี ผู้หลงใหลในโบราณคดีด้านอาหาร รื้อฟื้นสูตรการทำขนมปังที่ได้แรงบันดาลใจจากซากขนมปังอายุ 8,600 ปีจากยุคหินใหม่ซึ่งค้นพบระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดีในแหล่งตั้งถิ่นฐานโบราณทางตอนใต้-ตอนกลางของตุรกี

นายเตเคอร์กายารังสรรค์ก้อนขนมปังนี้ขึ้นมาใหม่ด้วยส่วนผสมแบบเดียวกับผู้คนในยุคหินใหม่เมื่อหลายพันปีก่อน ที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองซาทาลฮือยึค หนึ่งในเมืองเก่าแก่ที่สุดในโลก ในเมืองคอนยาของตุรกี

เชฟชาวตุรกีคืนชีพ “ขนมปังโบราณ” แกะสูตรจากซากยุคหินใหม่-อายุกว่า 8,600 ปี!

เชฟชาวตุรกีคืนชีพ – A Turkish chef said he has resurrected a bread inspired by 8,600-year-old Neolithic remains discovered during archaeological excavations in an ancient settlement site in south-central Türkiye. /Anadolu Ajansı/

เมื่อเดือนมี.ค.2567 ทีมนักโบราณคดีประกาศการค้นพบโครงสร้างลักษณะคล้ายเตาอบขนาดใหญ่ที่ใช้ร่วมกันในชุมชน ภายในพบเศษอาหาร รวมถึงวัตถุที่มีลักษณะเป็นฟองน้ำขนาดเท่าฝ่ามือที่ไหม้เกรียมที่เชื่อว่าเป็นขนมปัง

การวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเนคเมตติน เอร์บาคัน (BITAM) ยืนยันว่าองค์ประกอบของขนมปังที่มีการหมักนี้ประกอบด้วยถั่วลันเตา ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี

คณะนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยอนาโดลูของตุรกีระบุว่า การค้นพบที่น่าสนใจนี้สร้างแรงบันดาลใจให้นายเตเคอร์กายาชุบชีวิตสูตรขนมปังที่สูญหายไปนี้ขึ้นมาโดยใช้ธัญพืช เมล็ดพืช และสารสกัดจากดอกไม้ที่พบและปลูกในภูมิภาค และสามารถปั้นแป้งเป็นก้อนกลมพร้อมอบบนกองฟืนได้สำเร็จเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาหลังจากพยายามอยู่หลายครั้ง

เชฟชาวตุรกีคืนชีพ “ขนมปังโบราณ” แกะสูตรจากซากยุคหินใหม่-อายุกว่า 8,600 ปี!

เชฟชาวตุรกีคืนชีพ – Ulas Tekerkaya, a chef passionate about food archaeology and author, recreated the loaf with the same ingredients that Neolithic people who settled millennia ago in Catalhoyuk, one of the oldest known cities in the world, located in central Türkiye’s Konya province. /Anadolu Ajansı/

เชฟเตเคอร์กายาให้สัมภาษณ์ว่าครั้งแรกที่ลองทำ ตัวขนมปังมีรสชาติขมและแข็งมาก อาจเป็นเพราะไม่ได้ทำตามตำรับโบราณอย่างสมบูรณ์ แต่หลังจากทดลองอยู่นานเกือบ 1 ปี ในที่สุดก็ทำขนมปังแบบเดียวกับที่คนโบราณในเมืองซาทาลฮือยึคเคยกินได้สำเร็จ

นายเตเคอร์กายายังเสริมว่าคนในยุคหินใหม่มักกินขนมปังเป็นมื้อหลักพร้อมกับของเคียงเพียงเล็กน้อย โดยในโลกยุคโบราณขนมปังถือเป็นอาหารหลักและให้พลังงานราวร้อยละ 50-70 ของความต้องการแคลอรี่ต่อวัน แต่หลายฝ่ายยังคงมีคำถามเกี่ยวกับนิยามของขนมปังและใครที่คิดค้นมันขึ้นมาเป็นครั้งแรก

เชฟชาวตุรกีคืนชีพ “ขนมปังโบราณ” แกะสูตรจากซากยุคหินใหม่-อายุกว่า 8,600 ปี!

Analysis at the Science and Technology Research Center of Necmettin Erbakan University (BITAM) confirmed the grain composition of the leavened bread included ingredients like peas, barley, and wheat. Archaeologists at Anadolu University in central Türkiye said the finding is “a bread that is approximately 8,600 years old.” (Mustafa Kaya/Handout via Xinhua)

การคิดค้นขนมปังเชื่อมโยงใกล้ชิดกับการเปลี่ยนผ่านจากสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ไปสู่การทำเกษตร ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดขึ้นในยุคหินใหม่ และเมืองซาทาลฮือยึคที่ถูกค้นพบในช่วงต้นทศวรรษ 1960 ถูกจัดเป็นตัวอย่างสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเกษตรกรรม และเคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนกว่า 8,000 คนในยุคหินใหม่ เมื่อราว 10,000-2,000 ปีก่อนคริสตศักราช

นอกจากบทบาทเชฟแล้ว นายเตเคอร์กายายังเป็นผู้เขียนหนังสือ “ซาทาลฮือยึค : วัฒนธรรมอาหารอายุ 10,000 ปี” โดยใช้เวลากว่า 7 ปีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการค้นพบเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารในยุคดังกล่าว จนนำสู่การทดลองรังสรรค์อาหารโบราณหลายชนิดขึ้นใหม่อีกครั้งซึ่งตอนนี้ได้เตรียมอาหารจากยุคหินใหม่ถึง 35 เมนู เช่น เม่นแคระตุ๋นและเมนูจากสัตว์เลื้อยคลาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน