เอาจริง! ติดค้างค่าใบสั่งจราจรต่อทะเบียนรถไม่ได้ “บิ๊กป้อม”นำบูรณาการแก้ปัญหาจราจรเมืองกรุง-ปริมณฑลครั้งใหญ่ ประชุมทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องคลอดแผน 3 ระยะ ระยะเร่งด่วนให้ตร.ประสานกรมขนส่งแก้พ.ร.บ. ต่อไปใครไม่เสียค่าปรับใบสั่งต่อทะเบียนรถไม่ได้ และต้องเสียค่าปรับ เพิ่มด้วย ยืนยันไม่ให้จยย.-สามล้อขึ้นสะพาน-ลงอุโมงค์ ส่งจนท.ประจำจุดรถติด เน้น 21 ถนนสายหลักที่บช.น.ทำได้ผลอยู่ในขณะนี้

เมื่อ วันที่ 14 ก.ย. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯ และรมว.กลาโหม เป็นประธานประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหา นครและปริมณฑล โดยมีพล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผบช.น. ผบก.น.1-9 ผบช.ภาค 1-2 และตัวแทนจากกรมการขนส่งทางบก, กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท, กรม เจ้าท่า, กรมโยธาธิการและผังเมือง, สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร, สำนักงานจราจรและขนส่งกรุงเทพ มหานคร, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กองทัพภาคที่ 1, พล.1 รอ., พล.ม.2 รอ., ปลัดกรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า วันนี้ประชุมบูรณา การการแก้ปัญหาจราจรติดขัดในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยตั้งคณะอนุกรรมการบูรณาการขึ้นมา 1 ชุด วางแผน 3 ระยะ มีระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว จะเริ่มระยะเร่งด่วนก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาเท่าที่ถนนมีอยู่ในขณะนี้ แก้ปัญหาเรื่องรถชน ปัญหาการใช้ถนนของจักรยานยนต์ รถสาธารณะต่างๆ ขณะนี้ที่ตำรวจจราจรกลาง บช.น. ร่วมกับกระทรวงคมนาคมและกทม.ด้วย ส่วนไหนที่พอจะทำถนนให้มันกว้างขึ้น ที่ติดขัดเล็กน้อยก็จะรีบดำเนินการทันที และช่องทางก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ทำให้เกิดปัญหาจราจร ก็จะทำให้ชัดเจนขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลให้รถเคลื่อนตัวได้

“เราจะทำแบบ เร่งด่วนเพื่อทำให้การจราจร ไม่ติดขัด ในส่วนของบช.น.ทำไปเยอะแล้ว ตอนนี้จะเห็นว่ารถไม่ค่อยติดเท่าไหร่ แต่ต่อไปหลังจากตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน จะเข้าไปดำเนินการ ความจริงแล้วคณะกรรม การเรื่องของการจราจรมีอยู่แล้ว แต่วันนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้แต่งตั้งผมเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนในเรื่องของการจราจรแก้ปัญหาเร่งด่วน ให้ได้ แต่คงไม่สามารถที่จะแก้ปัญหารถติดให้ไม่ติดเลยในเวลาอันรวดเร็วก็เป็นไปไม่ ได้ แต่สามารถแก้ไขปัญหาให้รถติดน้อยลง เคยไป 1 ชั่วโมง ก็จะเหลือ 40 นาที เราจะทำแบบนั้น วันนี้ได้ประชุมชี้แจงไปหมดแล้ว” รองนายกฯ กล่าว

ผู้ สื่อข่าวถามว่าจะจัดเพิ่มเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลาเร่งด่วน พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า เวลานี้ จัดเจ้าหน้าที่ดูแลในส่วนนี้อยู่แล้ว เพื่อดูว่าจราจรติดขัดส่วนไหนก็จะไปแก้ไข อาทิ ถนนไม่ดี รถวิ่งผิดทาง ต่อไปนี้ก็ไปดูเรื่องใบสั่ง ใบสั่งต่อไปจะมีผลอย่างมาก ผมจะสั่งการ ไปยังกรมการขนส่งฯ เกี่ยวกับเรื่องการต่อทะเบียนรถในอนาคต ถ้าใครไม่ไปจ่ายค่าปรับใบสั่งจะมีผลต่อการต่อทะเบียนรถไม่ได้ ถ้าไม่ยอมจ่ายค่าปรับใบสั่งก็ต้องยอมเสียเพิ่มเติม อาจต้องออกกฎหมายแบบนั้นคือการคูณสองถึงสามเท่าในการจ่ายค่าปรับ จะพิจารณาข้อกฎหมายนี้ให้เร็วที่สุด ความจริงอยากให้เสร็จภายในวันนี้ด้วย ส่วนเรื่องอายุของรถต้องให้เป็นเรื่องระยะยาว กรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ ตอนนี้เริ่มพิจารณาและดำเนินการแล้ว

เมื่อถามถึงการแก้ปัญหา ระยะเร่งด่วน รองนายกฯกล่าวว่า พอเริ่มทำก็ให้รายงานผลทุก 15 วัน และรายงานผลอย่างต่อเนื่องว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถนนมีทั้งหมด 21 สายเป็นถนนสายหลักที่ต้องเร่งดำเนินการ พล.ต.ท. ศานิตย์รู้ดีอยู่แล้ว และเชื่อว่าต้องแก้ไขได้ ถ้าทุกคนช่วยกัน ต่อไปการสอบใบขับขี่จะสอน จิตใต้สำนึกการใช้รถใช้ถนนด้วย ไม่ใช่มีเฉพาะ ใบขับขี่เฉยๆ โดยกรมการขนส่งฯ จะดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งตำรวจจะบังคับใช้กฎหมายอย่าง เต็มที่ ขอให้ประชาชนเคารพกฎหมาย

ต่อข้อถามว่าปัญหานี้มีมาอย่างยาว นานแล้ว มั่นใจว่าจะสามารถแก้ปัญหาการจราจรได้ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า มั่นใจว่าแก้ไขได้ เพราะ ทุกคนตั้งใจเข้ามาทำเพื่อประชาชนทุกคนที่ใช้รถใช้ถนน ถ้าไม่ทำก็คือไม่ทำและก็จะเป็นแบบนี้ ยืนยันว่าไม่มีอะไรยาก ทุกอย่างสามารถ แก้ปัญหาได้หมด ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางวางกรอบไว้ 3 ปี ซึ่งจะพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ มินิบัส ที่จะวิ่งไปสายใต้ แต่ระยะเร่งด่วนต้องเห็นผลภายใน 1 เดือน เวลานี้ไม่ใช่ว่าไม่เห็นผล ผบช.น.มีตัวเลขเวลารถติดลดลง อย่าด่าอย่างเดียว ให้รอดูการทำงาน ด้วย จาก 08.20 น.ลดลงมาเหลือ 08.00 น. ถือว่าเป็นการระบายรถได้ดี เวลานี้ถนนรัชดาฯ การจราจรดีขึ้น ตอนเช้าดีขึ้น 20 นาที ตอนเย็น ดีขึ้น 1 ชั่วโมง

“ส่วน จะเพิ่มอัตราโทษสำหรับคนที่ทำผิดกฎจราจรหรือไม่นั้น กฎหมายที่มีขอให้บังคับให้ได้ก่อน นอกจากนี้ในการประชุมยังพูดถึงการห้ามรถจักรยานยนต์ รถสามล้อขึ้นสะพานและลอดอุโมงค์ด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย เราพยายามป้องกันอุบัติเหตุทุกช่วงเวลาและทุกช่วงเทศกาล แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้เท่าที่ควร เนื่องจากรถจักรยานยนต์และรถสามล้อขับขึ้นสะพานและลงอุโมงค์จนเกิด อุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง แต่ต่อไปนี้ต้องสร้างการรับรู้และชี้แจงให้คนเหล่านี้รับทราบ ว่าที่ทำทั้งหมดก็เพื่อคนกทม. ส่วนกรณีที่กลุ่มรถสามล้อและรถจักรยานยนต์เรียกร้องต้องการใช้สะพานและ อุโมงค์นั้น ขณะนี้ไม่มีแล้ว เพราะสร้างการรับรู้ไปแล้ว ส่วนตำรวจจราจรจะมีพอหรือไม่นั้น กำลังพยายามทำอยู่ โดยภายในเดือนพ.ย.นี้ จะมีกำลังพลเพิ่มขึ้น อีก 1,000 นาย และจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วย แต่ต้องรองบประมาณส่วนนี้ก่อน” พล.อ.ประวิตรกล่าว

เมื่อถาม ว่ากลุ่มรถสามล้อเรียกร้องให้แก้พ.ร.บ.จราจร ว่าด้วยการห้ามขึ้นสะพานและลอดอุโมงค์ รองนายกฯกล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วย พ.ร.บ.ที่มีอยู่สามารถช่วยแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ อะไรที่ให้ประโยชน์ส่วนบุคคลนั้น ตนไม่เห็นด้วยต้องมองในภาพรวม ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวต้องไปถามกระทรวงคมนาคม ตอนนี้ตนเข้ามาขับเคลื่อนปัญหาเร่งด่วนเท่านั้น

ด้านพล.ต.ท. ศานิตย์กล่าวว่า ภายหลังที่ตำรวจนครบาลเปิดโครงการ “ทำการจราจรวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน” โดยให้รอง ผบก.ทำหน้าที่ควบคุมการจราจรแต่ละเส้นทางหลัก ทั้ง 21 เส้นทาง โดยมีผกก.แต่ละสถานีตำรวจ รองผกก.จร. และสว.จร. รวมถึงตำรวจจราจรทุกนายร่วมกันดูแลแก้ไขปัญหา ปรับแผนดูแลการจราจรให้เหมาะสมกับสภาพการจราจร ในขณะนั้น โดยให้รายงานผลการปฏิบัติไปยังศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร หรือบก.02 ที่มีรองผบช.น.รับผิดชอบภาพรวม ส่วนกรณี ทอมทอม (TomTom) ผู้ผลิตระบบนำทาง จีพีเอส (GPS) ชั้นนำของโลก จัดอันดับให้กทม.เป็นเมืองที่จราจรติดขัดช่วงเวลาเร่งด่วนมากที่สุดในโลก นั้น เป็นข้อมูลเมื่อเดือนมี.ค.2559 ขณะนี้ผ่านมาหลายเดือนแล้ว การแก้ปัญหาดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว

ผบช.น.กล่าวอีกว่า การจราจรในถนนสายสำคัญ อาทิ ถ.รัชดาภิเษก การจราจรท้ายแถวคลี่คลายในเวลา 08.40 น. หลังเริ่มโครงการการจราจรคลี่คลาย เวลา 08.20 น. ขณะที่ช่วงเย็นการจราจรเมื่อก่อนคลี่คลายเวลา 20.45 น. แต่หลังเริ่มโครงการ เวลา 19.45 น.ก็คลี่คลายแล้ว แสดงว่าการแก้ไขมาถูกทางแล้ว ตรงนี้ใช้ข้อมูลเชิงสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์มาประเมิน ผลการปฏิบัติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ยังแผนปรับปรุงแก้ไขปัญหาทางกายภาพของเกาะกลางถนนและจุดตัดจำนวน 43 จุดดัง

1.ถนน วัฒนธรรม แยกเทียนร่วมมิตร, 2.แยกผ่านพิภพลีลา, 3.โค้งตลาดศรีเขมา, 4.ถนนประเสริฐมนูกิจ ขาเข้า มุ่งหน้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม, 5.ถนนประเสริฐมนูกิจ ขาออก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรมไปแยกสุคลฯ, 6.ถนนสุคลฯเลี้ยวออกถนนประเสริฐมนูกิจ, 7.จุดกลับรถหน้าเดอะวอล์ค ถนนประเสริฐมนูกิจ, 8.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ขาเข้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประเสริฐมนูกิจ, 9.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ขาออก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประเสริฐมนูกิจไปแยกสุคลฯ, 10.ประเสริฐ มนูกิจ ขาออก เลี้ยวซ้ายเข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม 11.ถนนลาดปลาเค้าเลี้ยวซ้ายถนนประเสริฐ มนูกิจขาออก, 12.ขยายช่องกลับรถถนนรัชดาราม ขาเข้า ก่อนถึงแยกสวนน้ำ,

13.แยก เคหะร่มเกล้า, 14.จุดกลับรถแยกโพธิ์แก้ว ขาเข้า, 15.จุกลับรถหน้าห้างพาซิโอ, 16.แยกพาราไดซ์, 17.ปากซอยสุขุมวิท 71, 18.บริเวณทางเข้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ถนนพระราม 1, 19.แยกบางพรม, 20.สนามหลวง 2 ถนนทวีวัฒนา, 21.โค้งใกล้ธนาคารไทยพาณิชย์ ถนนกาญจนาภิเษก, 22.ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า บริเวณก่อนถึงป้ายรถเมล์ก่อนขึ้นสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า, 23.ถนนเจริญนครตั้งแต่แยกเจริญนคร-แยกคลองต้นไทร, 24.แยกพระราม 2 ถนนสุขสวัสดิ์, 25.ทางเบี่ยงหมู่บ้านพระราม 2, 26.ช่องกลับรถตรงข้ามจุดตัดเพชร-ราชพฤกษ์, 27.ถนนเชื่อมสัมพันธ์สี่แยกหน้าสำนักงานเขตหนอง จอก, 28.ถนนเทอดพระเกียรติ ร.9, 29.ซอยลาดกระบัง 54 ถนนลาดกระบัง, 30.ถนนสังฆปรีชา 31.จุดกลับรถแยกวัดพลมานีย์, 32.จุดกลับรถเชื่อมสัมพันธ์, 33.ถนนเลียบวารีซอย 8, 34.ถนนเลียบวารี, 35.ถนนสุวินทวงศ์ตัดถนนคลองสามวา, 36.ปากซอยสุวินทวงศ์ 28, 37.สี่แยกถนนตก, 38.ซอยเจริญนคร 18, 39.ซอยเจริญนคร 24, 40.แยกบางบอน 3, 41.แยกบางบอน 5, 42.ทางเบี่ยงเข้าทางหลักออกคู่ขนานถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และ 43.จุดข้ามสัญญาณไฟคนข้ามปากซอยลาด กระบัง 26

ทั้งนี้ทั้ง 43 จุดเป็นจุดที่บช.น.ได้ประสาน กทม. เพื่อขอปรับกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการปาดเกาะ ย้ายจุดกลับรถ ขยายช่องจราจร และก่อสร้างสะพานคนข้ามทดแทนทางม้าลาย โดยจุดต่างๆ ถือว่าเป็นปัญหาส่งผลให้การระบายการจราจรไม่สามารถทำได้เต็มที่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน