กองทัพ-ม.พระนครเหนือฯ ส่ง โดรน-ยานขับเคลื่อนใต้น้ำ สมทบซีล ค้นหา 13 ชีวิต

ถ้ำหลวง / เมื่อเวลา 07.00 น.วันที่ 26 มิ.ย. ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง ดร.สว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) พร้อมคณะทำงาน จำนวน 14 คน พร้อมอุปกรณ์ช่วยยานขับเคลื่อนใต้น้ำชนิดใช้สายควบคุม (REMOTELY OPERATED UNDERWATER VEHICLE : ROV) และโดรน (Drone) ใช้การสำรวจทางอากาศ จำนวน 3 เครื่อง เดินทางไปการช่วยเหลือปฎิบัติตามหาเด็กและโค้ช จำนวน 13 คน ที่จังหวัดเชียงราย โดยมีพลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เดินทางมาส่งขึ้นเครื่องบินซี-130 เลขที่ 60919 และให้กำลังใจทีมงานที่ไปปฏิบัติงานในครั้งนี้

ด้าน ดร. สว่างทิตย์ กล่าวว่า วันนี้นำทีมงานและนักศึกษาทีมวิจัยจำนวน 14 คน ไปเป็นทีมสนับสนุนช่วยเหลือทีมเจ้าหน้าที่ดำน้ำที่เข้าไปช่วยเหลือน้องๆ โดยวันนี้มีการนำโดรนที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทวิจัยแห่งหนึ่งจำนวน 2 ตัว ที่ทำหน้าที่ในการสำรวจทางอากาศ 1 ตัว และสามารถดำน้ำได้ 1 ตัว ซึ่งมีความสามารถในการตรวจจับความร้อนได้ สามารถแยกแยะอุณหภูมิระหว่างสิ่งมีชีวิตที่เป็นคน,สัตว์ ,ต้นไม้ และอื่นๆได้ ส่วนที่ 2 คือยานสำรวจใต้น้ำเป็นการส่งสัญญาณโซน่า ที่จะใช้ส่งสัญญาณสำรวจเส้นทางว่าถ้ำมีขนาดความกว้างความลึกเท่าใด หรือมีสิ่งกีดขว้างหรือไม่ เพื่อที่จะช่วยสำรวจเส้นทางให้แก่นักประดาน้ำ แต่ตัวเครื่องจะไม่สามารถตรวจจับคลื่นชีวิตได้ แต่ทางเจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งกล้องจับภาพเพิ่มเติมเข้าไปแทนเพื่อไว้จับภาพสิ่งมีชีวิต

พลอากาศเอก ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า ได้รับการประสานจากอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ต้องการเร่งส่งเครื่องสำรวจใต้น้ำ และโดรน ที่ใช้สำรวจสภาพพื้นที่โดยรอบของถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน และช่วยเหลือหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ หรือ หน่วยซิล โดยจะให้เวลาในการบินประมาณ 1 ชั่วโมง จะถึงท่าอากาศยาน จ.เชียงราย

นายสว่างทิตย์ เปิดเผยถึงภารกิจครั้งนี้ว่า จะใช้ยานสำรวจใต้น้ำ ดำน้ำลงไปเพื่อนำร่องสำรวจสภาพภายในถ้ำเพื่อทำแผนที่ เปิดทางให้นักประดาน้ำสามารถเข้าไปในพื้นที่ได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งยานสำรวจใต้น้ำตัวนี้สามารถ ส่งสัญญาณได้ระยะ 100 เมตร ด้วยการส่งสัญญาณโซนาร์สำรวจสภาพและขนาดของถ้ำ โดยสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 2 ถึง 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีกล้องที่ติดกับตัวเครื่องหากพบวัตถุอะไรในระยะ 10-20ซม. ในสภาพน้ำที่ขุ่นก็จะสามารถเห็นได้ว่าวัตถุดังกล่าวคืออะไร

ทั้งนี้ยานสำรวจใต้น้ำลำนี้จะใช้ในการสำรวจสิ่งแวดล้อมทสงทะเลเท่านั้น นี้ถือว่าเป็นครั้งแรกในการประยุกต์ช่วยเหลือคน ส่วนข้อมูลในที่เกิดเหตุนั้นทางทีมได้รับรายระเอียดเพียงคร่สวๆเท่านั้นต้องรอข้อมูลจริงอีกทีกับทางเจ้าหน้าที่ในที่เกิดเหตุ เบื้องต้นมีการวางแผนปฎิบัติภารกิจครั้งนี้ไว้ทั้งหมด 3 วัน ขณะเดียวกันยอมรับว่าโดยสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นถ้ำและดินโคนใต้น้ำอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน แต่ก็จะทำอย่างเต็มที่

นายปาลวัฒน์ ประทุมวงษ์ พนักงานบริษัทเอกชนผู้เชี่ยวชาญการบังคับโดรน กล่าวเพิ่มเติมว่าการทำงานของโดรนนั้นจะทำการเก็บภาพโดยรอบพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้จะมีกล้องตรวจจับความร้อน ซึ่งจะจับกลุ่มความร้อนต่างที่เกิดขึ้นบนพื้นที่เท่านั้น ไม่สามารถเจาะลงเข้าไปในจนเห็นตรวจความร้อนในถ้าได้ แต่เนื่องจากในถ้ำมีน้ำอุณหภูมิก็จะต่างกัน ซึ่งอาจทำให้รู้ได้ว่าตรงไหนมีภาพเป็นอย่างไรก่อนนำมาทำแผนที่ ดีกว่าการนำคนบุกเข้าไปสำรวจอย่างเดียวเพราะอาจจะเกิดอีนตรายได้ ซึ่งโดรนมีทั้งหมด 3 ตัว บินสำรวจได้ทั้งวัน เข้าถึงพื้นที่ได้ตามที่ต้องการ

ทั้งนี้ ชุดปฎิบัติภารกิจสำรวจและค้นหาด้วยยานขับเคลื่อนใต้น้ำชนิดใช้สายควบคุม (ROV) ทำงานภายใต้ความร่วมมือของศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล (CASME) สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จำนวน 10 คน ประกอบด้วย

1. ดร. สว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ หัวหน้าชุดปฎิบัติภารกิจ
ศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล (CASME) สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
2. นางสาวธีราพร แสนทวี ผู้ประสานงานโครงการ
ศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอวกาศและทะเล (CASME) สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
3. อาจารย์ สมศักดิ์ โชติชนาทวีวงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. อาจารย์ ศิวะพงศ์ เพ็ชรสงค์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร


5. นายรักเกียรติ ปั้นศรี
สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC/TD)
6. นายนัฐ แจ่มแจ้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
7. นายนลธวัช สระทองนวน
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
8. นายณัฐกิตติ์ แหนบุญส่ง
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
9. นายวัชระ บรรจงศิลป์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. นายปฏิวัติ โสมาศรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ข้อมูลชุดปฎิบัติภาระกิจโดรน (Drone)

ชุดปฎิบัติภารกิจโดรน (Drone) จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
1. นายปาลวัฒน์ ประทุมวงษ์ หัวหน้าทีมโดรน
PAW. Technology Co.,Ltd.
2. นางสาวณัฐนันท์ สุภาวหา ฝ่ายประสานงาน
PAW. Technology Co.,Ltd.
3. นายสุรชัย พรหมฤกษ์ศิริ
PAW. Technology Co.,Ltd.
4. นายวิรัตน์ แก้วมณี
Digital focus Co., Ltd.

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน