เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 ธ.ค. ตามเวลาท้องถิ่นของเมียนมา ที่กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ มีกำหนดการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์เกี่ยวกับพัฒนาการในรัฐยะไข่ ตามคำเชิญของนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรมว.ต่างประเทศเมียนมา ต่อประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศที่ประกอบด้วยไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิบปินส์ บรูไน และเวียดนาม รวมถึงเลขาธิการอาเซียน โดยในงานนี้ เมียนมาจะชี้แจงถึงสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงยา หลังจากสถานการณ์ในรัฐยะไข่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ส่งผลให้เวทีระหว่างประเทศมีความกังวลกับชาวมุสลิมในรัฐดังกล่าว

201612191044541-20060421135929

นายดอน กล่าวก่อนการประชุมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่อาเซียนมองว่าเป็นปัญหาของเมียนมา แต่บางครั้งเป็นเรื่องของอาเซียนเช่นกัน ซึ่งการเชิญชาติอาเซียนของนางออง ซาน ซู จี ครั้งนี้ เพื่อรับฟังเหตุผล และไทยเองในฐานะเพื่อนบ้าน ก็เคยมีปัญหาของผู้คนที่อพยพทางทะเล จึงรับรู้ถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ที่ไทยพร้อมเสนอแนวคิด และการแก้ปัญหา แต่ต้องดูที่ต้นตอของเรื่องดังกล่าว และจะทำอย่างไรให้ระหว่างชนกลุ่มต่างๆ และคนต่างศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และไม่ทำมีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคตได้

201612191044544-20060421135929

สำหรับการช่วยเหลือจากไทยนั้น นายดอนกล่าวว่า จะให้การช่วยเหลือเมียนมา กับการพัฒนาพื้นที่ในรัฐยะไข่ เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่คงเป็นแค่ส่วนน้อยที่สามารถทำได้ เมื่อเทียบเท่ากับสิ่งที่รัฐบาลเมียนมาทำ พร้อมเชื่อว่าการเข้าช่วยเหลือปัญหาที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ จากหลายๆชาติ จะทำให้ประชาชนในพื้นที่มีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อน และไม่เป็นการแทรกแซงอีกด้วย

201612191044543-20060421135929

สถานการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ที่เกิดขึ้น ทำให้เวทีระหว่างประเทศมีความกังวลกับประชาชนชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เมียนมาจะมีการชี้แจงสถานการณ์และการแก้ไขปัญหากับชาวโรฮิงยา เพื่อสิทธิมนุษยชนของชาวมุสลิมในเมียนมาด้วย

ก่อนหน้านี้ ตามรายงานของเอเอฟพีระบุว่า นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาสหประชาชาติหรือยูเอ็น ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษแก้ไขปัญหาโรฮิงยา แถลงพบความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธพม่ากับชาวมุสลิมโรฮิงยา แต่อย่าไปใช้คำว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงยา ขณะที่นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ถามนางซู จี มีรางวัลโนเบลสันติภาพไว้ทำไม พร้อมระบุปัญหาโรฮิงยาเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ไม่ใช่ของเมียนมาชาติเดียว มีชาวโรฮิงยาในประเทศมาเลเซียอย่างน้อย 56,000 คน อีกทั้งเรียกร้องให้ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดของโลกออกมาแสดงท่าทียืนหยัดเพื่อชาวมุสลิมด้วยกัน

ทั้งนี้ ความขัดแย้งของชาวโรฮิงยารอบที่ปะทุล่าสุดนี้เริ่มจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพลเรือนเมียนมาถูกกลุ่มติดอาวุธสังหารอย่างน้อย 9 คน ทางรัฐบาลเมียนมากล่าวหาว่า ชาวโรฮิงยามีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้ประกาศเคอร์ฟิวส์ในเมืองหม่องดอว์ รัฐยะไข่ เปิดฉากปราบปรามชาวโรฮิงยา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 100 คน และอพยพหนีตายไปยังประเทศบังคลาเทศที่มีพรมแดนติดกันราว 20,000 คน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน