ครม.นัดพิเศษ พิจารณามาตรการดูแล-เยียวยาผลกระทบ โควิด-19 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการจัดทำร่างกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีการพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 3 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เพื่อพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉิน และมาตรการเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เฟสที่ 3

ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการ พ.ร.ก. กู้เงินทั้งสิ้น 3 ฉบับ ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 2 ฉบับ และกระทรวงการคลัง 1 ฉบับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี คาดว่าจะใช้วงเงินสัดส่วนใกล้เคียงกับที่ประเทศอื่นๆ ใช้ คือประมาณร้อยละ 10 ของ จีดีพี. อาจจะมากกว่า น้อยกว่านั้น เพื่อรักษากลไกเศรษฐกิจให้กลไกทุกอย่างเดินได้

สำหรับยอดเงิน ร้อยละ 10 ของ จีดีพี ปัจจุบันอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท

นายสมคิด กล่าวว่า เงินในการกู้วิกฤติครั้งนี้ จะมากจากประมาณ ที่เกลี่ยจากกระทรวงต่างๆ ร้อยละ 10 เป็นมาตรการที่ครอบคลุมทุกมิติ คือ ดูแลประชาชน เยียวยาเศรษฐกิจในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ยืนยันว่า ร้อยละ 10 ของ จีดีพี. ไม่ได้มาจากการกู้ทั้งหมด ต้องพิจารณาเงินจากงบประมาณก่อน หากงบประมาณใช้ได้ดี การออก พ.ร.ก.กู้เงิน ก็อาจจะไม่ใช่ร้อยละ 10 ของ จีดีพี.

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน