ศธ.ร่วมมือสธ. เยียวยาเด็ก ให้ ร.ร.รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แจง ‘ครูจุ๋ม’ เป็นแค่พี่เลี้ยงเด็ก ‘กนกวรรณ’ ตั้งทีมตรวจสอบทั้งประเทศ สช.พบเครือสารสาสน์ 34 แห่ง ร้องเรียนปัญหา บูลลี่-ลงโทษเด็ก

เมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายกมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการแก้ไขปัญหากรณีโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ ที่มีนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานราชการ คือ ศธ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตำรวจ ผู้ปกครอง และโรงเรียน

โดยมีข้อสรุปร่วมกันดังนี้ ศธ.จะร่วมกับกรมสุขภาพจิต เพื่อดูแลเยียวยาจิตใจร่างกาย ของนักเรียนและผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบ โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจ และถ้าเด็กไปตรวจร่ายกายและสภาพจิตใจแล้วมีค่าใช้จ่าย ทางโรงเรียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพราะถือว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากโรงเรียน

ร้องเรียนโรงเรียน

ทั้งนี้ต้องดูแลสภาพจิตใจของนักเรียนในโรงเรียนด้วย โดยกรมสุขภาพจิตจะเข้าไปช่วยเหลือจัดกรรมให้เด็กแสดงออกปลดปล่อยความรู้สึกต่อไป ส่วนการดำเนินคดีอาญาที่พี่เลี้ยงรายนี้ได้กระทำ ตำรวจจะเข้ามารับผิดชอบดูแลให้ เบื้องต้นบุคคลรายนี้ไม่ได้เป็นครูพี่เลี้ยง ซึ่งทางโรงเรียนให้พี่เลี้ยงรายนี้ออกจากโรงเรียนแล้ว โดยโรงเรียนจะประชุมชี้แจงวันที่ 29 ก.ย.นี้ ต้องชี้แจงทุกข้อปัญหา

นายกมล กล่าวต่อว่า ในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) จะลงพื้นตรวจสอบโรงเรียนต่อไป และจะตรวจสอบโรงเรียนอื่นๆทั่วประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งนางกนกวรรณ มอบหมายให้ตน และคณะทำงานลงไปกำกับติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

ด้านนายอรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า พบข้อปัญหาหลายอย่าง โดย สช.ได้สั่งให้ทบทวนเรื่องครูพี่เลี้ยง เพราะไม่มีในระเบียบทำให้ควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า ห้องเรียน English Program ได้กำหนดให้มีเด็กไม่เกิน 25 คน แต่พบว่า มีถึง 34 คน และยังพบว่าโรงเรียนมีการเก็บค่าธรรมเนียม นอกเหนือจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาอีกด้วย หากโรงเรียนไม่แก้ไข สช.จะดำเนินการตามพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ต่อไป

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า โรงเรียนในเครือสารสาสน์ทั่วประเทศจำนวน 42 แห่ง แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา สช.รับเรื่องร้องเรียนจากโรงเรียนในเครืองสารสาสน์ จำนวน 34 แห่ง เช่น การบูลลี่ การของสอนครู การลงโทษนักเรียน และการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เป็นต้น ซึ่ง สช.จะตั้งคณะทำงานออกไปตรวจสอบโรงเรียนทุกแห่งเพื่อจัดระเบียบโรงเรียนเหล่านี้ต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าต่อไปนี้วงจรปิดที่โรงเรียนเอกชนมีควรจะมีจอมอนิเตอร์ที่เห็นได้แบบสาธรณะ ไม่ควรเป็นกล้องวงจรปิดแบบบันทึกแล้วดูย้อนหลังอีกต่อไป และต่อไปนี้โรงเรียนเอกชนต้องแสดงภาพถ่ายและเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู พร้อมวันหมดอายุ ติดประกาศให้ผู้ปกครองได้เห็นในสถานที่ที่เปิดเผย หน้าห้องเรียน และในเว็บไซต์ด้วย เพราะต้องการให้ผู้ปกครองเป็นหูเป็นตา ถ้าโรงเรียนจ้างผู้อื่นมาสอนแทนคนที่ติดประกาศ แสดงความโรงเรียนกระทำความผิด เช่น ถ้าโรงเรียนจ้างคนที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพมาทำหน้าที่ครู มีโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 60,000 บาท

“และถ้ามีหลักฐานพยายานเพียงพอว่าบุคคลนี้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู หรือไม่ได้รับอนุญาตทำหน้าที่ครู แต่กลับทำหน้าที่ครู ให้นำพยายานหลักฐานมา สช.พร้อมจะเป็นผู้กล่าวโทษทั้งผู้ปฏิบัติและผู้จ้างวาน ซึ่งมีโทษจำคุก 3 ปี และปรับ 60,000 บาท ส่วนครูที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นต่อแบ่งความผิดเป็น 2 ประเด็นคือ คนที่อยู่ในเหตุการณ์อาจจะบกพร่องในเรื่องของจรรยาบรรณที่มีต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งต้องไปดุว่าการกระทำนี้เข้าข่ายและบกพร่องในมาตรฐานวิชาชีพครูข้อใด แต่ถ้ามองในด้านที่ครูยืนดูในขณะที่เด็กถูกปะทุศร้าย ถือเป็นความผิดตามพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้รับผิดชอบดูเรื่องนี้”นายอรรถพล กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน