เปิดภาพกลุ่มฝน โผล่อีสาน-ตะวันออก หลังกรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือนพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น

หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 10 (มีผลกระทบถึงวันที่ 29 มีนาคม 2566) ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว

ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2566 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ล่าสุดเพจ กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ภาพถ่ายดาวเทียมเวลา 11:25 น. วันที่ 29 มี.ค.66 โดยระบุว่า มีกลุ่มเมฆฝน ฟ้าคะนองตกต่อเนื่องบางจุด บริเวณจังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคามบุรีรัมย์ นอกจากนี้มีกลุ่มเมฆฝน ฝนฟ้าคะนอง เริ่มก่อตัวบริเวณภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยองสระแก้ว จันทบุรี และตราด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน