ทนายสายหยุด เผยแนวทางการต่อสู้คดี ทนายตั้ม แจงเรื่องซื้อรถเบนซ์ ยืนยันไม่ได้เตี๊ยมคำให้การ แจงโอนบ้าน-รถให้ภรรยา ไม่ได้เป็นการฟอกเงิน

เมื่อวันที่ 9 พ.ย.67 นายสายหยุด เพ็งบุญชู ทนายความของนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม และภรรยา ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการต่อสู้คดีว่า เมื่อวานนี้ ที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะกลัวไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน ซึ่งมองว่า ไม่ได้เพลี้ยงพล้ำ หรือเสียหน้า เพราะยังไงก็รู้ว่า ถ้ายื่นประกันตัวทนายตั้มคงไม่ได้อยู่แล้วจึงไม่ยื่น ส่วนภรรยามองว่าแค่รับโอนบ้านมา แต่มูลค่าความเสียหายค่อนข้างสูงศาลท่านเห็นว่ายังไม่สมควรปล่อยชั่วคราว จึงต้องรับไปตามนั้น

ทนายสายหยุด ยังบอกถึงแนวทางการต่อสู้คดีด้วยว่า จะแบ่งเนื้อหาเป็น 3 เรื่อง แต่จะขออธิบาย 2 เรื่องก่อนคือเพราะคดีนี้คือคดีเดียว แต่ความผิด 3 กรรม เริ่มจากเรื่องส่วนต่างรถเบนซ์ 1.5 ล้านบาท ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ผู้เสียหายคือ เจ๊อ้อย ประสงค์อยากได้รถเบนซ์ รุ่น จี 400 กำหนดรุ่นมาเลยว่าอยากได้รุ่นนี้

ทนายตั้มก็โทรหาพวกนำเข้ารถ ที่เรียกกันว่าเกรย์มาเก็ตว่าที่ไหนมีบ้าง ปรากฎว่าหาไม่ได้ แล้วเขาก็ติดต่อไปที่เจ้าที่เกิดปัญหา เพราะรู้จัก เคยซื้อรถอัลพาร์ดกัน ซึ่งเจ้านี้บอกว่า ถ้ามัดจำเขาหารถได้ 7 วันไม่เกิน 15 วัน ทนายตั้มเลยให้ส่งรูปและใบเสนอราคา และส่งโบว์ชัวร์มา พอส่งมาแล้วทนายตั้มก็แชร์ต่อไปให้เจ๊อ้อย แล้วเจ๊อ้อยบอกใช่รุ่นนี้

ทนายตั้ม เลยถามต่อว่า เอาเลยหรือไม่ ถ้าเอาต้องมัดจำก่อน 500,000บาท เจ๊อ้อยก็ถามกลับมาว่า ได้รถชัวร์หรือไม่ เพราะรถขาดตลาด ทนายตั้มเลยบอกว่าชัวร์ จากนั้นก็โอนเงินมัดจำมา 500,000 บาท แล้วก็ได้รถมา ซึ่งทนายตั้มก็ย้อนกลับไปถามโชว์รูมว่า มีคอมมิชชั่นให้เท่าไร โชว์รูมบอกให้ได้ 8 แสน ทนายตั้มเลยพูดกับโชว์รูมแบบแกล้งๆ กันไปด้วยความสนิทสนมว่า “ได้ข่าวว่ารถราคาสิบล้านได้เป็นล้านไม่ใช่เหรอ” ทางโน้นก็เลยบอกว่า งั้นให้ทนาย 1.5 ล้าน ข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้

แล้วทางเจ๊อ้อยก็โอนเงินก้อนมา ซึ่งวันที่โอนค่ารถมา 13 ล้านกว่าๆ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย แต่ตนเองยังไม่ได้ดูรายละเอียด แล้วพอโอนเงินมาทนายตั้มก็จ่ายค่ารถไปแล้วเหลือส่วนต่างอยู่ 1.5 ล้าน จึงขอถามว่า ถ้าแบบนี้เต้นท์รถมือสอง นายหน้าค้าบ้านจะต้องติดคุกกันอีกเยอะ ถ้าทำแบบนี้แล้วผิด

ทั้งนี้มองว่า ทนายตั้ม ไม่จำเป็นต้องบอกว่าได้ค่าส่วนต่าง เพราะโชว์รูมให้เงินผู้ที่ติดต่อแนะนำ เป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้ว แต่การได้เยอะได้น้อย ตนไม่ขอวิจารณ์ ซึ่งตามปกติ ถ้าผู้ซื้อต้องการอยากได้รถขาดตลาด ถ้าคนหนึ่งหาได้ บางทีแพงกว่าราคาจองเขาก็ยังซื้อกัน ซึ่งราคาตกลงในใบเสนอราคาแล้ว มองว่าเป็นเรื่องทางแพ่ง ถ้าแบบนี้ติดคุกกันหมดเแล้วนายหน้าจะอยู่ยังไง ใครจะกล้าแนะนำคนไปซื้อรถกัน

ส่วนประเด็นเรื่องเงิน 9 ล้าน ที่ตนได้พูดคุยรายละเอียดกับทนายตั้ม ข้อเท็จจริงคือ เจ๊อ้อยมีที่อยู่ 7 ไร่ ต้องการทำโรงแรม และวาดเแบบคร่าวๆกัน แต่สามีเป็นชาวต่างชาติ จะทำอะไรต้องชัดเจน และมีงบ 160 ล้านในโครงการนี้ เลยให้ทนายตั้มมาดูแลตั้งแต่วาดแบบ ทำสัญญาปลูกสร้าง คุมช่างก่อสร้าง ขอใบอนุญาตปลูกสร้าง จนไปขอใบอนุญาตเปิดโรงแรม ดูเรื่องความปลอดภัย ดูพื้นที่สีเขียว ซึ่งทนายตั้มดูแลทั้งหมด ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี

ซึ่งในช่วงนั้นเจ๊อ้อย ไม่ได้จ่ายค่าที่ปรึกษาเดือนละ 300,000 บาทให้ทนายตั้มแล้ว ถ้าเจ๊อ้อยอยู่ฝรั่งเศส ทนายตั้มต้องเดินทางเองพักเอง แต่ถ้าเจ๊อ้อยอยู่ก็ดูแลที่กินที่พักให้ ซึ่งทนายตั้มบอกว่า 2 ปี คงไปเดือนละครึ่ง น่าจะเหลือค่าแบบ 2 ล้านกว่าบาท แต่ด้วยความที่สามีเป็นชาวต่างชาติ ก็ต้องทำบิลเสนอเข้าไปว่าการดูแลค่าแบบ 9 ล้าน แต่ 3.5 ล้าน แค่แบบตัวโรงแรม

ส่วนพื้นที่สีเขียวภายนอกยังไม่ได้ออกแบบ แล้วห้องโรงแรมมีหลายห้อง เตียงเดี่ยวเคียงคู่ ห้องสูท ห้องพักส่วนตัว แบบบิ้วอิน ก็ยังไม่ได้เขียนแบบเลย ทำไปแค่แบบเดียว และไม่ใช่แบบเดียวแล้วจบ ทนายตั้มต้องดูจนงานเสร็จ แล้ววันที่เกิดปัญหาคือ วันนั้นทนายตั้มติดต่อวิศวโยธาเพื่อเข้าไปเจาะดิน แต่ทางโน้นโทรมาว่า ไม่ต้องไปทำแล้ว ไม่ประสงค์ให้ทนายตั้มทำ แล้วก็หยุดกันไป

จากนั้นทนายตั้มก็ไม่ได้ชี้แจงว่า 9 ล้านเอามาทำอะไรบ้าง เหลือต้องคืนหรือไม่ จ่ายไป 3.5 ล้านแล้วไปทำกี่ครั้งจะเอากี่บาท ไม่ได้บอก และเจ๊อ้อยก็ไม่ได้บอกว่า เอาไป 9 ล้านเหลือเท่าไร แล้วไม่จ้างต่อต้องคืนมั้ยก็ไม่ได้ถาม “แล้ววันที่พี่อ้อยไม่ทำต่อได้ทวงถามเงิน 9 ล้านหรือไม่ พอไม่ทวงปัญหาก็เลยเกิด”

ผู้สื่อข่าวถามว่า คดีนี้ต้องคืนเงินหรือไม่นั้น ทนายสายหยุดบอก มันคนละเรื่องกัน ส่วนมีการพยายามทวงถามจากทนายตั้มไปยังเจ๊อ้อยหรือไม่ว่า ต้องการเงินคืนรึเปล่า ทนายสายหยุด มองว่า “ธรรมชาติคงไม่มีใครถาม มีแต่คนเสียหายต้องทวง และมองว่า พี่อ้อยเสียหายเรื่องเงินชัดเจน แต่จะผิดอาญาหรือไม่ผิดอาญา ก็ต้องวิเคราะห์เอา”

ส่วนประเด็นเรื่อง หลักฐานไม่ได้รับโดยเสน่หาแต่เป็นการลงทุนคนเดียวนั้น ทนายสายหยุด อธิบายว่า ทนายตั้มเป็นนักกฎหมาย ก็พูดโดยประมวลกฎหมายแพ่งให้ฟังว่า ให้โดยเสน่หาคืออะไร คือการให้โดยไม่เอาคืน และยอมรับว่า “ทนายตั้มเอาเงินมาจากเจ๊อ้อยจริง แต่ไม่ได้บอกว่าจะต้องคืนเมื่อไหร่ คืนวันไหน แบ่งกำไรให้กันหรือไม่

ทนายตั้มจึงบอกว่า เป็นการให้โดยเสน่หาคือให้เขามาเลย แต่เหตุผลการขอเงิน คือการเอามาลงทุนทำแพลตฟอร์ม ทำธุรกิจเลี้ยงลูกเลี้ยงครอบครัว แล้วพี่อ้อยเขาเอ็นดู เขาช่วยเหลือ แต่สุดท้ายต้องคืนหรือไม่ ผมไม่รู้ เพราะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์”

ทนายสายหยุด ยังบอกต่ออีกว่า ตนเองเห็นหลักฐานแล้วที่คุยกันเดือนม.ค.ที่ฝรั่งเศส ว่าจะลงทุน ตอนนั้นเจ๊อ้อยถามว่า “จะใช้เงินเยอะไหม” ทนายตั้มตอบว่า “2 ล้านยูโร” พี่อ้อยบอกว่า “ก็ไม่เยอะนี่ เดี๋ยวพี่ช่วย เดี๋ยวพี่ให้”

ทำให้ทนายตั้มยังเอาตัวเขากับภรรยาไปกราบขอบคุณ แล้วเจ๊อ้อยก็โทรกลับมาหาพี่น้อยที่ประเทศไทย ว่าให้ดำเนินการเรื่องนี้ให้ด้วย และสั่งพี่น้อยให้จัดทำเอกสาร เพื่อให้เงินทนายตั้ม 2 ล้านยูโร เพราะตอนที่พูดคุยกัน คุยที่ประเทศฝรั่งเศส พี่น้อยไม่ได้อยู่ด้วย พี่น้อยเลยแชทมาถามว่า “พี่อ้อยมีกี่หุ้น พี่อ้อยจะได้อะไรบ้างจากการลงทุนครั้งนี้” ซึ่งเป็นการถามในฐานะเลขา ซึ่งทนายตั้ม ตอบกลับไปว่า “ไม่ครับ ผมลงทุนคนเดียว อันนี้โครงการเล็กๆ ผมทำดูก่อน เดี๋ยวพี่อ้อยทำโครงการใหญ่ๆดีกว่า ได้สมฐานะพี่อ้อย” ซึ่งชัดเจน

วันที่พูดคุยคือวันที่ 29 ม.ค. ยืนยันได้ว่ามีหลักฐานการพูดคุยชิ้นนี้ แต่จะนำไปแสดงต่อศาล เพราะสื่อมวลชนไม่ได้ตัดสินว่าใครถูกหรือผิด ดังนั้นจึงต้องว่าไปด้วยพยานหลักฐาน ยืนยันว่า ทนายตั้มขอเงินมา ส่วนจะยืมหรือจะให้ตนเองไม่ทราบ แต่ทนายตั้มขอมา และยอมรับว่า ไม่มีหลักฐานในการขอเงินที่ฝรั่งเศสว่า เป็นการให้เป็นการยืม หรือชักชวนร่วมลงทุน หรือหลอกลงทุน หรือให้เลย จึงยังถกเถียงและทะเลาะกันอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ หากมองในมุมตนเอง ถ้าเจ๊อ้อยจะลงทุนด้วยแล้วให้เงินมา ผ่านไป 1 เดือน ควรจะต้องถามแล้วว่า เขียนโปรแกรมไปถึงไหนแล้ว แล้วจะเอาโควต้าสลากจากไหน แผนการตลาดเป็นยังไง แต่ผ่านมา 1 ปี ก็ไม่มีใครถามอะไรกัน ดังนั้นสิทธิขาดอยู่ที่ทนายตั้มว่า จะทำได้หรือไม่ได้

ซึ่งเมื่อพยานหลักฐานประกอบว่า ทนายตั้มทำคนเดียว แล้วจะเป็นการฉ้อโกงได้อย่างไร แต่จะเป็นการขอยืมแล้วต้องคืนหรือไม่ ไม่มีผลตอบแทนหรือให้ขาด 100% ต้องวิเคราะห์กัน ดังนั้นจึงจะต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงอย่างแน่นอน เพราะแนวทางพยานหลักฐานมาในแนวทางที่กล่าวไว้

ส่วนหลักฐานที่สงสัยกันว่าทำไมต้องมีนิติกรรมสัญญานั้น คงต้องให้พนักงานสอบสวน เรียกผู้เชี่ยวชาญในการโอนเงินระหว่างประเทศ มาให้รายละเอียดข้อเท็จจริง ว่าการโอนเงินจากฝรั่งเศสมาประเทศ ไทยมีขั้นตอนอย่างไร และการเอาเงินออกจากฝรั่งเศสทำได้อย่างไร มีค่าธรรมเนียมอย่างไร เพราะเงินได้มาจากการถูกล็อตโต้ของฝรั่งเศส ดังนั้นตนเองจึงต้องเอาผู้มีความรู้ในเรื่องนี้ไปให้การตามข้อเท็จจริง ส่วนในเรื่องของการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ ก็คงต้องดูที่เจตนาด้วย

“หลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ทนายตั้มรับเงินมาจากเจ๊อ้อย แต่ถ้าหากจะเป็นการหลอกลงทุนควรจะต้องมีรายละเอียดมากกว่านี้”

ทนายสายหยุด ยังตอบคำถามในวันที่ทนายตั้ม ถูกจับกุมด้วยว่า วันที่ทนายตั้มไปทำบุญ แจ้งว่า จะไปวัดหนองรี อ.พนมสารคาม ย้ำว่าไม่ได้ไปชายแดน และตอนที่ถูกจับ อีก 5นาที จะถึงวัดแล้ว และทนายตั้มโทรศัพท์พูดคุยกับตนเองตั้งแต่ก่อนออกจากบ้าน ว่าจะไปทำบุญ ก่อนหน้านั้นก็คุยกันทุกคืน โดยทนายตั้ม บอกว่า ให้ตนไปอยู่เป็นเพื่อน “พี่มาอยู่เป็นเพื่อนผมหน่อย ผมน่าจะโดนจับเร็วๆนี้ มีตำรวจมาเฝ้าผม ผมไปถมเขา เขาก็ไม่รับว่าเป็นตำรวจ แต่หัวเกรียนหมดเลยพี่ ผมไปเซเว่นก็ขับรถตามผม”

ส่วนเหตุผลที่ ตนเองมาเป็นทนายความให้กับทนายตั้มนั้น เพราะรู้จักกันมานานแล้ว เคยทำคดีร่วมกันในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งทนายตั้มเป็นทนายฝ่ายผู้เสียหาย ตนเองเป็นทนายฝ่ายจำเลย เลยทำให้รู้จักกันตั้งแต่ปี 62 หลังจากนั้นทนายตั้มจะเปิดสำนักงาน ทนายตั้มก็เชิญชวนให้ตัวเองมาเป็นซีเนีย คอยช่วยดูเด็กๆ แต่ตนเองไม่ชินชีวิตในกรุงเทพ ทนายตั้มเลยให้มาสัปดาห์ละกี่วันก็ได้ แล้วให้เงินเดือน ตนเองเลยมาช่วยงานมาเป็นปี

มองว่า ทนายความใช้กฎหมายฉบับเดียวกันทั่วประเทศ จะเมืองหลวงหรือภูธรก็เหมือนกันหมด และทนายตั้มก็ติดต่อตนตั้งแต่แรกพอรู้ว่าจะโดนคดี และเคยทำงานกับทนายตั้มมา 2-3 ปี ก่อนแล้ว ยืนยันว่า ไม่กลัวทัวร์ลง เพราะทัวร์ก็จะต้องเข้าใจว่า ทุกคนที่มีคดี ต้องมีทนายความ ผู้ต้องหามีสิทธิ์มีทนายความ เพราะมีโทษจำคุก อารมณ์คนก็เรื่องของเขา ตนเองไม่ได้สนใจ เพราะตนเองทำตามหน้าที่ จะถูกจะผิดก็เป็นอีกเรื่อง

ส่วนวันที่ทนายตั้มถูกจับ มีการติดต่อนายตำรวจหรือใครให้ช่วยเหลือหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบในเรื่องส่วนตัว เพราะวันที่ถูกจับทนายตั้มบอกว่า “พี่ผมถูกจับแล้วครับ พี่มารอผมที่กองปราบนะ พี่มาเลยนะ คำให้การทำไว้หรือยัง” แล้วตนก็ทำคำให้การของเรื่อง 71 ล้านไว้แล้ว

ทั้งนี้ ยืนยัน ว่า “ไม่ได้เตี๊ยมคำให้การ” เตี๊ยมคือการซักซ้อมให้คนโกหก ส่วนของตนเองเป็นการเตรียมคำให้การ ไล่เรียงไทม์ไลน์ไว้ 7 หน้ากระดาษ เพื่อให้พนักงานสอบสวนถาม ถ้าคำถามที่ถามแต่ละเรื่องตอบไว้แล้ว ก็มีพิมพ์ตอบเป็นเวิร์ดให้ เป็นการเตรียม ไม่ได้เตรี๊ยม ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า คำให้การทนาย กับของทนายตั้มไม่เหมือนกัน ขอชี้แจงว่า ตนเองเป็นทนายความไม่ต้องให้การ เรื่องให้การเป็นของทนายตั้ม ที่ให้การต่อตำรวจ

ส่วนที่มีข้อมูลว่า พยานบางคนให้การว่าทำสคิปให้พูดเพื่อปิดบังข้อเท็จจริงนั้น ยืนยันได้ว่า ไม่มีการเขียนสคิป ให้กับพยานแน่นอน ข้อเท็จจริงมันปิดบังกันไม่ได้ ส่วนการซักซ้อมพยาน คงมีการซักถามกันก่อนขึ้นศาลแน่นอน เพราะจะถามวัวตอบควายไม่ได้ ไม่ใช่ให้พยานพูดไปเรื่อยไป ทนายจะโดนด่าได้ “ซักซ้อม ตะเตรียม เตี๊ยม มันไม่เหมือนกัน ตามหลักการเป็นแบบนี้”

ส่วนเรื่องยึดโทรศัพท์ ที่มีกระแสข่าวว่าทนายตั้มขัดขืนไม่ยินยอมให้ยึดโทรศัพท์นั้น ทนายสายหยุด ชี้แจงว่า ในวันที่สอบปากคำ หลังชุดสืบสวนยึดโทรศัพท์ไป ระหว่างสอบปากคำ ชุดสืบสวนเอาหนังสือยินยอมให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์มาให้เซ็น แต่ตนไม่ให้ เพราะยืนยันแล้วว่า ให้ยึดไปตามกฎหมาย แล้วทำไมต้องให้ยินยอม เพราะถ้าให้ยินยอมแสดงว่าไม่มีอำนาจ

ประกอบกับข้อมูลในโทรศัพท์มีข้อมูลอื่นๆ มากกว่าในเรื่องคดี และถ้าดูดข้อมูลไปแล้วหลุดใครจะรับผิดชอบ แต่เชื่อว่าเขาคงดูดข้อมูลไปแล้ว แต่คงไม่สามารถที่จะนำเสนอต่อศาลได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ได้มาโดยมิชอบ เป็นข้อมูลโดยละเมิด และโทรศัพท์ไม่ได้มีไว้แล้วเป็นความผิด ไม่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือเอาไปใช้เพื่อกระทำความผิด ก็ยึดไม่ได้

ส่วนเรื่องเงิน 39 ล้านบาทนั้น ถ้ายังไม่เป็นคดีความตนเองยังไม่ขอพูด และนายนุก็ยังไม่ได้มาให้การ ทั้งนี้ถ้ายังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาตนเองก็ยังไม่ได้ดูในรายละเอียดเช่นกัน ยืนยันว่า ทนายตั้มเป็นแค่การแนะนำให้รู้จักกันกับนายนุ ตนเองไม่ได้รู้ในรายละเอียด

ทนายสายหยุด ยังชี้แจงด้วยว่า ประเด็นที่ทนายตั้มโอนบ้านและรถเป็นของภรรยานั้น ไม่ได้เป็นการฟอกเงิน แต่เนื่องจากว่ามีการตกลง

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน