ไม่หวั่นไหวเมื่อมีเมฆฝนครึ้มปิดบัง มองไปอนาคตข้างหน้าที่สว่างไสว

  • นายหยาง ซิน
  • อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย
  • เขียนในโอกาสครบรอบ 5 ปีความร่วมมือล้านช้างแม่โขง

ปีนี้เป็นการครบรอบ 5 ปีกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขง เมื่อเดือนมีนาคม พ.. 2559 ผู้นำประเทศจีน ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำของกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงครั้งแรกที่เมือง ซานย่า ซึ่งก็เป็นการริเริ่มกระบวนการกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงอย่างเป็นทางการ

ดื่มน้ำในแม่น้ำสายเดียวกัน โชคชะตาเชื่อมโยงต่อกันอย่างใกล้ชิดแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงเป็นสายใยเชื่อมระหว่างประเทศในลุ่มน้ำที่คอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาตั้งแต่โบราณกาล กรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงเริ่มต้นจากแผ่นดินอุดมสมบูรณ์นี้ ยึดมั่นในแนวคิดเน้นการพัฒนา ปรึกษาหารืออย่างเท่าเทียมกัน เน้นรูปธรรมและประสิทธิภาพ และเปิดกว้างเปิดรับ 6 ประเทศสมาชิกได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ผลักดันความร่วมมือในมิติต่างๆพัฒนาไปในเชิงลึกอย่างมั่นคง

5 ปีที่ผ่านมา รูปแบบสำหรับกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงในลักษณะผู้นำชี้นำ ครอบคลุมทุกมิติ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมนั้น เป็นที่ยอมรับและเห็นชอบของทุกๆฝ่าย

เราได้กำหนดโครงสร้างความร่วมมือในหลายระดับและหลายมิติ รวมทั้งการประชุมผู้นำการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและการประชุมคณะทำงาน จนถึงเดือนตุลาคม พ.. 2563 เราได้จัดการประชุมระดับผู้นำ 3 ครั้ง ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ 5 ครั้ง ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 7 ครั้งและระดับคณะทำงานด้านการต่างประเทศ 10 ครั้ง

แฟ้มภาพซินหัว : ชาวนาไทยทำงานในนาข้าวที่จังหวัดนครสวรรค์ทางตอนเหนือของไทย วันที่ 10 มี.ค. 2015

กระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 6 ประเทศได้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการหรือหน่วยงานประสานงานกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขง มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมในสาขาสำคัญต่างๆ ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำ ศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์อาชีวศึกษาและฝึกอบรม Global Center for Mekong Studies ศูนย์ความร่วมมือด้านการเกษตรและศูนย์แลกเปลี่ยนและความร่วมมือของเยาวชนได้จัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นลำดับและดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อเผชิญกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้นำของทั้ง 6 ประเทศได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงครั้งที่ 3 ในรูปแบบvideo conference เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ได้เพิ่มพูนพลังใหม่สำหรับการต่อสู้กับโควิด-19 และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ตามที่ได้กล่าวไว้ในการประชุม จีนได้นำเสนอข้อมูลอุทกวิทยาตลอดทั้งปีของแม่น้ำล้านช้างให้กับประเทศลุ่มน้ำโขงอย่างเป็นทางการ และก็ได้เปิดเว็บไซต์ Lancang-Mekong Water Resources Cooperation Information Sharing Platform เพื่อแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดีและความจริงใจของจีนในฐานะที่เป็นประเทศต้นน้ำที่มีความรับผิดชอบ และก็ได้แสดงให้เห็นว่า 6 ประเทศล้านช้างแม่โขงสามารถดำเนินความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้างแม่โขงอย่างดี

5 ปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงเป็นที่ประจักษ์ ในลักษณะก้าวหน้าทุก ๆ วัน สำเร็จผลทุก ๆ เดือน และก้าวขึ้นบันไดทุก ๆ ปี

เรายึดมั่นในเจตนารมณ์เอื้ออำนวยประโยชน์แก่กัน ใช้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้กันทางภูมิศาสตร์และมีความเกื้อหนุนกันทางเศรษฐกิจ ยึดมั่นในหลักการให้สามเสาหลัก อันได้แก่การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสังคมวัฒนธรรม พัฒนาไปอย่างควบคู่กัน และให้ความสำคัญในความร่วมมือทางด้านความเชื่อมโยงกัน กำลังการผลิต เศรษฐกิจข้ามแดน ทรัพยากรน้ำ การเกษตรและลดความยากจน ร่วมกันสร้างประชาคมที่อนาคตร่วมกันสำหรับประเทศล้านช้างแม่โขง

แฟ้มภาพซินหัว : ภาพสถานที่ก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน 1 ในแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว

เราให้ความสำคัญในการพัฒนาความเชื่อมโยงต่อกัน ทุ่มเทกำลังในการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันในอนุภูมิภาค ที่รวบรวมโครงสร้างพื้นฐาน กฎกติกาและการแลกเปลี่ยนทางด้านบุคลากรในหนึ่งเดียว สนับสนุนการก่อสร้างทางรถไฟจีนลาวและจีนไทย ดำเนินการก่อสร้างในการยกระดับของรถไฟ Pan-Asian ปรับสภาพแม่น้ำและยกระดับของท่าเรือต่าง ๆ

เป็นที่น่ายินดีว่าทั้ง 6 ประเทศสนับสนุนให้การพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตกของจีน หรือที่เรียกว่า “New International Land-Sea Trade Corridor” มาเชื่อมต่อกับกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขง เพื่อใช้ประโยชน์ของเส้นทางสำคัญเส้นนี้ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันตกของจีนและเชื่อมต่ออาเซียนและทวีปยูเรเชีย นำสินค้าเกษตรและสินค้าคุณภาพอื่นๆจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงส่งไปประเทศจีน และเข้าไปในเอเชียกลางและยุโรปต่อไป ซึ่งจะเป็นการแบ่งปันตลาดอันกว้างใหญ่ และร่วมใช้ประโยชน์การค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวกและต้นทุนต่ำ กระตุ้นการเติบโตทางการค้าข้ามแดน ส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาในภูมิภาค และอัดฉีดพลังใหม่ให้กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศล้านช้างแม่โขงหลังโควิด-19

5 ปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมล้านช้างแม่โขงที่อยู่กันอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือกันอย่างจริงใจและใกล้ชิดเหมือนครอบครัวนั้น ได้ฝังลึกเข้าสู่หัวใจของประชาชนหกประเทศ

แฟ้มภาพซินหัว : ภาพสถานที่ก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน 1 ในแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว

โครงการ Mekong Brightness Action ได้เข้าไปช่วยผ่าตัดต้อกระจกฟรีให้ประชาชนในประเทศกัมพูชา ลาวและเมียนมาร์ ทำให้ประมาณ 800 คนกลับมามองเห็นแสงสว่างได้อีกครั้ง Lancang-Mekong Brightness Action ซึ่งโครงการเป็นระยะที่ 2 ได้เริ่มดำเนินการ ซึ่งจะอุดหนุนนักเรียนประถมและมัธยมประมาณ 10,000 คนจากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนามเข้ารับการตรวจสุขภาพตาและตัดแว่นตาตามความต้องการ

จีนได้จัดทุนการศึกษานานาชาติสำหรับ 5 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและอบรมทางด้านภาษาใน 6 ประเทศ และมอบทุนการศึกษาของรัฐบาล 18,000 ทุนภายใน 3 ปี

โครงการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมวัฒนธรรมต่างๆ อาทิเช่น สัปดาห์ภาพยนตร์นานาชาติล้านช้างแม่โขง ค่ายฝึกอบรมนวัตกรรมเยาวชนล้านช้างแม่โขง Lancang-Mekong Tourist Cities Cooperation Alliance สตรีโฟรัมล้านช้างแม่โขง และการประชุมหารือระหว่างผู้นำพุทธศาสนา 6 ประเทศล้านช้างแม่โขง คึกคักมากขึ้นทุกวัน เราได้ทุ่มเทพัฒนาความร่วมมือด้านวัฒนธรรม เยาวชน สตรี การท่องเที่ยว และศาสนา และได้ประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยาแม่โขง(ACMECS) และกลไกความร่วมมือในภูมิภาคหรืออนุภุมิภาคได้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และได้ประสานแสดงบทบาทด้วยกันกับสายแถบและเส้นทาง ความร่วมมือใต้ใต้ และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติปี 2030 ทำให้กรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงได้เป็นหนึ่งในกลไกที่มีความชีวิตชีวาและศักยภาพมากที่สุดในภูมิภาค ความจริงได้พิสูจน์แล้วว่า กรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงมีรากฐานมาจากมิตรภาพดั้งเดิม ยึดมี่นในผลประโยชน์ร่วมกัน สอดคล้องกับกระแสของยุคสมัย และเป็นไปตามความปรารถนาของประชาชน ย่อมจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาคมเอเชียที่มีอนาคตร่วมกัน

ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีมีเสถียรภาพเป็นรูปธรรมและเต็มไปด้วยพลังขับเคลื่อนจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยติดต่อกันหลายปีในปีพ.. 2563 มูลค่าการค้าระหว่างจีนไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างทวนกระแส อยู่ที่ 98,630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี เมื่อเผชิญกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโควิด–19 ทั้งสองประเทศได้ช่วยเหลือกันและกัน ก้าวผ่านความยากลำบากด้วยกัน เสมือนลงเรือลำเดียวกัน เมื่อวัคซีนโควิด–19 ของจีนได้ผลิตสำเร็จและนำไปใช้งาน จีนได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาและส่งไปให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วัคซีนจีนล็อตแรก 200,000 โดสส่งถึงประเทศไทย ล็อตที่สอง 800,000 โดสส่งมาถึงไทยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพอันจริงใจระหว่างจีนกับไทยในยากที่เกิดความยากลำบาก

(ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย : หยางซิน อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย)

กรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงพัฒนามาจากข้อริเริ่มของประเทศไทย และประเทศไทยก็ได้รับผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากกรอบความร่วมมือนี้ ยกตัวอย่าง สำหรับกองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขง ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 28 โครงการได้รับการอนุมัติ งบประมาณทั้งหมดมากกว่า 255 ล้านบาท เนื้อหาของโครงการได้ครอบคลุมทรัพยากรน้ำ เศรษฐกิจและการค้าข้ามแดน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในชนบท เกษตรกรรม อาชีวศึกษา สุขภาพอนามัยและการรักษาสิ่งแวดล้อม

โครงการหนึ่งในนั้นได้จัดเขตสาธิตลดความยากจนในพื้นที่ป่าไม้ใน 8 ชุมชนของจังหวัดบึงกาฬ ให้ทุนสนับสนุนในการปลูกต้นไม้ 20,000 ต้น เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นขจัดความยากจนโดยเพิ่มพื้นที่ป่า พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเศรษฐกิจป่าไม้ เราได้จัดหลักสูตรอบรมด้านเทคนิคอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง 4 ครั้ง เพื่อช่วยอัพเกรดการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย เพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ปัจจุบันมีผู้ได้ประโยชน์มากกว่า 120 คนจากการอบรม

จังหวัดบึงกาฬ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด–19ในทั่วโลกทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรง แนวคิดทวนโลกาภิวัตน์และการกีดกันทางการค้ากำลังเพิ่มขึ้น การหมุนเวียนของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานถูกปิดกั้น การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศกำลังหดตัว

ความสามัคคีคือพลังเมื่อเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ประเทศจีนยินดีที่จะร่วมกับประเทศล้านช้างแม่โขง ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ยึดถือผลประโยชน์ของประชาชน 6 ประเทศเป็นหลัก

อาศัยการประสานงานอย่างเปิดอก ความตั้งใจอันแน่วแน่ ฝีก้าวที่สอดคล้อง และมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน สร้างระเบียงเศรษฐกิจในลุ่มน้ำล้านช้างแม่โขง สร้างประชาคมประเทศล้านช้างแม่โขงที่มีอนาคตร่วมกัน และส่งเสริมให้กรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงก้าวหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง

แม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงเป็นพยานสำหรับความรุ่งโรจน์และลมฝนต่างๆของประเทศสองฟากฝั่ง และกำลังก้าวไปสู่ความฝันร่วมกันของประชาชนสองฟากฝั่ง กรอบความร่วมมือล้านช้างแม่โขงย่อมมีอนาคตที่สดใส สู้ๆ

/////

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพสถานที่ก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำน้ำเทิน 1 ในแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน