หมอธี เผยความยากโควิด ไม่รู้ใครติด ดูปกติก็แพร่เชื้อได้ มิอาจเผลอหลุดคำพูดไม่สมควร ระบายปัญหาตรวจPCRซ้ำ

ไม่เคยออกจากบ้านใครจะไปคิดว่าจะติดเชื้อโควิดศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเผยถึงสถานการณ์โควิด-19ล่าสุดว่า

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account
เพิ่มเพื่อน

ความยากของโรคนี้คือไม่รู้ว่าใครติดเชื้อ ทั้งที่เดินไปมา ดูปกติ ก็แพร่เชื้อได้ และแม้คนป่วยสูงอายุ ไม่เคยออกไปไหน มีไข้เข้าโรงพยาบาล ใครจะไปคิดว่าเป็น ที่ไหนได้ ติดเชื้อมาจากลูกหลาน เอาเชื้อมาจากนอกบ้าน
นี่คือความแตกต่างของไวรัสตัวนี้จากอื่นๆที่ผ่านมา

หมอธี-โควิด

หมอธีระวัฒน์ เตือนความยากโควิด ต่างจากไวรัสตัวอื่น

ก่อนที่คุณหมอ จะโพสต์ถึงการทำPCRว่า
คนทำเท่านั้นที่จะรู้
ทุกคนรู้ว่า PCR เป็นการตรวจยืนยันที่ใช้
แต่ทุกคนรู้หรือไม่ การคัดกรอง ต้องนั่งอยู่ในพื้นที่เฉพาะ และต้องถูกแยงไม้เข้าไปเก็บน้ำจมูกและคอ
รู้หรือไม่ การตรวจพีซีอาร์ ต้องมีการทำลายเชื้อก่อน จากนั้นสกัด RNA จากนั้นเข้าเครื่อง และวิเคราะห์ผล

รู้หรือไม่ว่า ถึงแม้จะมีเครื่อง ตรวจรวดเร็ว แล้วเรามีกี่เครื่อง วัสดุ น้ำยาส่งพอหรือไม่ พูดกันว่ามีพอ ตรวจได้
“หามาให้ได้มั้ย?”

รู้หรือไม่ว่าด้วยเหตุผลดังกล่าวว่าจะทราบผลในบางครั้งเป็นเวลามากกว่าหนึ่งวันจนถึงสามวันก็มี ห้องปฏิบัติการบางแห่งตรวจ 500-700 รายต่อวัน
รู้หรือไม่ว่าถ้าตัวอย่างส่งตรวจไม่ดี และกระบวนการตรวจยังมีความหลากหลายและความแม่นยำแตกต่างกันทำให้ผลที่ได้อาจไม่ตรง

ข้อสำคัญการตรวจแอนติบอดีจากการเจาะปลายนิ้ว IgM จะปรากฏให้เห็นภายในสี่ถึงหกวันหลังติดเชื้อและ IgG ประมาณ 14 วัน

ข้อสำคัญ เรารู้ว่าถ้าติดเชื้อภายในสี่วันแรกอาจตรวจไม่เจอเหมือนกับตรวจว่าท้องหรือไม่ ถ้ายังอยู่ในข่ายต้องสงสัยก็ต้องตรวจต่อในอีกสามวันต่อมา

ข้อสำคัญเรารู้ว่าถ้าได้ผลบวกแต่เกิดเป็นผลบวกที่ไม่จริงซึ่งเกิดขึ้นน้อยมากก็ทำการตรวจพิสูจน์อย่างอื่นต่อด้วยวิธีพีซีอาร์ เราต้องกักตัว แยกตัวก่อนจนกว่าพิสูจน์ได้

ข้อสำคัญเรารู้ว่า การคัดกรองขณะนี้เด็กๆหน้างาน ทำงานกันหนักมากด้วยวิธีพีซีอาร์ แถมยังตรวจไม่พอ
ข้อสำคัญเรารู้ว่า สิ่งที่มีอยู่ขณะนี้ยังไม่ตอบโจทย์ ต้องการกระบวนการอุปกรณ์วิธีอื่นเพื่อให้ ทำงานด้วยความสะดวก และสู้กับการแพร่เชื้อ

คนที่พูด. รบกวนลงมาทำ ซักประวัติ แยงจมูกคนไข้ อธิบายทำไมต้อง รอนานขนาดนี้ และถ้า PCR ผลกำกวมต้องทำใหม่
มิอาจเผลอหลุดคำพูดไม่สมควร
ส่งตรวจ PCRวันๆ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสผู้ติดเชื้อ เมื่อกักตนเองครบ 14 วันแล้วแต่ไม่แสดงอาการ ไม่ได้แปลว่าจะไม่แพร่เชื้อ จึงจะต้องมีการตรวจหาเชื้อซ้ำอีกด้วยวิธีการตรวจ PCR (Polymerase chain reaction) หรือ ปฏิกิริยาที่ใช้ในการเพิ่มปริมาณของ DNA ชนิดใดชนิดหนึ่งได้ในหลอดทดลอง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อในร่างกายแล้วและไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ถ้ายังมีเชื้อไวรัสอยู่ก็จะต้องกักกันตนเองต่อไปอีก 14 วันและทำการตรวจซ้ำอีกว่าเชื้อหายไปแล้วหรือยัง

“ผู้ที่ติดเชื้อได้รับเชื้อมาโดยปกติแล้วจะแสดงอาการภายใน 14 วัน และจะมีประมาณ 12.6% ที่แพร่เชื้อได้ก่อนที่จะมีอาการ แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการแสดงอาการแต่กลับไม่มีอาการ ป่วยเลย โดยข้อมูลจากประเทศจีนและเกาหลีใต้พบว่าเป็นไปได้ว่าผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อได้ อาจจะมีจำนวน สูงถึง 30% ดังนั้นการกักกันตัวไว้ 14 วันแล้วก็จะต้องมีการตรวจซ้ำอีก จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเชื้ออีก ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยการตรวจแอนติบอดี้(Antibody) จะไม่สามารถระบุได้ว่าผู้นั้นมีเชื้อแล้วแพร่ได้หรือไม่ ซึ่งการตรวจหลักๆ จะใช้การตรวจ PCR เพื่อตรวจว่าในร่างกายผู้ป่วยนั้นมีเชื้อที่จะสามารถแพร่ไปยังผู้อื่นได้หรือไม่ การตรวจทั้ง 2 อย่างจึงมีข้อแตกต่างกัน

“หากตรวจหา IgM จะพบว่ามีการติดเชื้อในระยะ 5 วันที่ผ่านมา ส่วน IgG จะพบว่าอาจจะมีการติดเชื้อในระยะ 12 ถึง 14 วันที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าขณะนั้นปล่อยเชื้อได้หรือไม่ แต่การตรวจลักษณะนี้จะทำให้พอทราบว่าอยู่ในระยะไหน เช่น ตรวจ IgM แล้วพบ การติดเชื้อ แสดงว่าเพิ่งติดเชื้อมาใหม่ๆ ประมาณ 5 วัน ซึ่งหลังติดเชื้อโดยทั่วไปคนไข้จะแสดงอาการประมาณวันที่ 5-14 วัน ดังนั้นเมื่อการตรวจพบ IgM ทำให้หมายความได้ว่าอยู่ในระยะของการแพร่เชื้อได้ แต่เมื่อตรวจพบ IgG จะสามารถตรวจได้หลังจาก 14 วันเมื่อได้รับการติดเชื้อไปแล้ว ซึ่งถ้าพบในผู้ที่อาการไม่หนัก ก็อาจจะไม่มีอาการรุนแรงในระยะต่อไป แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะแพร่เชื้อต่อได้หรือไม่ ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

นอกจากนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า การตรวจทั้ง 2 วิธี จะมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน เนื่องจากการตรวจหาแอนติบอดี้เพื่อหา IgM เบื้องต้นในผู้ป่วยรายนั้นว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ จะเป็นการป้องกันแพทย์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ในระดับเบื้องต้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเชื่อถือได้ 100% แต่หากตรวจไม่พบ IgM ก็จะต้องนำมาเทียบเคียงกับประวัติความเสี่ยงของผู้ป่วย ว่ามีคงามเสี่ยงรับเชื้อมากน้อยแค่ไหน

cr.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha , มติชนออนไลน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน