กพท. ออกกฎบังคับ สายการบิน ประเมินความเสี่ยงเที่ยวบิน โควิด พร้อมออกแนวทางปฏิบัติลูกเรือและสนามบิน หวังควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

วันที่ 6 เม.ย. นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า วันนี้ได้ลงนามออกประกาศเรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 สำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศ (สายการบิน) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยานและผู้ดำเนินการสนามบิน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.นี้เป็นต้นไป

ตามที่ปัจจุบันปรากฏว่า การแพร่กระจายของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ครอบคลุมเขตพื้นที่ในประเทศต่าง ๆ มากขึ้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติการของผู้ดำเนินการสายการบิน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยาน (ลูกเรือ) และผู้ดำเนินการสนามบิน (สนามบิน) รวมทั้งได้มีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548 เพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น

เพื่อให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยานและผู้ดำเนินงานสนามบิน มีแนวทางในการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และเพื่อยกระดับการดำเนินมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินข้างต้นให้ยุติลงโดยเร็ว

สำหรับมาตรการนี้จะบังคับใช้กับดังนั้นสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงออกประกาศมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยานและผู้ดำเนินการสนามบิน ซึ่งมาตรการตามประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่การทำการบินทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศและภายในประเทศดังต่อไปนี้ ผู้โดยสารหรือบุคคลจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศ เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ เท่านั้น

(1) เป็นกรณีหรือบุคคลที่ได้รับยกเว้นจากนายกรัฐมนตรี หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศตามความจาเป็น โดยอาจกาหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้ (2) เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจาเป็น ซึ่งเมื่อเสร็จภารกิจแล้วต้องกลับออกไปโดยเร็ว (3) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศยาน ได้แก่ นักบินและลูกเรือ ซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกาหนดเวลาเดินทางออกอย่างชัดเจน

(4) เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือเป็นบุคคลหรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุญาต ตลอดจนบุคคลในครอบครัวของบุคคลดังกล่าว โดยติดต่อกระทรวงการต่างประเทศเพื่อออกหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้

(5) เป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทางาน หรือได้รับอนุญาตจากทางราชการไทยให้ทำงานในราชอาณาจักร เป็นผู้มีสัญชาติไทยที่มีหนังสือรับรองจากสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พานัก ให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรบุคคลตาม (4) (5)

และ (6) จะต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ ซึ่งได้รับการตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง สำหรับผู้โดยสารหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไทยต้องปฏิบัติตามมาตรการการกักตัวหรือมาตรการป้องกันโรคอย่างอื่นที่ทางราชการกำหนด ขณะที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจปฏิเสธไม่ให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ตรวจพบและต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ยินยอมให้ตรวจ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้ดำเนินการสายการบิน ประเมินระดับความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ของแต่ละเที่ยวบินตามเกณฑ์ 3 ปัจจัยเสี่ยงดังนี้ 1.จำนวนผู้ติดเชื้อ ณ ประเทศต้นทาง 2.จำนวนผู้โดยสารในเที่ยวบินนั้น (% ของจำนวนที่นั่ง) และ 3.ระยะเวลาของเที่ยวบิน (ชั่วโมง) โดยให้สายการบินทำการประเมินความเสี่ยงของเที่ยวบิน โดยนำคะแนนเมื่อรวมคะแนนทั้ง 3 ปัจจัยแล้ว นำมาจัดระดับความเสี่ยง ดังนี้

เที่ยวบินความเสี่ยงต่ำ คะแนน 3-4 คะแนน เที่ยวบินความเสี่ยงปานกลาง คะแนน 5-7 คะแนน เที่ยวบินความเสี่ยงสูง คะแนน 8-11 คะแนน ทั้งนี้ สำหรับเที่ยวบินซึ่งปฏิบัติการบินโดยใช้อากาศยานที่ไม่มีระบบกรองอากาศแบบ High-Efficiency Particulate Air (HEPA) filtering system ให้จัดเป็นเที่ยวบินความเสี่ยงสูง (High risk) ระดับความเสี่ยงของเที่ยวบินใด ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น กรณีเหตุฉุกเฉินหรือกรณีเที่ยวบินพิเศษ

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว ยังมีการกำหนดให้สายการบินที่ให้บริการจากสถานีต้นทางในต่างประเทศซึ่งจะทำการบินเข้ามาในราชอาณาจักรทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ของผู้โดยสาร ตามแนวทางดังต่อไปนี้

(1) เที่ยวบินความเสี่ยงต่ำ ให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัดก่อนขึ้นเครื่อง และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ามูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันที หากการวินิจฉัยเห็นว่ามีความเสี่ยง ให้งดการออกบัตรขึ้นเครื่องแก่ผู้โดยสารนั้น

(2) เที่ยวบินความเสี่ยงปานกลางและเที่ยวบินความเสี่ยงสูง ให้ตรวจวัดและสังเกตอาการทั้งก่อนขึ้นเครื่องและระหว่างเที่ยวบิน โดยก่อนขึ้นเครื่องให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ามูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันที หากการวินิจฉัยเห็นว่ามีความเสี่ยง ให้งดการออกบัตรขึ้นเครื่องแก่ผู้โดยสารนั้น

ส่วนกรณีระหว่างเที่ยวบิน (In-flight) หรือระหว่างอยู่บนเที่ยวบิน สำหรับเที่ยวบินความเสี่ยงสูงและเป็นเที่ยวบินระยะทางไกลใช้เวลาในการบินเกินกว่า 4 ชั่วโมง ให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ามูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้ปฏิบัติตาม และมีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อโควิดให้ดำเนินการดังนี้

1.จัดที่นั่ง 3 แถวหลังสุดของห้องโดยสารไว้เป็นพื้นที่กักกันโรค และหากเป็นไปได้ ให้จัดให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยนั่งที่ที่นั่งริมหน้าต่างด้านขวา ให้ห่างไกลจากผู้โดยสารคนอื่นมากที่สุด 2.ให้กันห้องน้าห้องหลังสุดด้านขวาไว้ใช้สาหรับกรณีการกักกันโรคโดยเฉพาะ 3.ให้มอบหมายหน้าที่ให้ลูกเรือคนหนึ่งทาหน้าที่ในพื้นที่กักกันโรค (Quarantine Areas) โดยเฉพาะ และหากไม่จาเป็นให้ลูกเรือที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับลูกเรือคนอื่นในระยะ ใกล้กว่า 2 เมตร

สำหรับนักบินผู้ควบคุมอากาศยานนั้นให้มีการแจ้งข้อมูลการตรวจพบผู้โดยสารหรือลูกเรือที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศที่สถานีปลายทางทราบ เพื่อรายงานให้แก่ให้ผู้ดาเนินการสนามบิน ณ ท่าอากาศยานปลายทาง พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มดังต่อไปนี้ ส่งให้เจ้าหน้าที่ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ณ ท่าอากาศยานทุกแห่ง

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นปฏิบัติการบินขนส่งผู้โดยสาร ให้สายการบินทำการฆ่าเชื้อโรคอากาศยาน ตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศกำหนด ทั้งในส่วนห้องโดยสาร และระวางบรรทุกสินค้า สำหรับสนามบินจะต้องทำการฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่ผู้โดยสารป่วยหรือผู้โดยสารที่ต้องสงสัยว่าจะป่วย ผ่านหรือใช้ประโยชน์ หรือที่ใช้เป็นที่กักกันผู้โดยสารนั้น รวมทั้งห้องน้ำทันทีหลังการใช้งาน ตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

_______________________________________________________________

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน