คณบดีคณะแพทยศาสตร์ วิเคราะห์สถานการณ์โควิด หลังไทยคุมอัตราผู้ป่วยใหม่ได้คงที่ อัตราต่ำต่อเนื่อง 14 วัน ชี้ มาตรการผ่อนคลายยังต้องเข้มในบางเรื่อง

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล วิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 ว่า ปัจจุบันไทยมีแนวโน้มอยู่ในกลุ่มประเทศที่สามารถควบคุมโรคได้ดี อัตราผู้เสียชีวิตต่ำ อัตราผู้ป่วยหายดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการติดเชื้อใน กทม.ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อตัวเลขลดลง เราต้องเข้าสู่การคิดมาตรการผ่อนคลาย วันนี้เราสามารถทำได้ดีในเรื่องรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก ล้างมือ อยู่บ้าน เป็นเพราะทุกคนช่วยกัน รับผิดชอบ มีจิตสำนึก มีวินัย ซึ่งเราจะต้องทำต่อในมาตรการผ่อนคลาย

ศิริราช ชื่นชมคนไทย ช่วยกัน ลดจำนวนผู้ป่วยลง

ศิริราช ชื่นชมคนไทย ช่วยกัน ลดจำนวนผู้ป่วยลง

ที่ผ่านมามีการใช้มาตรการทุบด้วยฆ้อน แล้วฟ้อนรำ The Hummer and The dance ซึ่งมีการใช้กันทุกประเทศทั่วโลกคือ การควบคุมหรือทุบให้จำนวนผู้ป่วยลดลงภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยอัตราการชี้วัดสมควรผ่อนมาตรการ คือ

1.อัตราการป่วยของโควิด-19 ลดลงตั้งแต่วันที่ 9 เมษายนต่อเนื่อง อัตราการการแพร่เชื้อเฉลี่ยต่อคนเปลี่ยนจากเดิม 1 คนแพร่เชื้อ 2.2 คน เป็น 1 คนแพร่เชื้อ 0.77 คน และคาดว่าขณะนี้อัตราการแพร่เชื้ออยู่ประมาณ 0.6 คน

2.กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย และกักตัวในสถนที่รัฐจัดหาให้นั้น พบว่าทำได้ดี ควบคุมโรคได้

3.จำนวนผู้ป่วยลดลงต่อเนื่อง

มาตรการเข้มงวด จะทำให้ผู้ป่วยลดลง

มาตรการเข้มงวด จะทำให้ผู้ป่วยลดลง

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า โดยการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ต้องเข้าใจว่า หากเมื่อรัฐบาลผ่อนปรนแล้วคนจะออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น และเชื่อว่าอัตราการป่วยก็จะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ทุกคนต้องทำความเข้าใจ ว่าเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือเพื่อให้ผู้ป่วยไม่กลับมาเพิ่มสูงจนเกินศักยภาพของโรงพยาบาลจะรับได้

โดยสิ่งที่ต้องคงไว้อย่างเข้มข้นคือ การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร และดัชนีชี้วัดว่าหากต้องกลับมาคุมมาตรการเข้มอีกครั้งเมื่อจำนวนผู้ป่วยหนักเพิ่มมากขึ้น และประเมินผลทุกๆ 14 วัน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า สถานที่ยังต้องปิดบริการต่อเนื่อง ในส่วนนี้ยังเป็นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท ห้างสรรพสินค้าเปิดได้ แต่ต้องจำกัดเวลาการใช้บริการ ส่วนกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุยังต้องระวัง เพราะอัตราการตายสูงร้อยละ 15-16 ฉะนั้นคนสูงอายุ ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ ยังต้องงดออกจากนอกบ้าน และย้ำว่าการออกจากบ้านได้เพื่อเป็นทำกิจกรรมส่วนหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นต้องกลับไปอยู่บ้านอย่างเคร่งครัด ส่วนเรื่องวัคซีนยังอีกนาน คาดว่าใช่เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มกิจกรรที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูง หากผ่อนคลายเปิดปกติแล้วอาจจะมีการแพร่ระบาดสูง คือ โรงเรียน มหาวิทยาลัย บาร์ กีฬาในร่มในที่ปิด กีฬากลางแจ้งบางชนิด การจัดประชุมในห้องปิด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน