โควิด : กทม.ออกประกาศแล้ว คุมเข้มสถานที่ 4 ประเภท เฝ้าระวัง โควิด ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก-ปรับ หรือถูกสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกประกาศมาตรการเฝ้าระวัง โควิด-19 ระบุว่า ตามที่ได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COND-19) ในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมจำกัดวงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สมควรกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังต่อไปนี้

เกาะติดข่าว กดติดตามข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

1.ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการป้องกัน และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแนบท้ายประกาศนี้
– ตลาด ตลาดน้ำ และตลาตนัด
– สวนสาธารณะ
– วัด มัสยิด หรือสถานที่จัดพิธีกรรมทางศาสนา
– สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ

2.ให้เจ้าของ ผู้จัดการสถานที่ หรือผู้จัดให้มีกิจกรรมใด ๆ ทางธุรกิจการคมนาคม มหรสพ สนามกีฬา ที่สาธารณะ หรือแหล่งอื่น ๆ ซึ่งมีการรวมกลุ่ม หรือร่วมกิจกรรมลักษณะที่เสี่ยงต่อการใกล้ชิด สัมผัส และแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคแก่ผู้ร่วมกิจกรรมนั้น ๆ ดังต่อไปนี้
– บริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการคัดกรองอาการปวยในระบบทางเดินหายใจ
– ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
– อำนวยความสะดวกในการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด
– จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
– จัดให้มีการเช็ดทำควมสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทำกิจกรรม รวมทั้งระหว่างและภายหลังการทำกิจกรรมด้วย
– ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชั่นที่ทางราชการกำหนด

3.การจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ที่มีการชุมนุมคนในพื้นที่ตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป ต้องยื่นแผนการจัดงาน และมาตรการดวนคุมโรคต่อสำนักอนามัย กรุงเทหมหานคร ก่อนจัดงาน

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกเกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 และข้อ 2 จะถูกสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว

กรุงเทพมหานครขอความร่วมมือให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่อออกจากที่พักอาศัย เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นซ้ำไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2538

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน