โควิดระบาดแล้วทั่วโลก! พบผู้ติดเชื้อในทวีปแอนตาร์กติกาแล้ว 36 ราย หน่วยงานข่าวกองทัพของประเทศชิลีได้รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 36 รายในศูนย์วิจัย Bernardo O’Higgins

โดยการค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ประเทศชิลีตรวจพบผู้ติดเชื้อ 3 รายบนเรือเสบียงที่กำลังเดินทางมาที่ศูนย์วิจัยดังกล่าว จากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 60 คน มีบุคลากรทหารจำนวน 26 คน และช่างซ่อมบำรุงอีก 10 ที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยผู้ติดเชื้อทั้ง 36 คน ได้เดินทางออกจากศูนย์วิจัยและได้ทำการกักตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทำให้มีจัดตั้งหน่วยงานป้องกันการแพร่ระบาดขึ้นในทวีปแอนตาร์กติกา โดยมีการระงับโครงการวิจัยในพื้นที่ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้อยู่อาศัยถาวรในแอนตาร์กติกาก็ตาม แต่ยังคงมีนักวิจัยที่ประจำการอยู่ราว 1,000 คน และยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งที่จะเดินทางไปเยือนในฤดูท่องเที่ยว

ทวีปแอนตาร์กติกา คือทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก ในเขตขั้วโลกใต้ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกา ซึ่งร้อยละ 98% ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็ง เรียกว่า พืดน้ำแข็ง มากไปกว่านั้น น้ำแข็งในทวีปนี้ยังคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90% ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นทวีปเดียวที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่แบบถาวร แต่มีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สามารถทนกับความหนาวเหน็บนี้ได้ เช่น นกเพนกวิน แมวน้ำ ปลาวาฬ และสาหร่าย

โดยก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่าแบคทีเรียที่มีอายุ 8 ล้านปีซึ่งอยู่ใต้ธารน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกา กลับมาเคลื่อนไหวได้อีกครั้ง นอกจากนั้น จากการวิจัยของคณะวิทย์ฯจุฬาฯ ยังพบว่า มีพยาธิเพิ่มขึ้นในตัวปลาเยอะกว่าสมัยก่อน และไม่ใช่เพียงในตัวปลาแต่ยังพบนอกตัวปลาอีกด้วย โดยพบว่าตั้งแต่ปี 2009 มีพยาธิเกาะติดที่ลำตัวปลาเป็นจำนวนมาก เทียบกับปี 2004 ที่ไม่พบพยาธิเลย

และล่าสุดในปี 2016 กลับพบว่า ร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ ของปลามีพยาธิเกาะอยู่ 6 – 7 ตัวต่อปลา 1 ตัว ยิ่งไปกว่านั้นในการศึกษายังพบอีกว่าในกระเพาะของปลาก็มีพยาธิและไข่พยาธิอยู่ด้วยเช่นกัน มากไปกว่านั้นยังมีการคาดการณ์ว่า จะมีพยาธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี ด้วยสภาวะอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ในขณะที่สัตว์หลายๆ ชนิด เช่น เพนกวิน และแมวน้ำ จะมีอัตราการรอดที่น้อยลง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน