รัฐบาลลุยสร้างรถไฟฟ้ารางเบาหัวเมืองใหญ่ เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช พิษณุโลก มูลค่า 1.8 แสนล้าน หวังเพิ่มความสะดวกการเดินทางให้กับชาวบ้านต่างจังหวัด

ลุยสร้างรถไฟฟ้าหัวเมืองใหญ่ – นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ว่า รับทราบความคืบหน้า การลงทุนระบบขนส่งในภูมิภาคทั้งหมด 1.8 แสนล้านบาท

ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจ.ภูเก็ต โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังออกแบบรถไฟฟ้ารางเบา TRAM เส้นทางจากบ้านท่านุ่น จ.พังงา ถึง บริเวณห้าแยกฉลองภูเก็ต 58 ก.ม. มูลค่า 39,406 ล้านบาท เฟสแรกเริ่มจากสนามบินภูเก็ต ถึงห้าแยกฉลอง ระยะ 41 ก.ม. มูลค่า 30,154 ล้านบาท

เฟสแรกเริ่มจากสนามบินภูเก็ต ถึงห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.70 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 30,154.51 ล้านบาท เป็นทางวิ่งระดับพื้นดินตลอดแนวเส้นทาง ถนนเทพกษัตรีย์ ถนนศักดิเดชน์ และถนนเจ้าฟ้าตะวันออก จากนั้น ยกเว้นยกระดับที่สถานีสนามบิน สถานีใต้ดินที่สถานีถลาง มีจำนวนสถานีทั้งหมด 24 สถานี มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง และมีทางลอดรถไฟฟ้า 6 แห่ง หลังจาก ครม. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพังงาและภูเก็ตได้

โครงการระบบขนส่งมวลชนจ.เชียงใหม่ มี 3 เส้นทางหลัก สายสีแดง 12 สถานี ระยะทาง 12 ก.ม. ลงทุน 28,726 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน 13 สถานี 10 ก.ม. 30,399 ล้านบาท สายสีเขียว 10 สถานี 11 ก.ม. 36,195 ล้านบาท รวมทั้งโครงการ 95,321 ล้านบาท ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา TRAM ให้ รฟม. ดำเนินการ สายสีแดงเป็นโครงการนำร่อง

โครงการระบบขนส่งสาธารณะเขตเมืองนครราชสีมา เป็นระบบรถไฟฟ้า LRT ระบบหลัก มี 3 เส้นทางหลัก สายสีเขียว 18 สถานี 11 ก.ม. 8,400 ล้านบาท สายสีส้ม 17 สถานี 9.81 ก.ม. 5,200 ล้านบาท สายสีม่วง 9 สถานี 7.14 ก.ม. 4,800 ล้านบาท รวม 28.12 ก.ม. ส่วนต่อขยายมี 3 เส้นทาง สีเขียว สีส้ม และสีม่วง 14,200 ล้านบาท รวมทั้งโครงการ 32,600 ล้านบาท รฟม. เป็นผู้รับผิดชอบ สายสีเขียวนำร่อง

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในจ.ขอนแก่น และอนุญาตให้จ.ขอนแก่นเป็นผู้พัฒนา และภาคเอกชนร่วมบริหารจัดการโครงการ เฉพาะเส้นทาง นำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) ที่ สนข. ออกแบบรายละเอียดไว้แล้ว เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) 16 สถานี 22.8 ก.มง มูลค่า 26,963 ล้าน

ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสม ระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ให้รฟม.ดำเนินการ ประกอบด้วย 3 รูปแบบ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เส้นทาง 80.5 กิโลเมตร ลงทุน 3,206 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2563-2564 และเปิดให้บริการปี 256

ระยะที่ 2 จำนวน 2 เส้นทาง 30.1 ก.ม. ลงทุน 911.42 ล้านบาท ผลการศึกษาเฟสแรก เส้นทางสายสีแดง เป็นลำดับแรก ใช้ระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบรถรางล้อยาง (Auto Tram) มีจำนวนสถานีทั้งหมด 15 สถานีระยะทาง 12.6 ก.ม. วงเงินลงทุน 762.29 ล้านบาท

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน