4 สมาคมข้าว หารือทีดีอาร์ไอ กระทุ้งรัฐชะลอพิจารณาวาระ 2-3 พ.ร.บ.ข้าว หวั่นกระทบชาวนา

นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ในการระดมสมอง “ร่างพ.ร.บ.ข้าวพ.ศ….: ทำอย่างไรประโยชน์อย่างแท้จริง” โดย ทีดีอาร์ไอ ร่วมกับ 4 สมาคม ได้แก่ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว

ซึ่งที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรเลื่อนการพิจารณา พ.ร.บ.ข้าว ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาในสนช.วาระ 1 ไปแล้ว เพราะมองว่า พ.ร.บ.ข้าว ฉบับนี้ ขัดกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น เพราะพ.ร.บ.ข้าวฉบับนี้ จะก่อให้ เกิดความเสียหาย และสร้างภาระต่อสังคม สูญเสียงบประมาณแผ่นดินมหาศาล เสี่ยงต่อการทุจริต

เนื่องจากสาระสาคัญของ พ.ร.บ.ข้าว หลังผ่านวาระ 1 เมื่อวันที่ 30 มค.2562 มีประเด็นหลักที่มีการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ในชั้นกรรมาธิการ เพราะเป็นมาตราที่จะเป็นผลเสียหายต่อชาวนา วงการข้าวไทย หรือเป็น จุดอ่อนด้านการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าข้าวไทย
นอกจากนี้ ในส่วนโครงสร้างคณะกรรมการ อนุกรรมการที่ครอบงำด้วยระบบราชการ จะไม่สามารถ ก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิต การสร้างรายได้ให้ชาวนา การสร้างแรงจูงใจ คนรุ่นใหม่สู่อาชีพชาวนา

สำหรับการพิจารณา พ.ร.บ.ข้าว ในวาระ 1 ชั้นกรรมาธิการ มีการเพิ่มโทษกรณีต่างๆ ตามมาตรา 33 ดังนี้
มาตรา 33/1 ออกใบรับซื้อข้าวเปลือกเป็นเท็จ จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
มาตรา 33/2 จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
มาตรา 33/3 ผู้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ทารายงานเท็จ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท
มาตรา 33/4 จ่ายสินบนให้ผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือผู้ตรวจสอบคุณภาพ ข้าวทุจริต จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท
มาตรา 33/5 จัดทำรายงานผลตรวจสอบเป็นเท็จ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่ เกิน 3 แสนบาท
มาตรา 33/6 ความผิดพลาดของนิติบุคคล ที่เกิดจากรรมการหรือผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ของนิติบุคคล

ส่วนมาตราที่จะเป็นผลเสียหายต่อชาวนา การพัฒนาพันธุ์ข้าว และวงการค้าข้าว คือ
การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ยังไม่ได้รับการรับรองพันธุ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 27/1 และ ม. 33/2) โดยมาตรานี้จะปิดกั้นขัดขวางการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆของไทย ในอดีตข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลายพันธุ์ ที่กลายเป็นพันธุ์ยอดนิยมได้แพร่หลายไปในหมู่ชาวนา ก่อนที่หน่วยราชการจะให้การรับรองพันธุ์

มาตราที่จะเป็นผลเสียหายต่อชาวนา การพัฒนาพันธุ์ข้าว วงการค้าข้าว คือ มาตรา 27 จะปิดกั้นขัดขวางการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ จากเดิมความสำเร็จนี้ ทำให้ข้าวไทยเป็นข้าวมีคุณภาพสูง มีการส่งออกข้าวคุณภาพที่มีราคาสูงกว่าข้าวเกรดต่ำถึง 50% ข้าวส่งออกที่มีคุณภาพ คือ หอมมะลิ ข้าวนึ่ง หาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ออกมาใช้ก่อน พ.ศ. 2500 คนไทยคงอดมี พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ขาวตาแห้ง 17 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสังหยด ข้าวทับทิมชุมแพ

“ขอให้ สนช. ยืดเวลาการนาร่าง พ.ร.บ.ข้าว เข้าสู่วาระ 2 วาระ 3 โดยให้เปิดกระบวนการรับฟังความเห็น จากผู้ชี่ยวชาญทุกด้าน และทุกสมาคม ร่วมแก้ไขมาตราสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อวงการข้าว ปรับปรุงบทบาท กรมการข้าวให้ชัดเจน ระหว่างการเป็นกรมวิจัย หรือ กรมกำกับดูแล และปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ถ้าไม่ทัน ก็รอรัฐบาลใหม่จะดีกว่า”

นายนิพนธ์ กล่าวว่า สำหรับข้อดีของ พ.ร.บ.ข้าว เนื่องจากอาชีพชาวนาเสี่ยงขาดทุนสูง คนรุ่นใหม่ ไม่มีแรงจูงใจจะทำนา จึงต้องการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิต และการพัฒนาอาชีพทำนาให้มั่นคง ยั่งยืน อย่างบูรณาการและ เป็นเอกภาพ แต่สาระสาคัญกลับเน้นการควบคุมและลงโทษเสมือนหนึ่ง ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม…และจะเกิดผลเสียหายต่อ วงการข้าวไทย ส่วนมาตราด้านการพัฒนาก็มีจุดอ่อนที่ไม่น่าจะสัมฤทธิ์ผลอยู่ในพ.ร.บ.นี้

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า พ.ร.บ.ข้าว ฉบับนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายเข้ามาควบคุมการดำเนินการของภาคเอกชนตลอดห่วงโซ่ ซึ่งจะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น และจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรโดยตรง เพราะต้นทุนการส่งออกจะสูงขึ้น เกษตรกรต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย ในขณะที่การแข่งขันของผู้ส่งออกไทยจะด้อยลง เพราราคาข้าวไทยจะแพง

นอกจากนี้ พ.ร.บ. ข้าวที่กำหนดโทษการพัฒนาพันธุ์ข้าวสูงมาก จะทำให้เอกชนไม่กล้าจะลงทุนวิจัย จากปัจจุบันการพัฒนาพันธุ์ข้าวของไทยน้อยมาก ในขณะที่ภาครัฐ พัฒนาพันธุ์ข้าวที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ข้าวหอมมะลิที่น่าภาคภูมิใจ ปัจจุบันตลาดหดลงอย่างต่อเนื่อง และประเทศเพื่อนบ้าน กำลังจะแย่งชิงตลาดข้าวไปแล้ว

ด้านนายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า คัดค้านการออก พ.ร.บ.ข้าว และหากใครได้เห็นก็ต้องมีการคัดค้าน คนที่ร่าง พ.ร.บ.ข้าว อาจไม่ได้สัมผัสกับการเพาะปลูกข้าว ไม่ได้เพิ่มรายได้ให้ห่วงโซ่ข้าว มีแค่หลักการและเหตุผลเท่านั้นที่ดี แต่ใส้ในของกฏหมายข้าว ไม่มีอะไรดีเลย ไม่มีประโยชน์กับห่วงโซ่ข้าว แต่สร้างความแตกแยกให้กับอุตสาหกรรม และห่วงโซ่การผลิตข้าว ดังนั้นหากเป็นไปได้ วาระ 2 วาระ 3 ควรทบทวน
“ดังนั้น เตรียมทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กฏหมาย สามารถพัฒนาห่วงโซ่ข้าว พัฒนาข้าวไทย”

นายเกษม ผลจันทร์ นายกสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว กล่าวว่า สมาคมได้เข้ารับฟังร่าง พ.ร.บ.ข้าว ยอมรับไม่เห็นด้วย กับ พ.ร.บ.ข้าว ขอขอบพระคุณคณะกรรมาธิการ ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อต้องการให้เกิดประโยชน์กับชาวนา แต่จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ข้าวฉบับนี้ จะเห็นได้ว่าทางคณะผู้ร่างฯ สนช. เน้นเรื่องฐานข้อมูลและสถิติของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ โดยที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าชาวนาจะได้ประโยชน์จากส่วนใด ซึ่งสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว

นอกจากนี้กฎหมายยังทับซ้อนกับกฏหมาย ว่าด้วยพันธุ์พืช ซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ผู้ประกอบการดำเนินงานด้วยความยากลำบาก ถ้าร่าง พ.ร.บ.ข้าว ฉบับนี้ออกมา จะมีผลกระทบกับชาวนาโดยตรง เพราะผู้ประกอบการจะต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเกรงกลัวต่อบทลงโทษ และอาจจะส่งผลให้ผู้รวบรวมฯ ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวน้อยลง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน