เปิดไทม์ไลน์มหากาพย์โฮปเวลล์

‘2533-2562’ใครต้องรับผิดชอบ?

 

เปิดไทม์ไลน์มหากาพย์โฮปเวลล์’ – ‘2533-2562’ใครต้องรับผิดชอบ? : ปิดฉากไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับตำนานค่าโง่บนซากเสาตอม่อเลียบถนนวิภาวดีรังสิตโครงการโฮปเวลล์ ระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Elevated Road and Train System – BERTS)

หลังศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชดใช้ค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้กับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใน 180 วัน

ประกอบไปด้วยค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาราว 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี คืนหนังสือค้ำประกันมูลค่า 500 ล้านบาท ที่ออกโดยธนาคารกรุงเทพ

ความเป็นมาของโครงการนี้ เริ่มเมื่อ 29 ปีที่แล้ว สมัย พล..ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และ นายมนตรี พงษ์พานิช รมว.คมนาคม มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาจราจรในกทม. ด้วยการสร้างรถไฟและถนนยกระดับ

บริษัทโฮปเวลล์ ของ นายกอร์ดอน หวู่ มหาเศรษฐีชาวฮ่องกงชนะการประมูล กระทั่งเมื่อวันที่ 9 ..2533 กระทรวงคมนาคมและรฟท.ลงนามในสัญญาสัมปทานว่าจ้างโฮปเวลล์ วงเงินลงทุนราว 80,000 ล้านบาท อายุสัมปทาน 30 ปี มีสิทธิต่ออายุออกไปได้รวม 58 ปี

ทั้งมอบสิทธิ์ในการจัดเก็บค่าผ่านทาง และจัดหาผลประโยชน์จากที่ดินของ รฟท.ในพื้นที่ 4 ทำเลทอง คือ หัวลำโพง, สามเหลี่ยมจิตรลดา, ชุมชนตึกแดง บางซื่อ และบ้านพักนิคมมักกะสัน รวม 247.5 ไร่ให้อีกด้วย

แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 5 ระยะ ช่วงที่ 1 เริ่มก่อสร้างจาก ยมราชดอนเมือง ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร, ช่วงที่ 2 ยมราชหัวลำโพงหัวหมาก และมักกะสันแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 18.5 กิโลเมตร, ช่วงที่ 3 ดอนเมืองรังสิต ระยะทาง 7 กิโลเมตร

ช่วงที่ 4 หัวลำโพงวงเวียนใหญ่ และยมราชบางกอกน้อย ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร และช่วงที่ 5 วงเวียนใหญ่โพธิ์นิมิตร และตลิ่งชันบางกอกน้อย ระยะทาง 9.1 กิโลเมตร

โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากมีการให้สิทธิ์พัฒนาที่ดินของ รฟท.หลายร้อยไร่ ที่สำคัญโครงการถูกผลักดันให้ผ่านการอนุมัติจาก ครม. อย่างรวดเร็วภายใน 9 เดือนเท่านั้น

ประกอบกับช่วงเวลานั้นรัฐบาลยังไม่ออกกฎหมาย พ...ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 ยิ่งทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าทำให้เกิดช่องว่างในการตรวจสอบ

ระหว่างที่โครงการดำเนินอยู่ จู่ๆ เมื่อวันที่ 23 .. 2534 รัฐบาล พล..ชาติชาย ถูกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่ชาติ (รสช.) นำโดย พล..สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น เข้ายึดอำนาจ

แต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และ นายนุกูล ประจวบเหมาะ เป็น รมว.คมนาคม ซึ่งมีคำสั่งทบทวนสัญญาสัมปทานใหม่ เพราะเกรงว่าจะเป็นสัญญาที่ฝ่ายรัฐ เสียเปรียบ เพราะมีการกล่าวอ้างว่า ในสัญญาไม่มีการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างและค่าปรับต่างๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งยังไม่มีการระบุในสัญญาว่าโครงการจะต้องแล้วเสร็จเมื่อใด

กระทั่งประกาศล้มโครงการโฮปเวลล์ในที่สุด แต่ยังไม่บอกเลิกสัญญา โดยจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ขึ้นมาดำเนินการแทน เมื่อ พ..2535

โครงการโฮปเวลล์ยังเดินต่อมาจนถึงสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 ซึ่งพ..วินัย สมพงษ์ เป็น รมว.คมนาคม ขณะนั้นโฮปเวลล์เริ่มประสบปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง

ขณะที่ รฟท.ประสบปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ทำให้รัฐบาลถัดมาสมัย พล..ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี มีมติ ครม.ให้บอกเลิกสัญญา หลังจากโฮปเวลล์หยุดงานก่อสร้างอย่าง สิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2540

แต่การบอกเลิกสัญญามาเกิดขึ้นและมีผลจริงในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย สมัยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รมว.คมนาคม ลงนามบอกเลิกสัญญาสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ..2541

สั่งห้ามโฮปเวลล์เข้าไปเกี่ยวข้องใดๆ ในพื้นที่โครงการ เพราะเห็นว่าการก่อสร้างช่วง 7 ปีที่ผ่านมา มีความคืบหน้าเพียง 13.77% ช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ 89.75%

หลังบอกเลิกสัญญา รฟท.ในฐานะเจ้าของสัมปทานพยายามเข้าไปใช้กรรมสิทธิ์ เตรียมนำโครงสร้างตอม่อบางส่วนมาก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อรังสิต แต่โฮปเวลล์มองว่าถูกยึดคืนพื้นที่สัมปทานอย่างไม่เป็นธรรม

จึงเป็นจุดเริ่มต้นของข้อพิพาทการฟ้องร้องครั้งมหากาพย์ขึ้น

วันที่ 24 .. 2547 โฮปเวลล์ยื่นเรื่องให้คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัย เรียกค่าเสียหายจากการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และรฟท. รวม 5.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ รฟท.เรียกร้อง ค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์จากโครงการกว่า 2 แสนล้านบาท

8 .. 2551 คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท.คืนเงินชดเชยให้โฮปเวลล์ 11,888.75 ล้านบาท เนื่องจากการบอกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม ขณะที่กระทรวงคมนาคม และ รฟท.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง

13 มี.. 2557 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอน คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ 2 ฉบับ และให้ปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาด ทำให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท.ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย แต่โฮปเวลล์ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด

การฟ้องร้องกินระยะเวลามายาวนานรวม 17 ปี จนกระทั่งคดีสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 22 เม.. 2562 ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาศาลปกครองกลางเป็นยกฟ้องมีผลให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท.ต้องคืนเงินชดเชยให้กับโฮปเวลล์ รวมเป็นเงิน 11,888 ล้านบาท โดยไม่รวมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ระบุว่าคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว กระทรวงคมนาคม และ รฟท. เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ต้องหาเงินมาจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งศาล

ล่าสุด รฟท.ทำหนังสือไปยังสำนักงานคดีปกครองเพื่อขอตรวจสอบวงเงินชดเชยแล้ว และแต่งตั้งคณะทำงานพิเศษซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม รฟท. กรมบัญชีกลาง สำนักอัยการสูงสุด สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มาสรุปวงเงินชดเชย การจัดหาแหล่งเงิน แนวทางในการชำระค่าชดเชย และเปิดเจรจาต่อรองกับโฮปเวลล์

โดยต้องให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดของศาลที่ให้จ่ายภายใน 180 วัน นับแต่คดีสิ้นสุด

นอกจากนี้ยังตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบความรับผิดทางละเมิด เพื่อหาคนผิดมารับโทษที่เกิดขึ้นตามกฎหมายด้วย เริ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสัญญาจนถึงบอกเลิกสัญญา

ขณะที่นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าฯ รฟท.ยืนยันว่าภายใน 1 เดือนจากนี้จะได้ข้อสรุปเรื่องวงเงินชดเชยทั้งหมด

ส่วนรูปแบบการจ่ายชดเชยนั้นมีหลายแนวทาง อาจจะจ่าย เป็นเงิน หรือเป็นการให้สิทธิ์โฮปเวลล์เข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟท. ก็เป็นไปได้

โดยจะเลือกแนวทางที่รัฐเสียหายน้อยที่สุด

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน