‘จุรินทร์’ ประเดิมเคาะประกันราคาปาล์มน้ำมัน ตามด้วยยางพารา – พร้อมมอบนโยบายขับเคลื่อนกระทรวงพาณิชย์ 10 ข้อ

‘จุรินทร์’ประเดิมเคาะประกันปาล์ม – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวภายหลังการประชุมมอบโยบายผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ครั้งแรก ว่า เป็นการหารือร่วมกันกับผู้บริหารเพื่อกำหนดเป็นทิศทางร่วมกัน โดยได้ข้อสรุปแนวนโยบายมอบผู้เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันในการการขับเคลื่อนกระทรวงพาณิชย์ 10 ข้อ คือ 1. การประกันรายได้เกษตรกร โดยดูแลพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด และกระตุ้นราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมทั้งหมด รวมทั้งเร่งรัดปัญหาพืชเกษตรเชิงรุก ไม่รอให้เกิดปัญหา แต่จะแก้ปัญหาล่วงหน้า เพราะปฏิทินพืชผลการเกษตรนั้นทุกฝ่ายรู้ล่วงหน้าอยู่และจะมีการใช้แผนเกษตรพันธสัญญาด้วย 2. กระทรวงฯจะเน้นดูแลราคาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมผู้กับบประกอบการและผู้บริโภค 3. จะเร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการโดยเน้นส่งออกพืชผลทางการเกษตร บริการสินค้า OTOP สินค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ หมวดอื่นๆ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ เน้นรักษาและขยายตลาดเดิม เปิดตลาดใหม่ ฟื้นตลาดเก่าจากสถานการณ์ในต่างประเทศที่เคยเป็นอุปสรรค และมุ่งเน้นการค้าชายแดนและข้ามแดน เพิ่มมูลค่าการส่งออก

4. จะเร่งรัดการเจรจาที่ยังไม่สำเร็จ เช่น RCEP จะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ การดำเนินการเจรการเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ คือสหภาพยุโรป ตุรกี ศรีลรีลังกา ปากีสถาน และอังกฤษ ตลอดจนเร่งหาข้อสรุปของ CPTPP หรือข้อตกลงความชอบความครอบคลุมและความก้าวหน้าและความก้าวหน้าเรื่องหุ้นส่วนทางการค้าภาพภาพพื้นเอเซียเอเชียแปซิฟิก) 5. เดินหน้าระบบ e-filing ต่อไปเพื่อให้การจดทะเบียนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับบริหารของกระทรวง ยึดหลักง่าย สะดวก รวดเร็ว กับทั้งผู้เกี่ยวข้องและผู้ใช้บริการ ทั้งในเรื่อง นิติบุคคล ผู้ใช้บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา เอกสารการค้าระหว่างประเทศ 6. เร่งรัดการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เพื่อใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ทั้งภายในนอกประเทศ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มสินค้าและบริการ และจะจัดให้มีรถโมบายเคลื่อนที่ออกไปให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและจดทะเบียนในพื้นที่ต่างๆ สำคัญและจำเป็น

7. กระทรวงฯจะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่ Bio green sharing creative economy การค้าออนไลน์ โดยสนับสนุน start up เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SME) โอท็อป และแฟรนไชส์ เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 8. ฟื้นชีพร้านโชห่วย ให้เป็นกลไกสำคัญต่อเศรษฐกิจ ฐานรากของแระเทศ และจะดำเนินการให้ปรับรูปแบบเป็นสมาร์ตโชห่วย ควบคู่ร้านธงฟ้าที่มีอยู่เดิม จะมีการตั้งเป้าหมายต่อไปและจะปรับเป็นร้านสะดวกซื้อที่ทันสมัย มีการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ 9. มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจภาคบริการเพื่อเพิ่มการแข่งขันองประเทศ สปา ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุ นำรายได้เข้าประเทศต่อไป และ 10. จะใช้กลไลขับเคลื่อนให้นโยบายเดินหน้าไปดังนี้ คือ 1) จะดำเนินการประชุมกระทรวงอย่างน้อยเดือน 1 ครั้งเพื่อติดตามงานคืบหน้า 2) กลไกลกรอ.พาณิชย์ หรือคณะกรรมการร่วมภาครัฐกับเอกชนโดยกระทรวงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริม ผลักดัน ขับเคลื่อน และความคุ้มครองผู้บริโภค 3) ใช้กลไก 3 ประสานเพื่อดูแลเรื่องการเกษตร ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ให้เกษตรกรมีเวทีร่วมกันในการตัดสินใจ 4) ทูตพาณิชย์ฯต้องเป็นมืออาชีพเพื่อเป็นทัพหน้าสำคัญให้ภาคเอกชนนำรายได้จากการส่งออกเป็นสำคัญ

“ทั้งหมดคือเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งทำ เช่น เรื่องประกันรายได้ก็จะใช้กลไก 3 ประสาน ว่าต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ต้องดูว่ามีเกษตรกรกี่คน ต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสำรวจจำนวนเกษตกรกร งบประมาณ และนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยในเบื้องต้นจะหารือเรื่องปาล์มน้ำมันก่อนเป็นเรื่องแรก ซึ่งในวันนี้ (7 ส.ค.) ก็มีการหารือคณะกรรมการสามฝ่ายคือภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อเคาะราคาประกัน ที่ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นจะนำเรื่องไปเข้าสู่ที่ประชุมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อสรุปอีกครั้ง จากนั้นจะหารือเรื่องยางพารา กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะหารือกันไปตามลำดับในส่วนของพืชเศรษฐกิจสำคัญๆ ตัวอื่น โดยจะเร่งให้เร็วที่สุด เพราะเกษตกรมีความต้องการและมีความหวังในการให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาให้ แต่ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า จะเท่ากับราคาที่พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงไว้หรือไม่ เพราะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน”นายจุรินทร์ กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน