เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

ปี‘ชวด’ไม่เจ็บปวดเท่า ปี‘หมู’

‘คลัง’มั่นใจไม่ใช่ปี‘เผาจริง’

ผ่านพ้นไปแล้วปีที่เหนื่อยหนัก สาหัสสากรรจ์สำหรับเมืองไทย เพราะไม่ว่าจะเป็นเซ็กเมนต์ไหนต่างก็ร้องโอ๊กกันทั้งสิ้น ที่ดูดีหน่อยน่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือแทบจะหงายเงิบไปเกือบทั้งหมด แล้วในปี 2563 สถานการณ์จะดีขึ้น ทรงตัว หรือ ‘ขึ้นเมรุ’ ไปดูมุมมองของผู้บริหารทั้งภาครัฐละเอกชน

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะขยายตัวได้ดีกว่า 2562 แน่นอน ข้อเป็นห่วงที่ว่าปี 2562 เป็นเศรษฐกิจแบบเผาหลอก ส่วนปี 2563 นั้นจะเผาจริง ยืนยันว่าจะไม่เกิดขึ้น ไม่มีทางเกิดขึ้น และไม่เฉียดเข้าใกล้เมรุเลยแม้แต่น้อย

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

“รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง พร้อมที่จะออกมาตรการดูแลทันที หากเห็นว่าเศรษฐกิจมีสัญญาณไม่ดี ในทุกๆ ภาคส่วน”

ด้าน นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2562 จะเติบโตได้ 3.2% ถือว่าเป็นไตรมาสที่เติบโตได้สูงสุดของ ปี 2562 โดยได้รับอานิสงส์ดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาล การเติบโตไตรมาส 4 จะส่งต่อไปยังเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2563 ด้วย ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องอย่างแน่นอน

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

“เศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะเติบโตได้ประมาณ 3.2% ในขณะที่ในปี 2563 เศรษฐกิจยังคงมีปัจจัยเสี่ยงไม่แตกต่างไปจากในปี 2562 ทั้งในเรื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน สถานการณ์ การค้าโลกที่ยังซบเซา รวมทั้งปัจจัยเรื่องค่าเงินที่ยังคงต้องติดตาม อยู่เช่นกัน”

นายลวรณกล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ไม่เต็มศักยภาพ ซึ่งควรจะอยู่ที่ระดับ 4% แต่ผลกระทบจากสถานการณ์จากเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่หลายประเทศทั่วโลกต่างก็ได้รับผลกระทบนี้

กังวลปัจจัยลบมากกว่าบวก

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย มองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้น เพราะพิจารณาอนุมัติงบประมาณปี 2563 ขับเคลื่อนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญ

เห็นได้จากนักลงทุนหลายประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในไทย โดยมีคำขอรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว คาดว่าจะเกิดการลงทุนและผลิตจริงในบางโรงงาน ทำให้เกิดการจ้างแรงงานในประเทศ

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีความท้าทายจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องผลกระทบจากสงครามทางการค้า ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า และการกระจายรายได้ที่ไม่ทั่วถึง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว แต่โอกาสทางเศรษฐกิจไทยยังมี เพราะไทยยังเป็นศูนย์กลางการลงทุนในอาเซียน ทำให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนด้านการค้า บริการและการท่องเที่ยว

น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ในปี 2563 ในภาพรวมของเศรษฐกิจปัจจัยต่างๆ ยังเป็นปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก เช่น สงครามการค้า การจ่ายค่าระวางสินค้า ต้นทุนการผลิต การขนส่งสินค้า และโดยเฉพาะปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของไทยยังไม่ขยายตัวหรือจะเท่ากับปีนี้

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (สรท.) บริหารจัดการค่าเงินด้วยมาตรการ ที่เข้มแข็งไม่ให้บาทแข็งค่า ไปมากกว่านี้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร ต้องสนับสนุนรูปแบบการชำระค่าใช้จ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแทนเงินบาท เพื่อลดความสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าแลกเปลี่ยน

ไม่เลวร้ายกว่าปี2562แน่นอน

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าส่วนตัวมองอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2563 ขยายตัวได้ 1% หรือสูงสุดไม่เกิน 2% ตราบใดที่การลงทุนภาครัฐไม่สามารถเดินหน้าได้

แม้กระทั่งการจับจ่ายใช้สอยในประเทศขณะนี้ยังต้องขับเคลื่อนด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาล หากรัฐบาลไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ได้ ถามว่ารัฐบาลจะเอาเงินที่ในมาบริหารจัดการ นี่เป็นวงจรที่สะท้อนให้เห็นภาพชัดเจน

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชนก็ยังรีรอเห็นการลงทุนภาครัฐ ในโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ เป็นตัวนำ เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกซึม การลงทุนในต่างประเทศไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ยกเว้นกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศ เพราะการลงทุนที่จำเป็นและคุ้มค่า เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ควรเกิดจากการลงทุนในประเทศ เป็นหลัก

นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปี 2563 ไม่คิดว่าจะมีอะไรที่เลวร้ายกว่าปี 2562 ซึ่งต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดี ส่งผลต่อการส่งออกตัวหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในขณะที่เงินบาทก็แข็งค่า

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

สำหรับในปี 2563 เชื่อว่าสงครามการค้าน่าจะคลี่คลายลง ทำให้ทิศทางเศรษฐกิจโลกดีขึ้น และส่งผลเชิงบวกต่อการส่งออกไทย อย่างไรก็ดีคาดว่าเศรษฐกิจ ปี 2563 จะดีกว่าปี 2562 เพราะจนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นปัจจัยลบที่ทำให้เศรษฐกิจแย่ไปกว่าปีนี้

สงครามค้า – เงินบาทตัวถ่วง

นายชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เอกา โกลบอล กล่าวว่ามองภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563 ค่อนข้างมีแต่ปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐที่มีความไม่แน่นอนสูง ยังไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไรหรือเมื่อไหร่

ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้กำลังซื้อโดยรวมไม่ดีอย่างที่คาดไว้ และยังจะเห็นได้จากภาวะตลาดหุ้นไม่ดีเท่าที่ควร

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

ส่วนตัวมองยังมีโอกาสเกิดขึ้นในแต่ละเหตุการณ์ตลอดเวลา เช่น แม้ค่าเงินบาทของไทยจะแข็งค่าส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ผู้ประกอบการสามารถใช้จังหวะนี้นำเข้าสินค้าทุน/วัตถุดิบ รวมถึงนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิต ช่วยลดต้นทุน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ

น.ส.ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ในปี 2563 คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.7% ในกรอบประมาณการ 2.5%-3.0% โดย หวังแรงหนุนจากภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อน

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

นโยบายการเงินและการคลังต้องเข้ามามีบทบาท การลงทุนของภาครัฐบนเงื่อนไขสำคัญ คือรัฐบาลต้องเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 รวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2563

แต่ในกรณีที่สถานการณ์ทางการเมืองส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าในการผลักดันเม็ดเงินงบประมาณใหม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และมีผลลบต่อความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภาคเอกชน ก็อาจทำให้จีดีพีปีหน้าวิ่งเข้าหากรอบล่างของประมาณการที่ 2.5% หรือต่ำกว่านั้น

ค่ายรถมั่นใจศก.ไทยดีขึ้น

นายโรลันด์ โฟล์เกอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากประสบการณ์พบว่าประเทศไทย จะฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจก่อนประเทศอื่นเสมอ ปรับตัวได้เร็วมากด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

ขณะที่สงครามการค้าจีนกับสหรัฐอเมริกา ที่หลายฝ่ายกำลังเป็นกังวลกันอยู่นั้น ได้สร้างโอกาสให้กับประเทศในภูมิภาคนี้อย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนจีนเข้ามาสร้างโรงงานเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออก ถือได้ว่าเป็นโอกาส

นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า 2563 เป็นปีที่มีปัจจัยบวก ทางเศรษฐกิจอยู่มากพอสมควร ทั้งงบประมาณจากภาครัฐที่ส่งเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าจะมีนโยบายต่างๆ เพิ่มเติมออกมาอีก ต้องมีเครื่องมือในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

ส่วนการที่สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อนั้น เชื่อว่าจะไม่มีความเข้มงวดไปกว่านี้แล้ว มองว่าเศรษฐกิจบ้านเรายังคงเติบโตได้

นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม กรรมการบริหารด้านการขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยน่าจะทรงตัว เพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกค่าเงินบาท ราคาพืชผลทางการเกษตร

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

ประกอบกับมีความกังวลในเรื่องการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งส่งผลกับกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามยังคาดหวังว่าน่าจะมีข่าวดีจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล รวมถึงจากภาคการท่องเที่ยว

นายโมะริคาซุ ชกกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่ามองภาพเศรษฐกิจค่อนข้างยาก เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นโมเมนตัมต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้า ความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ค่าเงินบาท

เปิดมุมมองผู้บริหารรัฐ-เอกชน

คาดว่าครึ่งปีแรกของปี 2563 เศรษฐกิจประเทศไทยจะทรงตัว แล้วหลังจากนั้นในครึ่งปีหลังจึงจะเริ่มดีขึ้นจากโครงการของภาครัฐ ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น

รวมถึงคาดว่ารัฐบาลจะต้องหามาตรการในการทำให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงคาดว่านักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามา ท่องเที่ยวในประเทศไทยจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน