เปิดตัวเลขลงทุน 5 แสนล้าน

‘จีน’ประเดิมแชมป์-แซงญี่ปุ่น

รายงานพิเศษ

เปิดตัวเลขลงทุน 5 แสนล้าน – ทุบสถิติเป็นครั้งแรกเมื่อนักลงทุนจีน ผงาดคว้าแชมป์การลงทุนในไทยเป็นอันดับ 1 แซงแชมป์เก่าตลอดกาลญี่ปุ่น แบบไม่เห็นฝุ่น

เปิดตัวเลขลงทุน 5 แสนล้าน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุข้อมูลการยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอในปี 2562 ที่ผ่านมา มีจำนวน 1,624 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 756,100 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ประมาณ 500,000 ล้านบาท

เปิดตัวเลขลงทุน 5 แสนล้าน

ในจำนวนนี้เป็นสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจาก ประเทศจีน 52% ของมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศด้วยมูลค่า 260,701 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งครั้งแรก

สูงกว่าอันดับสองจากการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น ที่ลงทุนในไทยมายาวนานมีมูลค่า 73,102 ล้านบาท และฮ่องกงมีมูลค่า 36,314 ล้านบาท

ทั้งนี้เป็นผลจากการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ไฮสปีดเทรนด์) ที่มีมูลค่าถึง 100,000 ล้านบาท ตามนโยบายที่จีนส่งเสริมให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น

เปิดตัวเลขลงทุน 5 แสนล้าน

จึงมีแนวโน้มที่การลงทุนจากจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่อง จากผลกระทบเรื่องสงครามการค้าและค่าแรงที่สูงขึ้น

หากพิจารณาคำขอรับส่งเสริมการลงทุนแยกเป็นก ลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมี จํานวน 838 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 286,520 ล้านบาท คิดเป็น 38% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด

อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนรวม 80,490 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เงินลงทุนรวม 74,000 ล้านบาท และอันดับสามได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เงินลงทุนรวม 40,100 ล้านบาท

โดยเป็นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนเฉพาะใน พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จํานวนทั้งสิ้น 506 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 444,880 ล้านบาท หรือคิดเป็น 59% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยจังหวัดระยอง มีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด ตามมาด้วยชลบุรีและฉะเชิงเทรา

ด้าน น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่าบีโอไอได้รับมอบนโยบายจาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่เร่งรัดให้หามาตรการกระตุ้นการลงทุนในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะเปิดมิติการลงทุนใหม่สู่ 12 อุตสาหกรรม เป้าหมาย ที่จะสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเชื่อมโยงกับการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและ ย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งต้องการให้เกิดขึ้นภายในปีนี้ 4 กลุ่มที่สำคัญได้แก่

เปิดตัวเลขลงทุน 5 แสนล้าน

น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์

1.อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ที่ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมโรงแรม แต่ต้องมองการบริการในทุกรูปแบบที่เชื่อมโยงกับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วย

2.อุตสาหกรรมสร้างสรรค์หรือ Creative Economy ที่มีมูลค่าสูงมาก เช่น ภาพยนตร์ กราฟิกแอนิเมชั่น การพัฒนาดีไซน์ศิลปะการละคร

3.อุตสาหกรรมกลุ่มโมเดลเศรษฐกิจ รูปแบบ BCG (Bio Economy, Circular Economyและ Green Economy)

และ 4.การลงทุนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากชุมชนด้านเกษตรแปรรูป

ถือเป็นสัญญาณดีท่ามกลางเศรษฐกิจไทยและโลกที่ผันผวนจากตัวแปรมากมายจนต้องลุ้นแบบวันต่อวันว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน