วันที่ 13 ก.ค. น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมนี้ เตรียมนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย นำพืช 13 ชนิด ได้แก่ สะเดา, ชา, กากเมล็ดชา, ข่า, ขิง, ขมิ้นชัน, ตะไคร้หอม, ดาวเรือง, พริก, คื่นช่าย, สาบเสือ, ชุมเห็ดเทศ, ดองดึง และหนอนตายหยาก ออกจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 2(ว.2) เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1(ว.1) เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำมาใช้ได้

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

เพราะพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดนี้ ถูกกำหนดไว้ในหมวดของ ว.2 ซึ่งถือเป็นวัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

ทั้งนี้ มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ไปยกร่างหลักเกณฑ์การใช้พืชสมุนไพรทั้ง 13 ตัวนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรได้นำไปใช้ และเตรียมนำเสนอก่อนนำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยในที่ประชุม มีมติปลดผง หรือสารธรรมชาติของสมุนไพรทั้ง 13 ตัวนี้ออกจากบัญชีวัตถุอันตราย ไม่ต้องขึ้นทะเบียน

ส่วนที่เป็นสารสกัด หรือที่เป็นน้ำ จะนำออกจากบัญชี ว.2 มาไว้ในบัญชี ว.1 ดังนั้น จากนี้ต่อไปเกษตรกรสามารถนำสมุนไพรในรูปของผงสมุนไพรไปใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ส่วนที่เป็นน้ำต้องดูว่าจะนำไปผลิตอะไร มีสารที่มาผสมอะไรบ้าง มีอันตรายต่อสุขภาพสมุน หรือสัตว์ หรือพืช หรือไม่

“พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด เป็นพืชที่เกษตรกรได้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นสารควบคุมแมลงเพื่อทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมานาน เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ถึงมีก็น้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างที่เป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถหาได้เองจากในชุมชนหรือจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง”

ด้าน น.ส.อิงอร ปัญญากิจ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ว.1 จะมีความเป็นอันตราย หรือความเป็นพิษน้อยกว่า ว.2 และมีขั้นตอนการควบคุมแตกต่างกัน และ ว.2 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ครอบครองที่จะมีไว้ใช้จะต้องขึ้นทะเบียน และแจ้งการดำเนินงานกับกรมวิชาการเกษตร ส่วน ว.1 ไม่ต้องขึ้นทะเบียน แค่มาแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารหรือพืชนั้น ซึ่งการขึ้นทะเบียนจะมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องนำผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์ข้อมูลความเป็นพิษของสารนั้น และต้องนำสารนั้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้ เพื่อให้ทราบว่าจะใช้อัตราที่เท่าไหร่ถึงจะมีประสิทธิภาพตามที่กล่าวอ้างจริง

นอกจากนั้นจะต้องประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัยของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรได้นำสารธรรมชาติ หรือพืชที่อยู่ตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช กระทรวงเกษตรฯ เห็นว่าควรปลดล็อกพืชสมุนไพร 13 ชนิด จากวัตุอันตรายชนิดที่ 2 กลับมาเป็นวัตุอันตรายชนิดที่ 1

การขึ้นทะเบียนของกรมวิชาการเกษตร พบว่า สารธรรมชาติจะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ สารสกัดธรรมชาติจากพืชได้จากการสกัดจริง และสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด ซึ่งไม่สามารถทำการปลดล็อกสารธรรมชาติจากการสกัดออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้ เนื่องจากเมื่อทำการสกัดแล้วจะได้สารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ในการกำจัดศัตรูพืชเพียว 100% ใช้เพียงนิดเดียวก็มีความเป็นพิษ และมีความเป็นพิษมาก

แต่ถ้าเป็นสารธรรมชาติจากพืชที่ไม่ผ่านการสกัด เช่น การนำไปตากแห้ง บ่ม สับ แล้วนำมาใช้เลย ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน ไม่ต้องแจ้งว่ามีสารสำคัญในปริมาณเท่าไหร่ หรือใช้ในอัตราเท่าไหร่ ก็จะสะดวกกับเกษตรกรที่จะนำไปใช้หรือนำไปผลิตเพื่อจำหน่าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน