หอการค้าไทย เผยกังวลโควิด-19 กระทบเศรษฐกิจมากกว่าชุมนุมทางการเมือง จี้มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนทำเสียหายเป็นวงกว้าง

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2563 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจความเห็นประธานหอการค้าจังหวัด รองประธานหอการค้าจังหวัด ผู้ประกอบการ ทั่วประเทศจำนวน 364 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-30 พ.ย. พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือน พ.ย.2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 33.7 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.ที่อยู่ระดับ 33.2 ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่า เศรษฐกิจทุกจังหวัดเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ไม่โดดเด่น ทั้งการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้น ภาคการเกษตรที่ราคาพืชผลทางการเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชน

แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวโดยเห็นได้จากการจ้างงานไม่ลดลง ธุรกิจเริ่มมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยขณะนี้น่าจะถึงจุดต่ำสุดของการปลดคนงานแล้วและมีแนวโน้มที่ทยอยการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่วนในอนาคตนั้นเชื่อว่า 3-6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งมาตรการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ช้อปดีมีคืน

นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า หอการค้ามีความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่เกิดการจากลักลอบเข้าประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อ แต่คาดว่าจะกระทบในช่วงสั้นๆ เพราะเห็นว่าไม่ใช่การระบาดรอบ 2 เป็นเพียงการระบาดรอบใหม่เท่านั้น และคาดว่าจะไม่ส่งผลยาวไปถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งรัฐบาลต้องควบคุมไม่ให้บานปลายไปได้

ทั้งนี้ รัฐบาลจะต้องทำงานเชิงรุกในเรื่องของการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ ทำให้มีผู้ติดเชื้อให้น้อยที่สุด เพราะจะส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นในการท่องเที่ยว โดยทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เชื่อว่าเม็ดเงินสะพัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้จัดอยู่ที่ 1.3-1.5 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าซึ่งมีเงินสะพัดในช่วงเทศกาลปีใหม่อยู่ที่ 1.4 แสนล้านบาท

“สิ่งที่ภาคธุรกิจมีความเป็นห่วงมากที่สุดคือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจกระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจทุกจังหวัด ส่วนสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองแม้จะเป็นปัจจัยเสี่ยง แต่ไม่ได้กระทบเศรษฐกิจมากนัก ซึ่งภาคที่มีความกังวลมากที่สุดคือ กทม. และปริมณฑลที่เห็นว่าการเมืองจะกระทบต่อธุรกิจ การจับจ่ายใช้สอยของประชาชน นอกจากนี้ ยังกังวลเรื่องค่าเงินบาที่แข็งค่ากระทบต่อการส่งออกและขีดความสามารถในการแข่งขัน”

สำหรับปัจจัยบวกที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยมาจากมาตรการคนละครึ่ง ส่งผลต่อการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนและทำให้ร้านค้าขนาดเล็กได้รับผลดีจากมาตรการ สศช. เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 3/63ลดลง 6.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/63 เป็นต้น มาจากมาตรการคนละครึ่ง ส่งผลต่อการกระตุ้นการบริโภคของประชาชนและทำให้ร้านค้าขนาดเล็กได้รับผลดีจากมาตรการ สศช. เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 3/63ลดลง 6.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/63 เป็นต้น

ส่วนปัจจัยลบสถานการณ์ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง และการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเยาวชน และประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่อาจส่งผลกับประเทศไทยจะต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนอดีตที่ผ่านมา ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น

การส่งออกของไทยเดือน ต.ค. 63 ลดลง 6.71% มูลค่าอยู่ที่ 19,376.68 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าลดลง14.32% มีมูลค่าอยู่ที่ 17,330.15 ล้านดอลลาร์ และการส่งออกของไทยเดือน ต.ค. 63 ลดลง 6.71% มูลค่าอยู่ที่ 19,376.68ล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าลดลง 14.32% มีมูลค่าอยู่ที่ 17,330.15 ล้านดอลลาร์ และค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากระดับ 31.269 บาทต่อดอลลาร์ เป็น 30.477 บาทต่อดอลลาร์

ซึ่งสะท้อนว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศสุทธิไหลเข้าประเทศไทย และผลจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กลับมาจากการแพร่ระบาดของผู้เข้าประเทศโดยไม่ผ่านด่าน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ระยะเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนออกไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดให้มากขึ้น

นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า ภาคธุรกิจเห็นว่า รัฐบาลควรแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวหรือด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และมาตรการช่วยพยุงรักษาการจ้างงานโดยภาครัฐให้กับธุรกิจรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นมา เพื่อช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าไทย

นอกจากนี้ ควรผลักดันการส่งออกไปตลาดอื่น โดยเฉพาะตลาดจีนเพราะเป็นตลาดมีขนาดใหญ่ และเศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวหลังจากโควิด-19 มาตรการการเข้าประเทศอย่างปลอดภัย โดยประกาศใช้กับทุกด่านผ่านแดน ควรมีบทลงโทษกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบการควบคุมโรคจนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน