ปีนี้ได้ใช้ คมนาคม เปิด 12 เส้นทาง เพิ่มถนนเหยียบได้ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เผยวางเป้าเพิ่มอีกหลายเส้นทาง

วันที่ 14 พ.ค.64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามนโยบายกำหนดความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ว่า จะขยายผลการดำเนินการเพิ่มเติม ในสายทางต่างๆดังนี้ สายทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.)ดำเนินการได้ภายในปี 2564 จำนวน 6 สายทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงป้ายและเครื่องหมายจราจร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2564 ได้แก่

1.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ช่วงบ่อทอง – มอจะบก จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร

2.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ช่วงสนามกีฬาธูปะเตมีย์ – ต่างระดับคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ระยะทาง 10.0 กิโลเมตร

3.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ช่วงคลองหลวงแพ่ง จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง 11.0 กิโลเมตร

4.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ช่วงบางนา – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ระยะทาง 15.0 กิโลเมตร

5.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ช่วงทางน้ำหนองแขม – บ้านหว้า – วังไผ่ จังหวัดนครสวรค์ ระยะทาง 25.72 กิโลเมตร

และ 6.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ช่วงอ่างทอง – ไชโย – สิงห์ใต้ – สิงห์เหนือ – โพนางดำออก จังหวัดอ่างทอง – สิงห์บุรี ระยะทาง 63.0 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีสายทางที่ดำเนินการภายในปี 2564 โดยใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) อีกจำนวน 6 สายทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงกำแพงกั้น ติดตั้งป้าย เครื่องหมายจราจรและระบบ ITS คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 ได้แก่

1.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ช่วงเขาวัง – สระพระ ช่วงที่ 1 จังหวัดเพชรบุรี ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร

2.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ช่วงเขาวัง – สระพระ ช่วงที่ 2 จังหวัดเพชรบุรี ระยะทาง 11.5 กิโลเมตร

3.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9 ช่วงบางแค – คลองมหาสวัสกดิ์ กรุงเทพมหานคร ระยะทาง 9.8 กิโลเมตร

4.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ช่วงนาโคก – แพรกหนามแดง จังหวัดสมุทรสงคราม ระยะทาง 24.6 กิโลเมตร

5.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ช่วงเทคโนโลยีปทุมธานี – ต่างระดับเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี ระยะทาง 10.0 กิโลเมตร

และ 6.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ช่วงหนองแค – สวนพฤษศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี ระยะทาง
26.0 กิโลเมตร

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า สายทางที่จะดำเนินการในระยะถัดไปโดยใช้งบเหลือจ่ายประจำปี 2565 จำนวน 2 สายทาง ได้แก่ 1.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ช่วงต่างระดับคลองหลวง-ประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดปทุมธานี ระยะทาง 6.82 กิโลเมตร และ2.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ช่วงประตูน้ำพระอินทร์ – หนองแค จังหวัดอยุธยา ระยะทาง 27.18 กิโลเมตร

ส่วนสายทางที่จะดำเนินการในปี 2565 – 2571 อีกจำนวน 47 สายทาง โดยใช้เงินกู้จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)สายทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่

1) ถนนราชพฤกษ์ (นบ.3021) จังหวัดนนทบุรี ระยะทาง 25.2 กิโลเมตร

2) ถนนนครอินทร์ (นบ.1020) จังหวัดนนทบุรี ระยะทาง 12.4 กิโลเมตร

3) ถนนชัยพฤกษ์ (นบ.3030) จังหวัดนนทบุรี ระยะทาง 11.18 กิโลเมตร

4) ถนนข้าวหลาม (ชบ.1073) จังหวัดชลบุรี ระยะทาง 4.98 กิโลเมตร

5) ถนนบูรพาพัฒน์ บ้านฉาง (รย.1035) จังหวัดระยอง ระยะทาง 7.41 กิโลเมตร

6) ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ชม.3029) จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร

สำหรับเส้นทางที่สามารถดำเนินการได้ 2 เส้นทางแรก ประกอบด้วย ถนนราชพฤกษ์ และถนนนครอินทร์ ซึ่งจะใช้เงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในต้นปปี 2565 และอีก 4 เส้นทางจะสามารถเปิดให้บริการได้ปลายปี 2565

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน