เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 8 ธ.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมอบนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หลังคณะรัฐมนตรีเกษตรฯในยุคประยุทธ์ 5 เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยในการประชุมครั้งนี้มีนายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรฯนายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรฯ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส) ซึ่งหลังการรับฟังปัญหาและให้แนวทางแก้ปัญหาแก่เกษตรกร เพื่อปรับการทำงานแก้ปัญหาใหม่ ยึดศาสตร์พระราชาเป็นตัวตั้ง และตอบโจทย์การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม

นายสมคิด กล่าวหลังการมอบนโยบายว่า ในหลวงรัชกาลที่ 10 มีรับสั่งให้รัฐบาล คณะรัฐมนตรีดูแลประชาชนโดยเฉพาะคนจนผู้มีรายได้น้อย 30 ล้านคน ในฐานะรองนายกที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีในการดูแลภาคเกษตรฯ จึงดึงหลายหน่วยงานมาร่วมกับกระทรวงเกษตฯแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างครอบวงจร ดังนั้นการมาครั้งนี้ไม่ได้มาล้วงลูก ไม่ได้มาแทรกแซงการทำงาน แต่จะมาร่วมกับภาคเกษตรบูรณาการการทำงาน ทั้งภาคผลิต และฝ่ายการตลาดโดยกระทรวงพาณิชย์ มาร่วมผลักดันให้กลุ่มเกษตรกรมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ธ.ก.ส. และมหาดไทย จะบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งด้านการผลิต การตลาดของสินค้าเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพ โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ ปี 2561 ทุกภาคส่วนต้องกระจายรายได้ลงสู่รากหญ้า โดยเร่งผลักดันมาตรการเร่งด่วนเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรระหว่างรอการเก็บเกี่ยว เพื่ออัดอัดเงินลงสู่รากหญ้าให้เร็วที่สุด

“ธนาคารโลกออกรายงานว่า ปัญหาความยากจนของไทยเริ่มดีขึ้น และเริ่มเติบโตอย่างยั่งยืน จึงทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจของไทยกับอาเซียนเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ขณะนี้สัดส่วนมูลค่าการเกษตรของไทยมีสัดส่วนประมาณ 8-9 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีของประเทศ หากเทียบจำนวนเกษตรกรถือว่าน้อยมาก จึงต้องเร่งอุดช่องว่านี้ ผลักดันให้กลุ่มเกษตรกรมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยการบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งด้านการผลิต การตลาดของสินค้าเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนภาคเกษตรมีรายได้สูงขึ้นส่งผลให้สัดส่วนภาคเกษตรในจีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นได้” นายสมคิด กล่าว

รองนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลต้องการดึงกระทรวงด้านเศรษฐกิจมาบูรณาการร่วมกัน ทั้งกระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน ช่วยเหลือด้านการตลาด การผลิต ร่วมกับ ธ.ก.ส. โดยกระทรวงเกษตรฯกับ ธ.ก.ส.ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และดึงกระทรวงการท่องเที่ยวฯมาส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท เพราะเกษตรกรเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพของไทยเห็นได้จากจีนได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาด้านเกษตรฯ จึงผลิตสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดจำนวนมาก และทำให้แข่งขันตลาดได้ราคาถูก ขณะที่ไทยยังเผชิญกับต้นทุนสูง จึงต้องบริหารจัดการหลายด้าน

“ที่ว่างจากการเก็บเกี่ยว รอผลผลิตรอบใหม่ เกษตรกรจะต้องมีรายได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรจะเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อเกษตรกรที่ไปขึ้นทะเบียนคนจน เพื่อแก้ปัญหาเป็นรายครัวเรือน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องเข้ามาช่วยเรื่องการตลาด ไม่ใช่ปลูกมาแล้วไม่รู้จะขายใคร ต้องดึงภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคส่งออกเข้าร่วมสู้กับปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำด้วย ที่ผ่านมาปัญหาภาคเกษตรที่สำคัญคือการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน จึงได้ให้นโยบายไปว่าพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และผลไม้จะต้องมีเจ้าภาพที่ระบุตัวบุคคลได้” นายสมคิด กล่าว

นายสมคิด กล่าวต่อว่า จากนี้ต้องดึงผู้เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนมาบูรณาการทำงานร่วมกันในรูปคณะกรรมการ สร้างระบบฐานข้อมูลกลาง รวมถึงระบบเตือนภัยล่วงหน้า หากต้องจ้างหน่วยงานภายนอกให้เข้ามาช่วยเรื่องข้อมูลก็ทำได้เลย ไม่ใช่ส่วนราชการต่างคนต่างทำ ทำให้ตัวเลขไม่ตรงกัน ส่งผลให้การบริหารผิดพลาด รัฐบาลนี้มีเวลาเหลืออีกเพียงแค่ปีเดียว และนายกรัฐมนตรีประกาศให้ทุ่มสรรพกำลังไปที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ดังนั้นภารกิจที่มอบหมายไปจะต้องถูกขับเคลื่อนโดยเร็วเพื่อให้เกิดผลในทางปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมยืนยันว่าชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องดำเนินการ คือ ปัญหายาง หลักการคือ ปัญหายาพาราเป็นปัญหาที่สะสมกันมา 15 ปีที่แล้ว ปลูกยางเฉพาะที่ภาคใต้ เสร็จแล้วก็ขยายไปปลูกภาคเหนือและอีสาน เพราะราคายางสูง ไม่มีสินค้าทดแทน ซึ่งเกษตรกรก็มีรายได้เพิ่มเติม แต่ 15 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันลด ผลผลิตล้นตลาดแต่ไม่เคยมีการคิดเพิ่มมูลค่าให้กับยาง ดังนั้นต้องแก้ไขปัญหา คือ ในระยะสั้น ถ้าจะประคองให้ราคานั้นอยู่ในภาวะที่เหมาะสม สมเหตุสมผลได้อย่างไร เรารู้ว่าต้นทุนการผลิตยางอยู่ที่เท่าไหร่ การที่ราคายางพารานั้นต่ำกว่าต้นทุนไม่ควรอยู่แล้ว ตอนนี้กระทรวงเกษตรฯ ก็กำลังหารือกับผู้ประกอบการ ส่วนในระยะยาว ในการทำราคายางให้เหมาะสม เพิ่มมูลค่ามากขึ้น

“ต้องเชื่อมเกษตรกรเข้าสู่ตลาดโดยการพัฒนาดิจิตัลอีโคโนมิค ขายของผ่านระบบออนไลน์ โดยให้ชุมชนที่เข้มแข็งเป็นหัวหอก และถ่ายถอดองค์ความรู้ และปล่อยสินเชื่อเพื่อให้ภาคเกษตรได้เข้าถึง เมื่อมีหัวหอกประสบความสำเร็จ จะเกิดการเลียนแบบ เกิดการสอนองค์ความรู้ มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคเกษตรของไทยครั้งครั้งใหญ่ ภาคสหกรณ์เป็นเรื่องใหญ่ โดยผมกำชับให้รมว.เกษตรฯ ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ สหกรณ์เป็นองค์กรที่สำคัญ เพราะถ้าพื้นที่เข้มแข็ง เกษตรกรเข้มแข็ง สหกรณ์ของเรามีเยอะบางส่วนก้แข็งแรง บางส่วนก็อ่อนแอ จะไม่มีการนั่งดูว่าเขาเป็นยังไงแล้วทำเฉย เมื่อกี้อธิบดีส่งเสริมได้รับนโยบายแล้ว ไม่ต้องไปนั่งดูพรบ. ลงไปดูและประชุมเลยว่าจะพํฒนาเขายังไง ให้เขาตื่นตัว ไปดูเรื่องหนี้ โดยกระทรวงการคลังบอกว่าจะมาช่วยดูให้ แต่ทางนี้บอกว่าไม่เป็นไรเขาทำได้ แบงก์ชาติเลยออกมาตีกรอบให้ ตรงนี้ก็ให้ช่วยกันให้ละเอียด นโยบายคือใหทำการสอดส่องให้เข้มแข็ง” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน