บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จัดงาน Thai GIS User Conference 2021 หรือ TUC2021 สัมมนาเชิงวิชาการด้านระบบภูมิสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ครั้งที่ 25 ในรูปแบบ Virtual Event ภายใต้แนวคิด “GIS – Interconnecting Our Nation” เผย Digital Twins ก้าวสำคัญของเทคโนโลยีแห่งอนาคต สู่การเป็น Smart City อย่างเต็มรูปแบบ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้สนใจกว่า 2,000 คนเข้าร่วมงาน

น.ส.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ ซึ่งสอดรับกับทิศทางในการดำเนินธุรกิจของอีเอสอาร์ไอ ที่มุ่งพัฒนาโซลูชันผ่านเทคโนโลยี GIS ด้วยซอฟต์แวร์ ArcGIS เพื่อหนุนอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจัดงาน Thai GIS User Conference หรือ TUC ขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี

ล่าสุดจัดงาน TUC2021 ครั้งที่ 25 สัมมนาเชิงวิชาการด้านระบบภูมิสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เพื่อแสดงศักยภาพ แนะนำ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ GIS และงานสำรวจอย่างครบวงจร มีการจำลองสภาพแวดล้อมอีเวนต์เสมือนจริงบนออนไลน์ (Virtual Event) ภายใต้แนวคิด “GIS – Interconnecting Our Nation” ขับเคลื่อนประเทศด้วยการเชื่อมโยงและบูรณาการระบบต่างๆ ระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ประชาชน และสังคมโดยรวม

ภายในงาน TUC2021 มีการสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ด้านภูมิสารสนเทศ GIS ที่ครอบคลุมการทำงานทุกรูปแบบทั้ง Enterprise GIS, Cloud GIS, GIS Analytics, Mobile GIS, Ready-to-Use Apps และการนำเทคโนโลยีไปทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้แก่ GeoAI, Machine Learning, Big Data และ Data Science รวมถึงโซลูชัน ArcGIS เฉพาะด้าน

และยังได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มาร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “In Search of Smart and Liveable City” From GIS, Digital Twins, to Metaverse

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายและสาธิตการนำเทคโนโลยี GIS มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาเมืองไปสู่ความเป็น Smart City ด้วย Digital Twins ในหัวข้อ ‘Smart City With Digital Twins’

ทั้งนี้ ในการบรรยาย ได้พูดถึงการนำ ArcGIS Product มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเมืองในจังหวัดชลบุรีให้เป็น Smart City ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1. Smart Urban Design & Planning การออกแบบและวางผังเมืองที่มีประสิทธิภาพของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยการจำลองเมืองในรูปแบบ 3 มิติ ด้วย ArcGIS Urban ที่มีตัวช่วยเรื่องรายละเอียดและความสวยงาม อย่าง ArcGIS CityEngine

2. Smart Operational Efficiency การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของทุกภาคส่วน เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที เช่น การสำรวจพื้นที่ การเก็บรวมรวมข้อมูล การมอนิเตอร์สถานะต่างๆ และการนำข้อมูลมาใช้ในการทำแผนพัฒนาพื้นที่ ด้วย ArcGIS Field Maps และ ArcGIS Dashboards

3. Smart Data-Driven Performance การใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและ Real-Time โดยนำแผนที่ภาพถ่ายมาวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาพื้นที่สีเขียว โดยใช้ ArcGIS Image Analyst Extension บน ArcGIS Pro และ ArcGIS Image Server

และ 4. Smart Civic Inclusion การมีเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ด้วยการสร้าง Web Application ที่ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องเขียน code เพื่อติดตามสถานการณ์ Covid-19 ด้วย ArcGIS Experience Builder และ สำรวจข้อมูลจากประชาชน ด้วย ArcGIS Survey123

ความก้าวหน้าของ Digital Twins ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเมืองให้ก้าวสู่ Smart City อย่างเต็มรูปแบบ ผสามผสานเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้ง GIS ซึ่งเป็น 1 ในเทคโนโลยีที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบแผนที่ มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดข้อมูลดิจิทัลที่เป็นตัวแทนของสภาพแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน และบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากรโดยเน้นการออกแบบที่ดี เน้นการทำงานจากทุกภาคส่วน และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนโดยรวม

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ArcGIS 2021: System Overview and New Feature Highlights” เน้นการนำเสนอคุณสมบัติหลักและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ ArcGIS ที่ตอบโจทย์การทำงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติการจนถึงระดับผู้บริหาร สำหรับการแสดงผล บริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการยกระดับประเทศ และยังมีหัวข้อการบรรยายพิเศษ หรือ Technical Session เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

“หนึ่งในเป้าหมายของการจัดงาน TUC2021 คือต้องการให้ทุกภาคส่วนได้เห็นภาพรวมของการพัฒนาเมืองไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ด้วยการนำ Digital Twins มาช่วยในการวิเคราะห์ ออกแบบ วางแผน และจัดการ โดยบูรณาการเทคโนโลยี GIS ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น IoT หรือ Internet of Things คลาวด์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และ Big Data เพื่อให้การวางแผนการทำงานมีประสิทธิภาพและช่วยในการวิเคราะห์ ประเมิน คาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และนำไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเมืองไปสู่ความเป็น Smart City ในอนาคตต่อไป เพื่อยกระดับไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานแข็งแรงและเพื่อความยั่งยืนในอนาคต”น.ส.ธนพร กล่าวสรุป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน