โควิด : นักวิชาการห่วงทั่วโลกคุม โอมิครอน ไม่อยู่ กระทบส่งออกไทย พร้อมติดตามสถานการณ์ปี 65 ใกล้ชิด โควิด , เงินเฟ้อ , ราคาน้ำมัน ยังถ่วงเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย กล่าวถึงผลการศึกษา “วิเคราะห์ส่งออกไทย ปี 2565” ว่า ได้ทำการวิเคราะห์ภายใต้ปัจจัยบวก ปัจจัยลบ และปัจจัยที่ต้องติดตามต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี

1)คือกรณีถ้าโอมิครอนระบาดในโลกไม่รุนแรง ประเทศไทยจะมีมูลค่าการส่งออก 275,074 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ270,952 – 279,082 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว 4.8% (3.2%-6.3%)

2.กรณีถ้าโอมิครอนระบาดในโลกอย่างรุนแรง ประเทศไทยจะมีมูลค่าการส่งออก 262,991 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ หรือ 259,050 – 266,822 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือขยายตัว 0.2% (-1.3%-1.6%)

สำหรับปัจจัยบวก ปัจจัยลบ และปัจจัยที่ต้องติดตามที่สำคัญดังนี้ ปัจจัยบวกต่อการส่งออกที่สำคัญคือ 1)เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้ายังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 2)เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า 3)หลายประเทศมีการฉีดวัคซีน โควิด-19 ที่ครอบคลุมประชากรมากขึ้น 4)แนวโน้มความต้องการสินค้าสุขภาพและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อที่มากขึ้น

ปัจจัยลบต่อการส่งออกที่สำคัญคือ 1)การระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศจากสายพันธุ์โอมิครอน 2)ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ ที่ลดทอนกำลังซื้อของผู้บริโภค 3)นโยบาย ZERO COVID ของจีน 4)ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางสูง 5)ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น 6)ปัญหาการสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน

ส่วนประเด็นที่ต้องติดตาม 1)ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 65 2)รถไฟลาว-จีน 3)นโยบายการเปิดปิดประเทศของประเทศคู่ค้าหรือมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่อาจเข้มงวดขึ้นของประเทศคู่ค้า 4)สงครามการค้า เทคโนโลยี ค่าเงินระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ 5)ภาษีคาร์บอนตลาดยุโรปในปี 2566

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน