นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท พาลาดิน เวิร์คแวร์ จำกัด ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป แบรนด์ “Blue Bear” และ “Graphenix” เปิดเผยว่า ปี 2568 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม น่าจะได้เห็นการส่งออก ใกล้เคียงกับการนำเข้ามีปริมาณ เพราะแค่ 9 เดือน ไทยส่งออกเสื้อผ้ามีมูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้า มีมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12% ระหว่างการนำเข้าและส่งออกห่างกันเพียง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เริ่มเห็นสัญญาณว่า อนาคตไทยจะกลายเป็นผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย และอุตสาหกรรมนี้ก็จะค่อยๆ หายไป โดยการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 9 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 160,000 ล้านบาท หากรวม 3 เดือนสุดท้าย คาดว่าทั้งปีไทยน่าจะส่งออกอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ 210,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2% ซึ่งลดลงจากปี 2566 โดยกลุ่มการ์เมนต์ ส่งออกบวกเกือบ 9% ขณะที่กลุ่มสิ่งทอ ผ้าผืน กลับติดลบ 1%

คาดว่าปีหน้าไทยจะนำเข้ากลุ่มสิ่งทอมากกว่าการส่งออก โดยในช่วง 9 เดือนไทยนำเข้า บวก 11% ซึ่ง 49% เป็นสินค้าที่มาจากจีน รอลงมาเป็น เวียดนาม และอิตาลี 5-6% ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพ สาเหตุเป็นเพราะสินค้านำเข้าถูกกว่าผลิตเองในประเทศ ซึ่งเมื่อสินค้ามีราคาถูกกว่าผู้ประกอบไทยก็นำเข้าดีกว่าผลิตเองที่ต้นทุนที่สูง ทั้งค่าแรง ลงทุนเครื่องจักร เป็นต้น

ส่วน การย้ายฐานการผลิตของโรงงานไทยปัจจุบันไม่มีเพิ่มขึ้นจาก 21-22 โรงงาน ที่ย้ายฐานการผลิตไปแถบประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อ 20 ปีก่อน เหลือเพียงรายเล็กเท่านั้น ส่วนทุนต่างชาติที่สนใจเข้าใจเข้ามาลงทุนไทย คือ จีน เพราะโดนกีดกันจากประเทศอื่น โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิต ซึ่งทุนจีนที่มาลงทุนไทยมี 2 แบบ คือมาสร้างงาน สร้างฐานการผลิตเอาเงินมาลงทุน ทำให้ไทยมีการส่งออกเพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงานในไทย และอีกรูปแบบ คือ การเข้ามาสวมสิทธิ ซึ่งก็ต้องช่วยกันตรวจสอบ

ปัจจุบัน จีนเข้ามาตีตลาด ส่งออกทั้งวัตถุดิบ เส้นด้วย เสื้อผ้า จำนวนมาก และจีนมีต้นทุนถูกมากหากเทียบกับสินค้าไทย จากนี้ไปไทยจะเป็นเทรดเดอร์และผู้ซื้อ ไม่ใช่ผู้ขาย ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการไทยเองย้ายฐานการผลิต ประมาณ 21-22 โรงงาน ส่วนใหญ่ไปเวียดนาม รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว และมีย้ายฐานการผลิตไปที่ยุโรปตะวันออก แอฟริกาใต้ อียิปต์ เพราะเวลาส่งออกไปยุโรปไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

นายยุทธนา กล่าวต่อว่า ล่าสุด บริษัทได้พัฒนานวัตกรรมผ้าจากเส้นใยกราฟิน หรือ ผ้ากราฟีน ถือว่าเป็นเจ้าแรกของไทย ที่ผลิตจากธาตุใหม่ของโลกสกัดจากแร่ธาตุกราไฟท์ ที่มีจุดเด่นหลายด้าน จนเรียกว่าเป็นวัสดุแห่งอนาคต ที่มาแทนสินค้าหลายๆตัวในโลก เพราะผ้ากราฟินช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดกระตุ้นให้ร่างกายมีออกซินเจนเพิ่มขึ้น สามารถตอบกระแสเทรนรักสุขภาพของผู้บริโภคในยุคนี้ได้

สำหรับ Graphenix เป็นการใส่นวัตกรรมเข้าไปในใยผ้า ถือเป็นจุดเล็กๆ ให้ตลาดสิ่งทอ และทำให้ตลาดเห็นว่า ไทยเองสามารถพัฒนานวัตกรรมระดับโลกได้ซึ่งอาจจะจุดประกายให้ผู้ประกอบการอื่นสนใจที่จะพัฒนาผลิตไทยให้แข่งขันกับประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง“นวัตกรรม” ทางรอดอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย หลังถูก “จีน” ตีตลาด

สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องทำ นอกจากการใส่นวัตกรรมลงไปในสินค้า การหาตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อยังคงมีความจำเป็น เช่น ตลาดยุโรปที่ยังคงมีกำลังซื้อ แต่พฤติกรรมของผู้ค้าและผู้บริโภคในฝั่งยุโรป คือ ซื้อจำนวนน้อย แบบหมุนเวียนเร็ว มองว่ายังสามารถเข้าตลาดได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องหาตลาดที่เหมาะกับไลน์การผลิต

สำหรับปัจจัยลบที่รุมเร้าต่างๆ ทั้ง เศรษฐกิจโลก ค่าแรง อัตราดอกเบี้ย ค่าเงิน ต้นทุนพลังงานต่างๆ ทั้งค่าไฟ น้ำมัน การแข่งขันกับประเทศอื่นๆมีผลกระทบกับไทย ผู้ประกอบการไทยต้องปรับแผนงานให้ทันกับเหตุการณ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน