พาณิชย์ เผยผลโพล หนี้ครัวเรือน ก.พ.ปรับลดลง อาชีพ ขรก.ก่อหนี้มากสุด อ้อนแบงก์ลดดอก

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผอ.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับภาระหนี้สินประจำ หรือ หนี้ครัวเรือน เดือน ก.พ 2568 ว่า ผู้ตอบ 50.99 % มีภาระหนี้สิน ซึ่งลดลงจากผลสำรวจปีก่อนซึ่งมีสัดส่วน อยู่ที่ 62.52 %

โดยพนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน มีสัดส่วนภาระหนี้ 68.18 % , 57.16% และ 53.15% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มนักศึกษาและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนการมีภาระหนี้น้อยที่สุด ที่ 20.51 % และ 26.74% ตามลำดับ

เมื่อแบ่งตามรายได้ พบว่า ผู้มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป มีสัดส่วนหนี้มากที่สุดที่ 81.25 %รองลงมาคือ รายได้ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาท ที่ 76.15 % และกลุ่มรายได้ระหว่าง 40,001 – 50,000 บาท ที่ 62.96%

สาเหตุที่ทำให้เกิด หนี้ครัวเรือน มากที่สุด คือการซื้อที่อยู่อาศัย และ ยานพาหนะ ที่ 27.47 %รองลงมาคือ มีค่าใช้จ่ายประจำที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ 25.56% และนำเงินไปลงทุน 11.94% โดยคนส่วนใหญ่ 79.8% ยังคงเป็นหนี้ ในระบบ รองลงมา 13.53% เป็นหนี้ทั้ง ในระบบและนอกระบบ และ 6.58% เป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากผลการสำรวจในปี 2566 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 7.19%

“พบว่า พนักงานของรัฐเป็นผู้มีสัดส่วนภาระหนี้ในระบบมากที่สุด ขณะที่เกษตรกรมีหนี้ทั้งในและนอกระบบมากที่สุด และอาชีพรับจ้างอิสระที่มีสัดส่วนหนี้นอกระบบมากที่สุด”

รูปแบบหนี้สิน ส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมากที่สุด28.90% ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน ที่ 48.44 %ตามมาด้วยหนี้บัตรเครดิต 24.45% และหนี้จากการกู้ยืมสหกรณ์ 15.63%

ขณะที่พนักงานเอกชนที่รายได้ต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้จากบัตรเครดิตมากที่สุด และพนักงานของรัฐและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีหนี้สินจากการกู้สหกรณ์มากที่สุด

การชำระหนี้รายเดือน พบว่า ผู้ตอบมีหนี้ในระบบที่ต้องชำระ ไม่เกิน 10,000 บาท มากที่สุด 56.79% รองลงมาคือ ชำระหนี้ 10,001 – 30,000 บาท ที่ 28.58% และชำระหนี้ 30,001 – 50,000 บาท ที่ 4.70 %

ส่วนการชำระหนี้นอกระบบ ผู้ที่มีหนี้สิน มีการชำระหนี้รายเดือนไม่เกิน 10,000 มากที่สุด ที่ 23.69% รองลงมาคือ การชำระหนี้นอกระบบ 10,001 – 30,000 บาท และ 30,001 – 50,000 บาท ตามลำดับ

มาตรการที่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ มากที่สุดคือลดอัตราดอกเบี้ย ที่ 46.57% รองลงมาคือ การพักหรือขยายเวลาการชำระหนี้ ที่ 33.21 % ส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ที่ 15.21% โดยกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20

“จะเห็นว่าภาวะหนี้สินครัวเรือนในเดือนก.พ. ปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และการลดดอกเบี้ยลง 0.25% ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยอาชีพพนักงานของรัฐ มีสัดส่วนการก่อหนี้มากที่สุด ขณะที่ผู้ตอบส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือดูแลเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ให้น้อยลง ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน