รายงานการเมือง : แบ่งเขตพิสดาร กระทบเลือกตั้ง

รายงานการเมือง : แบ่งเขตพิสดาร กระทบเลือกตั้ง – โฉมหน้าการแบ่งเขตเลือกตั้งส.. 350 เขต เป็นประเด็นร้อนเรียกแขก

โดยเฉพาะจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ออกมารุมถล่ม

ชี้ข้อพิรุธการใช้อำนาจแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. จนอาจส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ไม่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ตามที่ประชาชนตั้งความหวังเอาไว้

แม้ กกต.จะยืนยันการแบ่งเขตในรอบแรก เป็นไปตามกฎหมาย

แต่เมื่อมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์และดีกว่า ซึ่งน่าจะหมายถึงการใช้ .44 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 16/2561 กกต. ก็ปรับปรุงการแบ่งเขตใหม่ พิจารณาเป็นลักษณะเฉพาะแต่ละพื้นที่

การแบ่งเขตครั้งนี้ทำตามความเหมาะสมของพื้นที่ ภูมิภาคและจังหวัด คล้ายกับการตัดเสื้อให้ตรงตามรูปแบบของแต่ละจังหวัดนายณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต.ระบุ

ขณะที่นักการเมือง 2 พรรคใหญ่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ตั้งข้อสังเกตว่า

ในหลายจังหวัดถูกแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายเลือกตั้ง

ถึงขั้นใช้คำว่าเป็นการแบ่งเขตแบบพิสดารและอัปลักษณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา พร้อมยกตัวอย่าง .สุโขทัย กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ฯลฯ

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง อดีต ..นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การแบ่งเขตเลือกตั้ง .นครราชสีมา ถูกแบ่งกระจุยกระจายอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เขตอำเภอเมืองถูกซอยย่อยออกเป็น 4-5 เขต .ปากช่องซึ่งมีประชากรเท่ากับ 1 เขตเลือกตั้ง แต่กลับไปตัดบางตำบล ออก ขณะที่ .สีคิ้ว ไม่เคยรวมกับ .ขามทะเลสอ มาก่อน แต่ครั้งนี้กลับนำมารวมกัน

ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ชี้พิรุธการแบ่งเขตเลือกตั้ง .สุโขทัย ว่า

รูปแบบที่ประกาศออกมา เป็นรูปแบบที่ 4 มีความพิสดาร ผิดปกติไปจาก 3 รูปแบบแรกที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

คำถามคือใครขอมา ในเมื่อไม่ได้มาจากการเสนอของสำนักงาน กกต.จังหวัดอดีตกกต.ตั้งข้อสงสัย

อย่างไรก็ตามภายใต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของนักการเมืองที่กระหน่ำเข้าใส่สี่ทิศแปดทาง นำมาสู่บทสรุปรวบยอดว่าเป็นการออกแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง

ที่มีจุดมุ่งหมายเอื้อประโยชน์ และสร้างความได้เปรียบให้กับบางพรรคการเมือง ที่ประกาศจุดยืนสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ คสช. อยู่เหนือพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย

ขณะที่การฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ตามที่รองนายกฯบางคนชี้ช่องไว้นั้น ในทางปฏิบัติไม่อาจเป็นจริง

เพราะอย่าลืมว่าการแบ่งเขตของกกต.ครั้งนี้ กระทำภายใต้อำนาจมาตรา 44 ซึ่งถือเป็นที่สุด ไม่สามารถฟ้องร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้อีก

ประเด็นการแบ่งเขตเลือกตั้งนี้

ถูกมองว่าเป็นแผนการขนาดย่อย ที่ต้องดำเนินการให้ลุล่วง ก่อนถึงจุดชี้ตะตาว่าแผนการขนาดใหญ่ในการสืบทอดอำนาจภายหลังการเลือกตั้ง ตามโรดแม็ปที่รัฐบาล คสช.กำหนดไว้เบื้องต้นจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

จะสำเร็จงดงาม หรือเสียของในที่สุด

หากมองแบบปะติดปะต่อจะพบว่าการแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นจิ๊กซอว์ตัวท้ายๆ ที่กำหนดให้เชื่อมต่อเข้ากับจิ๊กซอว์สำคัญตัวอื่นๆ

ไม่ว่าจะเป็นการดีไซน์ระบบการเลือกตั้งใหม่ เป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสม

ใช้บัตรใบเดียวเลือกตั้งส.. 2 ระบบ โดยการนับ ทุกคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งส.. 350 เขต ก่อนนำไปหาคะแนนที่พึงมี และคะแนนสำหรับส..บัญชีรายชื่อ

กล่าวโดยสรุปก็คือ การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ออกแบบมาเพื่อสกัดกั้น ไม่ให้พรรคการเมืองใดได้รับเลือกตั้งส..เกินกึ่งหนึ่ง หรือ 250 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง

ส่วนจะหมายถึงพรรคเพื่อไทยเป็นการเฉพาะหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมรับรู้กันอยู่

การก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ ก็เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญ ตั้งขึ้นมาเพื่อทำให้กระบวนการสืบทอดอำนาจ มีความชอบธรรมมากขึ้น

ด้วยการใช้เครื่องดูดพลังมหาศาล ทั้งผลประโยชน์ การช่วยเหลือด้านคดีความ เป็นเครื่องมือกวาดต้อน อดีตส..จากพรรคคู่ปรับมาเข้าคอกตัวเอง

การแบ่งเขตเลือกตั้งพิลึกลั่นผสมความอัปลักษณ์ สอดรับกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เคยระบุไว้ก่อนหน้าว่า

การแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่กกต.ดำเนินการภายใต้คำสั่ง .44 ได้ถูกใช้เป็นหัวข้อเจรจาต่อรองให้อดีตส..ย้ายพรรคด้วยเช่นกัน

การที่ 4 แกนนำคนสำคัญของพรรคพลังประชารัฐ ไม่ลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี การนำชื่อนโยบายสำคัญของรัฐบาลไปตั้งเป็นชื่อพรรค การมีกระแสข่าวเตรียมเสนอชื่อพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯต่ออีกสมัย

แสดงถึงความเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับรัฐบาล คสช.

ดั้งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ทั้งการลงพื้นที่เข้าหาประชาชนในนามครม.สัญจรซึ่งจัดขึ้นถี่ยิบมาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี 2561 หรือในจังหวะที่รัฐบาลทุ่มงบฯมหาศาล กว่า 8 หมื่นล้านบาท

ออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุในช่วงปีใหม่ รวมถึงมาตรการดูแลยางพาราปาล์มน้ำมัน และมาตรการช่วยเหลือข้าราชการเกษียณที่ได้รับบำนาญ

ล่าสุดกระทรวงการคลังเตรียมเสนอรัฐบาลใช้เงินหลวงอีกหมื่นล้าน ออกมาตรการแจกอั่งเปา ช็อปคืนภาษีช่วงเทศกาลตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์ 2562

จะถูกครหาว่าเป็นการหว่านโปรย เพื่อหวังผลทางการเมืองในช่วงใกล้ เลือกตั้ง

นอกจากการตั้งพรรคการเมืองเป็น ฐานรองรับการสืบทอดอำนาจหลัง เลือกตั้ง การได้มาซึ่งส..จำนวน 250 คน ยังเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในส่วนนี้เช่นกัน

กระบวนการเลือกส..กลุ่มอาชีพ 200 คน เพื่อเสนอให้คสช.เลือก 50 คน ภายใต้งบประมาณดำเนินการ 1,300 ล้านบาท เริ่มต้นเปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน และปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 30 ..ที่ผ่านมา

สื่อบีบีซีไทย ระบุถึงเรื่องนี้ตอนหนึ่งว่า ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย ทำให้นายณัฏฐ์ เล่าสีห์สวกุล รองเลขาธิการ กกต.ประเมินว่า การเลือกส..ครั้งนี้จะเงียบที่สุด ในโลก

เพราะเขาไม่ได้ต้องการให้เป็นข่าว แต่ต้องการให้คนกลุ่มเล็กๆ เลือกกันเอง แบบกุ๊กๆ กิ๊กๆ แล้วคสช.ก็ไปหยิบมา 50 คนแบบเงียบๆ

เป็น 50 คนที่จะไปรวมกับ 194 คนจากการพิจารณาสรรหาของ คสช. และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่เป็นส..โดยตำแหน่งอีก 6 คน รวมเป็น 250 คน

ในระยะเริ่มแรกของการใช้รัฐธรรมนูญตามบทเฉพาะกาล .. 250 คนจะมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี

และจะเป็นก๊อกสองในการมีส่วนร่วมกับส.. 500 คน ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ในกรณีก๊อกแรกคือพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุน คสช. ได้เสียงรวมกันไม่ถึง กึ่งหนึ่งหรือ 250 คน

250 ..จึงเสมือนเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้แผนสืบทอดอำนาจเกิดล้มเหลวในนาทีสุดท้าย

ดังนั้น ถึงงบฯดำเนินการ 1,300 ล้านบาท ใคร จะว่าไม่คุ้ม แต่สำหรับ คสช.แล้วต้องถือว่าคุ้มเสีย ยิ่งกว่าคุ้ม

ในสถานการณ์โดยรวม หากมองจากมุมนี้ถือว่ารัฐบาล คสช.สามารถกุมสถานการณ์ความได้เปรียบก่อนลงสนามไว้ได้แล้วครบถ้วนแทบทุกจุด

ที่เหลือก็เพียงแต่รอผลตัดสินในวันเลือกตั้งจริงเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปถึงจุดชี้ขาดนั้น ผู้มีอำนาจต้องตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 จริงหรือไม่

เนื่องจากมีกระแสข่าวล่าสุด ว่าอาจเกิดปัญหาทางเทคนิคสำคัญบางประการ

รวมถึงประเด็นการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 350 แบบตามจำนวนเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างยุ่งยาก ที่อาจทำให้โรดแม็ปเลือกตั้ง 24 กุมภาพันธ์ 2562

เกิดความไม่แน่นอนขึ้นอีกระลอก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน