คอลัมน์ ข่าวสดเยาวชน

เฮือนไม้โบราณอายุกว่า 100 ปี ตั้งตระหง่านงดงามท้าทายกาลเวลา วันนี้ยังมี มนต์ขลัง ไม่เงียบงันเหมือนเก่าก่อน

แหล่งเรียนรู้สถาปัตยกรรมล้านนา เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนอีกครั้ง ในงาน “แอ่วเฮือน เยือนผญา พิพิธภัณฑ์มีชีวิต : วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ชนเผ่า และชาติ พันธุ์ล้านนา” จัดขึ้นโดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับชมรมส่งเสริมสล่าล้านนา และโฮงเฮียนสืบ สานภูมิปัญญาล้านนา ศูนย์การเรียนรู้ภูมิ ปัญญาไทย ไตลื้อบ้านใบบุญ โดยการสนับ สนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย (ททท.) เพื่อจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ วัฒน ธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3
ภายในเฮือนไม้จัดแสดงวิถีชีวิต ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องแต่งกายของชนเผ่าชาติพันธุ์ล้านนา และกลุ่มชาติพันธุ์ ไทลื้อ ไทเขิน ไทยวน และไทยใหญ่ รวมถึงวัฒนธรรมอาหารที่มีเสน่ห์และเอกลักษณ์

ใต้ร่มไม้เขียวครึ้ม เสียงเพลงและดนตรีลอยมาเบาๆ สลับกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม ร่วมด้วยการสาธิตงานศิลปหัตถกรรม “ลานสรวง ข่วงศิลป์” โดยสล่าพื้นบ้าน พ่อครู แม่ครูที่ชำนาญงานฝีมือ ทั้งงานดุนโลหะ งานปั้น แต้มสีลายคำ จักสาน ทำว่าว ฉลุกระดาษสา ทำโคม และมัดย้อม

ยังมีของเล่นโบราณที่น่าสนใจ พร้อมเปิดโอกาสให้ทำเอง เล่นเอง ในกิจกรรม “ม่วนงัน ของเล่น 4 ภาค” ของเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติและหา ได้จากสิ่งรอบตัว ทุกคนที่ได้ลงมือทำต่าง ม่วนขนาด

“ละอ่อนมันนัก ยายก็อิด แต่ก่ม่วน บ่ง่อม” คำบอกเล่าเผยความรู้สึกของ แม่อุ้ย คำใส เสมพิพัฒน์ ศิลปินพื้นบ้านด้านหัตถกรรม พื้นบ้าน การทำโคมล้านนา ตุงล้านนา วัย 86 ปี ครูภูมิปัญญาพลังใจเต็มร้อยที่สอนทำโคมลักษณะต่างๆ ไม่ซ้ำแบบ

อุ้ยคำใส หญิงชราร่างเล็กแต่ยังคล่องแคล่ว บอกเล่าต่อด้วยน้ำเสียงแผ่วเบาขณะสอนจีบกระดาษเพื่อทำโคมรูปฟักทองว่า ตั้งใจมาสอนละอ่อน มาช่วย ยายบัวผาย แสนกลางเมือง เพราะแต่ละปีละอ่อนมันมานัก เลยมาช่วย ไม่อยากให้มันหายไปuntitled

“คนรุ่นยายปิ๊กบ้านเก่าไปหมดแล้ว เหลือแต่ยายอีก 2 คนก็นอนแช่ลุกบ่ขึ้น บ่สอนวันนี้แล้วจะสอนวันไหน เฮามันคนเฒ่าแล้ว” น้ำเสียงยายคำใส เจือความห่วงใย ไม่อยากให้ภูมิปัญญาเหล่านี้สูญหายไปกับตนเอง เช่นเดียวกับความตั้งใจของพ่อครูแม่ครูคนอื่นในวัยใกล้เคียงกัน

“มีละอ่อนตามไปเรียนที่บ้าน มีหลายโรงเรียนที่ครูพาไปเรียนยกชั้น เช่น ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย ร.ร.กาวิละ วิทยาลัย ถ้าละอ่อนสนใจก็ทำได้ เป็นความรู้ เป็นอาชีพ ติดตัว บ่มีใครเอาไปจากเขาได้ ทุกวันนี้ยายไม่ได้อยู่เฉยๆ ก็ทำวันละเล็กละน้อยเก็บสะสม ถึงวันลอยกระทง งานยี่เป็ง ทำไม่ทันและไม่พอขาย” แม่ครูบอกเล่าอย่างภาคภูมิใจ

ด้านเยาวชนจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ที่อยู่ใกล้ต้นสลากย้อม จ๋า น.ส.รวินันท์ ศิริเลิศ อายุ 17 ปี และ ฝ้าย น.ส.รวิสรา รวิเดช อายุ 16 ปี ชั้นม.5 ร่วมกันบอกเล่า
2
“งานนี้เผยแพร่ความรู้ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ไม่เคยรู้จัก ได้มาเรียนรู้หลายฐาน เช่น มัดย้อม ของเล่นโบราณ มีความสุขและน่าสนใจ ได้เรียนรู้ความเป็นล้านนาต่างๆ ที่ครูนำมาเผยแพร่ การต้องลาย ตัดตุงกระดาษ ลายคำ ลวดลายต่างๆ เคยเห็นตามกำแพง ผนังวัด หางตุง แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร เชื่อว่ายังมีเด็กหลายคนไม่รู้และเขาอยากรู้แต่ไม่มีโอกาส ถ้ามีเวลาอยากให้มางานนี้ เพราะเป็นสิ่งที่เราควรรู้ เพราะเราเป็นคนเมือง เด็กรุ่นใหม่ต้องสืบสาน ล้านนาและความเป็นไทย” น้องจ๋ากล่าว

ด้านฝ้ายเล่าว่า ชอบฐานปั้นดิน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง หลายคนมีไอเดียที่แตกต่างกัน ใส่ปีก ใส่เหล็กดัดฟันให้ไดโนเสาร์ สนุก ชอบทุกฐาน แม้มีหลายอย่างที่หลายคนไม่รู้ เช่น หนูไม่เคยเห็นการต้องลาย การตอกดุนโลหะ ช่วยกระตุ้นเราว่าเราเป็นคนเมืองนะ ทำไมบางสิ่งบางอย่างเราไม่รู้จัก พอได้มาเห็นทำให้คิดว่าเราต้องช่วยกันอนุรักษ์และรักษาไว้

ขณะที่สต๊าฟสองสาวประจำฐาน “วาดภาพบนพัด” บุ๊ค น.ส.สุวดี นันตา อายุ 22 ปี ชั้นปี 4 คณะสังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และ น้ำ น.ส.จารุชา เพ็ชราวรรณ อายุ 21 ปี ชั้นปี 3 คณะเกษตรศาสตร์ สาขาพืชไร่ จากมหา วิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเผยความรู้สึกเช่นกัน

“เหมือนย้อนเวลากลับไปในอดีตอีกครั้ง ได้มาเห็นอะไรหลายๆ อย่างในสถานที่เดียวกัน กิจกรรมนี้ดีน่าจะจัดให้บ่อยกว่านี้ จะมีประโยชน์ต่อเด็กและคนทั่วไปได้มาชมกัน” น้ำกล่าว

ขณะที่บุ๊คบอกว่า เด็กรุ่นหลังไม่ค่อยได้สัมผัสอะไรแบบนี้แล้ว หนูอยู่บ้านนอกเห็นประจำ แต่มันเริ่มหายไป เพราะคนแก่ที่ทำกันก็ตายไป ไม่มีคนสืบทอด แต่งานนี้เด็กสัมผัสจับต้องได้ ได้มาเรียนก็มีความสุข นักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวจีนก็มางานนี้เยอะมากเช่นกัน วัฒนธรรมล้านนาเป็นรากเหง้าของเราอยู่แล้ว จะทำหรือปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เข้ากับยุคสมัย

“ขอบคุณครูสล่าที่สืบทอดภูมิปัญญาองค์ความรู้เหล่านี้ ขอบคุณทุกท่านที่มาสอนเทคนิค ต่างๆ ให้พวกเรา เรื่องราวเหล่านี้จะอยู่ในความ ทรงจำของเราและจุดประกายแห่งความภูมิใจว่าครั้งหนึ่งเราเคยลงมือทำ และจะไม่ลืม” บุ๊ค ทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน