ปลดล็อกพลังสร้างสรรค์ ผ่านการเล่น 5 แบบ

ออร่าความน่ารักสดใสและความสามารถล้นเหลือของซุป’ตาร์วัย 6 ขวบ น้องอินเตอร์ รุ่งลดา รุ่งลิขิตเจริญ ได้รับการพิสูจน์อีกครั้ง หลังจากที่น้องอินเตอร์จูงมือน้องอาร์ตี้ น้องชายสุดเลิฟ ฝ่าด่านพี่ T-Rex ไดโนเสาร์จอมป่วนที่คอยวิ่งขัดขวางการล่าแสตมป์ไดโน เสาร์ครบทั้ง 10 ตัว จากเขาวงกตสุดซับซ้อนในกิจกรรม “Dinosaur Maze Adventure” ที่ลานรอยัล พาร์ค พลาซา ชั้น 1 ศูนย์การค้า พาราไดซ์ พาร์ค สำเร็จ สองพี่น้องยังจูงมือไปสนุกกันต่อกับเกมขุดค้นหาฟอสซิล “Fossil Hunter”

เทรนด์การเลี้ยงลูกของคนรุ่นใหม่จะโฟกัสไป ที่การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัวมากกว่าในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก พญ.มัณฑนา ชลานันต์ จากโรงพยาบาลกรุงเทพ บอกเล่าเคล็ดลับปลดล็อกพลังความคิดสร้างสรรค์ของลูกรักให้โดดเด่นว่า หัวใจสำคัญอยู่ตรงที่ไม่ปิดกั้นจินตนาการ เพราะเด็กทุกคนมีความสามารถการคิดในแบบของเขา คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมจินตนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้ผ่านการ เล่นที่หลากหลาย

ปลดล็อกพลังสร้างสรรค์

พญ.มัณฑนา ชลานันต์

การเล่น สำหรับเด็กแบ่งเป็น 5 แบบ คือ 1.การใช้ร่างกายในการเล่น การปล่อยให้เด็กปีนป่าย ห้อยโหน หรือเล่นกีฬา จะช่วยพัฒนาด้านสติปัญญาและพัฒนากล้ามเนื้อไปพร้อมกัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมจินตนาการด้วย สังเกตจากวิธีการเล่นของเด็กแต่ละคน บางคนเลือกขึ้นบันไดเพื่อลื่นกระดานลงมา แต่เด็กบางคนพยายามปีนทางกระดานลื่นขึ้นไป เพื่อเรียนรู้ว่าตัวเองสามารถปีนต้านแรงโน้มถ่วงและใช้แรงเสียดทานพิชิตพื้น ผิวที่ราบลื่นขึ้นไปด้านบนได้

2.การเล่นโดยบริหารจัดการด้วยตัวเอง เช่น การปั้นดิน การก่อกองทราย การต่อจิ๊กซอว์ เพื่อสร้างผลงานให้เป็นภาพเหมือนกับจินตนาการ เป็นการเล่นที่นอกจากจะส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือแล้ว ยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ผลงานแตกต่างไปตามจินตนาการของ แต่ละคน หากเด็กยังไม่สามารถปั้นหรือต่อชิ้นส่วนได้สมบูรณ์ตามที่จินตนาการออกมา ผู้ใหญ่สามารถช่วยชี้แนะและช่วยแต่งแต้มผลงานของเด็กให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เริ่มจากถามความคิดของเด็กก่อนว่าสิ่งที่ต้องการปั้นหรือต่อชิ้นส่วนขึ้นมา นั้นคืออะไร เมื่อเด็กบอกถึงสิ่งที่ต้องการจะสร้างสรรค์แล้ว พบว่ายังมีบางชิ้นส่วนสำคัญขาดหายไป ผู้ใหญ่สามารถค่อยๆ ช่วยต่อเติมส่วนที่หายเข้าไปให้เด็กเห็นทีละชิ้น จนผลงานนั้นครบถ้วนสมบูรณ์

ปลดล็อกพลังสร้างสรรค์

น้องอินเตอร์ รุ่งลดา รุ่งลิขิตเจริญ – น้องอาร์ตี้

3.การเล่นบทบาทสมมติ เช่น การเล่นขายของ สมมติเป็นหมอหรือตำรวจ การนำหุ่นมือ ตุ๊กตากระดาษ หรือตุ๊กตาจริงๆ มาเล่นตามจินตนาการ และร้อยเรียงความคิดจนเกิดเป็นเรื่องราวขึ้นมา ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาด้านภาษาและเข้าใจบริบทในสังคมมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้เด็กต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ไม่สิ้นสุด

4.การใช้ ดนตรีและศิลปะร่วมในการเล่น การเล่นดนตรีและการวาดภาพนอกจากจะทำให้เพลิดเพลินแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสร้างจินตนาการอย่างต่อ เนื่อง การเรียนดนตรีที่เริ่มต้นจากตัวโน้ตทีละตัวจนประกอบกันเป็นทำนองและแต่งเป็น เพลงได้นั้นนักดนตรีต้องมีจินตนาการก่อนจึงเรียบเรียงเป็นเพลงได้ การฟังดนตรียังชวนให้เด็กๆ คิดจินตนาการเป็นเรื่องราวตามทำนองที่แตกต่างกัน ส่วนการเล่นในกิจกรรมด้านศิลปะมักเริ่มต้น จากการขีดเส้น วาดรูปวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ต่อมาจึงวาดประกอบกันเป็นรูปที่มีความหมาย หรือระบายสีเพื่อเพิ่มความงดงาม ตลอดจนสร้างเรื่องราวผ่านรูปวาด นับเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กสนุกและสร้างจินตนาการที่หลากหลายยิ่งขึ้น

5.การเล่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การอ่านหนังสือนิทานหรือการอ่านนิยายสั้นๆ ไม่เพียงช่วยส่งเสริมจินตนาการของเด็กผ่านบทบาทของตัวละครแต่ละตัวเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องภาษาและการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในสังคม ให้เด็ก การเล่นเกมกระดานต่างๆ ยังช่วยพัฒนาความคิด ส่งเสริมความรู้ที่แตกต่างกันในแต่ละเกม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน