หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ กสศ.ผนึกกำลังภาคีระดับชาติ

หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ : สํานักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับจังหวัดสุรินทร์ โดยสมัชชาการศึกษาจังหวัดสุรินทร์ และภาคีเครือข่าย จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น การกำหนดนโยบายเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ..2561 แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและโอกาสทางการศึกษาอย่างยั่งยืน

จังหวัดสุรินทร์ยกกรณีศึกษาระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (iSEE)” ที่ค้นหาและช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสและกลุ่มเสี่ยง พร้อมระบบติดตามช่วยเหลือเยาวชนที่ออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือฝึกทักษะอาชีพตามความถนัด

หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ

ภาคีเครือข่าย

..วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของ กสศ. ที่สนับสนุนการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ตามบริบทในพื้นที่ของตนเอง

เช่นเดียวกับการเติบโตของภาคีเชียงใหม่ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ..2558 ขณะนี้มีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน ที่เข้มแข็งจนนำมาสู่การจัดตั้งกองทุนปฏิรูปการศึกษาเชียงใหม่ หรือกองทุน 10 บาท ระดมความร่วมมือและงบประมาณจากคนเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนเด็กเยาวชนยากจนและด้อยโอกาส ให้มีโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้สำเร็จ โดยไม่ต้องรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐเพียงอย่างเดียว นี่คือต้นแบบของกลไกพิเศษที่ กสศ. จะสนับสนุนให้เติบโตขึ้นทั่วประเทศ

ในส่วนกระบวนการรับฟังความคิดเห็น เป็นเวทีระดมความร่วมมือเพื่อต่อยอด ขยายผลข้อเสนอแนวทางใหม่ๆ จากทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทั้งระบบ โดยครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 15 ..ปีนี้ จังหวัดสุรินทร์เป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ

หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ

น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ

นอกจากนี้ กสศ.ยังเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็นที่ www.eef.or.th จึงขอเชิญชวนประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคตให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

รองประธาน กสศ. กล่าวต่อว่า ภายหลังขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น สำนักงานกสศ.จะนำทุกประเด็นความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ต่อไป โดย กสศ. จะมีผลงานใน 3 เรื่องสำคัญคือ

หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ

นายแพทย์สุภกร บัวสาย

1.ขจัดอุปสรรคต่อความเสมอภาคทางการศึกษาของนักเรียนยากจนพิเศษจำนวนประมาณ 620,000 คน ทั่วประเทศ ด้วยการสนับสนุนเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว และมาตรการดูแลต่อเนื่องโดยครูและสถานศึกษา

2.เอกซเรย์พื้นที่ 15 จังหวัด ทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ค้นหาเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา อายุระหว่าง 3-18 ปี จำนวน 100,000 คน ส่งต่อสู่ระบบการศึกษาและพัฒนาทักษะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความถนัดและศักยภาพของเด็กเป็นรายคน และสอดคล้องกับตลาดแรงงานในพื้นที่ ซึ่งในอนาคตจะสามารถเป็นต้นแบบการทำงานให้ครบทั้ง 77 จังหวัดได้ในปีงบประมาณต่อไป

หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ

3.สนับสนุนทุนการศึกษาสายอาชีพสำหรับนักเรียนยากจนระดับ .3 ที่มีศักยภาพสูง 12,000 ทุน โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาจะมีงานทำได้ทันที ยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเยาวชนและครอบครัวออกจากกับดักความยากจน ซึ่งถือเป็นการลดความเหลื่อมล้ำที่ยั่งยืนผ่านการส่งเสริมการเลื่อนชั้นทางสังคม (Social Mobility)

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทำข้อมูลสถานการณ์นักเรียนยากจนในภาคอีสาน โดยสำรวจจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา iSEE (Informatiom System for Equitable Education)” ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่พัฒนาระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงเลขประจำตัว 13 หลัก ของกลุ่มเป้าหมายกองทุนกว่า 4 ล้านคน เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของรัฐทั้ง 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และกระทรวงการคลัง (กค.) เพื่อค้นหา คัดกรอง ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานของกองทุนในระยะยาว

หลาก&หลาย : แก้การศึกษาไทยเหลื่อมล้ำ

รับฟังความคิดเห็น

พบว่า 10 จังหวัดมีนักเรียนยากจนมากที่สุด ได้แก่ .กาฬสินธุ์ ร้อยละ 54.95 .ศรีสะเกษ ร้อยละ 52.64 .มหาสารคาม ร้อยละ 49.91 .บุรีรัมย์ ร้อยละ 49.75 .ร้อยเอ็ด ร้อยละ 49.72 .มุกดาหาร ร้อยละ 48.33 .อุบล ราชธานี ร้อยละ 47.28 .ยโสธร ร้อยละ 45.68 .สกลนคร ร้อยละ 45.21 และจ.สุรินทร์ ร้อยละ 44.09

ยังมีเด็กไทยจำนวนกว่า 4.3 ล้านคน ที่ต้องการความช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อให้ได้เข้าถึงการศึกษา ที่สอดคล้องกับความจำเป็นในรายบุคคล เพื่อให้มีโอกาสที่จะสำเร็จการศึกษา และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งในปีแรกของ กสศ.จะมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มที่ยากจนเป็นพิเศษจำนวน 5.7 แสนคน ในระบบการศึกษา ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนา BIG DATA หรือฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการค้นหา คัดกรอง และสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งติดตามกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์กว่า 4 ล้านคนทั่วประเทศ และมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้ง 6 กระทรวง เพื่อร่วมกันสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในสังคมไทยตามหลักพันธกิจของกองทุนฯนพ.สุภกรกล่าวสรุป

โดย : นิชานันท์ นิวาศะบุตร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน