คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ต้นสาละ เป็นต้นไม้ยืนต้นออกดอกสีชมพู มีกลิ่นหอมเย็น

ต้นสาละและดอกสาละ เป็นต้นไม้ ศักดิ์สิทธิ์ทั้งในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู ปรากฏในพระพุทธศาสนาตอนสำคัญอยู่ 3 ครั้ง

ครั้งแรก การประสูติของ เจ้าชายสิทธัตถะ ใต้ต้นสาละ สวนลุมพินีวัน ซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ

ครั้งที่สอง มีอยู่ในตอนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ครั้งที่สาม ในมหาปรินิพพานสูตร เมื่อพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา พระองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงตั้งที่นอนระหว่างต้นสาละคู่ มีศีรษะไปทางเหนือ เราลำบากกายนัก จัดนอน (ลำดับนั้นพระพุทธองค์ประทับสีหไสยาสน์แล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาลโปรยลงมาบนสรีระ…)

ในศาสนาฮินดู สาละเป็นที่ประทับของพระเจ้าและเป็นสัญลักษณ์ของพระอินทร์

ในสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม การสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพานจะมีภาพวาดของต้นสาละปรากฏอยู่ทางพระเศียรหรือพระบาทของพระพุทธรูปที่วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี อันมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ในพระวิหาร มีการปลูกต้นสาละไว้ทางทิศใต้หรือทางพระบาทของพระพุทธรูปนอน

พระพุทธปางไสยาสน์ วัดพระนอนจักรสีห์ จึงเป็นสัญลักษณ์ทั้งของปางทรมานอสุรินทราหูและปางปรินิพพานไปพร้อมๆ กัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน