เรือนจำสุขภาวะ ฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิง

เรือนจำสุขภาวะ ฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิง – แนวคิดเรือนจำสุขภาวะได้มาจากการหลอมรวมความรู้ที่ปฏิบัติจริงกับผู้ต้องขังหญิงมาเกือบ 10 ปีอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการดำเนินงานผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่เรือนจำกลางราชบุรี อุดรธานี และอุบลราชธานี อันมีแนวคิดที่ต้องการพัฒนาเรือนจำให้เป็นพื้นที่เอื้ออำนวยต่อผู้ต้องขังในเรือนจำให้มีสุขภาวะที่ดีในการดำรงชีวิต ทั้งร่างกายและจิตใจ

เป็นการฟื้นฟูผู้ต้องขังกลับคืนสู่สังคมในฐานะพลเมืองที่มีคุณภาพ” คำบอกเล่าของ ผศ.ดร.ธีระวัลย์ วรรธโนทัย หัวหน้าโครงการวิจัยเรือนจำสุขภาวะ : พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง

ผศ.ดร.ธีระวัลย์ วรรธโนทัย หัวหน้าโครงการวิจัยเรือนจำสุขภาวะ : พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง

ผศ.ดร.ธีระวัลย์ วรรธโนทัย หัวหน้าโครงการวิจัยเรือนจำสุขภาวะ : พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง

เรือนจำสุขภาวะ ฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิง

เรือนจำสุขภาวะ ฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิง

เรือนจำสุขภาวะ ฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิง

ก่อนอธิบายว่า หลักคิดสำคัญของเรือนจำสุขภาวะเน้นแนวคิดชุมชนแห่งความห่วงใย (Caring Community) เป็นแนวคิดที่สะท้อนการทำให้เรือนจำเป็นพื้นที่ฟื้นฟูร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ นำความเป็นชุมชนเข้าสู่เรือนจำซึ่งแต่เดิมจะเป็นพื้นที่ของการลงโทษเป็นหลัก ชุมชนแห่งความห่วงใยในเรือนจำสุขภาวะเป็นพื้นที่ทางสังคมซึ่งสมาชิกผูกพันกัน โดยต่างคนต่างสนับสนุนและช่วยกัน ประคับประคองให้ทุกกิจกรรมทุกเรื่องราวดำเนินไปด้วยดี เน้นให้ผู้ต้องขังทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เปลี่ยนแปลงตัวเองและไม่หวนกลับคืนสู่เรือนจำอีก

วิธีการทำงานของเรือนจำสุขภาวะต้องลดความเสี่ยงของโรคที่มักมีในเรือนจำ เข้าถึงบริการสุขภาพแบบองค์รวม คิดบวก มีพลังชีวิต ดำรงชีวิตภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดี ธำรงบทบาทของแม่ ลูก และครอบครัว มีโอกาสสร้างที่ยืนในสังคม หลักคิดของเรือนจำสุขภาวะจะเป็นจริงได้ต้องผ่านกระบวน การ วิธีการ กิจกรรม รวมถึงรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมภายในเรือนจำ ต้องอาศัยการมองเห็นความเป็นมนุษย์ในตัวตนของผู้ต้องขังทุกคน ที่สำคัญผู้บัญชาการเรือนจำ เจ้าหน้าที่ ผู้คุม ต้องมองเห็นคุณค่าและมองเห็นผู้ต้องขังทุกคนเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา” ผศ.ดร.ธีระวัลย์กล่าว

หัวหน้าโครงการวิจัยเรือนจำสุขภาวะ กล่าวอีกว่า “เรือนจำหลายแห่งในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียและบางมลรัฐของสหรัฐอเมริกา เช่น แคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก โอไฮโอ นิวยอร์ก เริ่มสนใจการพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคมของเรือนจำให้เหมือนสภาวะปกติ เหมือนสังคมภายนอกมากที่สุด เพราะวิธีบริหารจัดการเรือนจำแบบเดิมไม่ช่วยแก้ปัญหาผู้ต้องขัง ผู้ต้องขังยังมีจำนวนมาก กระทำผิดซ้ำ ดังนั้นแนวทางการสร้างเรือนจำสุขภาวะจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่สังคมไทยควรทำความเข้าใจและร่วมเรียนรู้”

เรือนจำสุขภาวะมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ 1.เพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ต้องขัง 2.ลดความเสี่ยงการเป็นโรคที่พบบ่อยในเรือนจำ 3.เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการบริการสุขภาพ 4.ผู้ต้องขังมีพลังชีวิต คิดบวกและมีกำลังใจ 5.ดำรงชีวิตอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและเอื้ออาทร 6.สามารถธำรงบทบาทของการเป็นแม่ ลูก และ/หรือสมาชิกในครอบครัว และ 7.มีโอกาสสร้างที่ยืนในสังคม ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

โดยมีผศ.ดร.ธีวัลย์ วรรธโนทัย เป็นหัวหน้าโครงการเรือนจำสุขภาวะ: พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง และรศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ ที่ปรึกษาโครงการ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน