ประกาศสงกรานต์ ตอนจบ

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

โดย น้าชาติ ประชาชื่น

ประกาศสงกรานต์ ตอนจบ – ฉบับวานนี้ (15 เม..) “รินทรถามมาว่า มีคำประกาศสงกรานต์ มีคำทำนาย อยากทราบที่มา และของปีนี้ด้วย เมื่อวานนำอ่านประกาศสงกรานต์พุทธศักราช 2562 และศัพท์ต่างๆ ในประกาศ วันนี้อ่านกันต่อถึงประกาศสงกรานต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยนำคำตอบมาจากสารานุกรมไทยสำหรับ เยาวชนฯ เล่มที่ 35 ว่าด้วยประกาศสงกรานต์

ประกาศสงกรานต์

ประกาศสงกรานต์ประจำปีของหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีข้อความที่ให้รายละเอียดมาก โดยจัดส่งเป็นหนังสือออกจากกรุง ไปยังหัวเมืองต่างๆ เช่น ประกาศสงกรานต์ จุลศักราช 1175 ตรงกับพุทธศักราช 2356 ส่งไปยังเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น

ต่อมารัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชดำริว่า ประกาศสงกรานต์แบบเก่านั้น มีข้อความเกี่ยวกับคำทำนายเหมือนอย่างหมอดูมากไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขข้อความในประกาศสงกรานต์ขึ้นมาใหม่ บอกแต่เพียงว่า

วันนั้นเป็นวันสงกรานต์ วันเนา วันเถลิงศก ดังข้อความในตัวอย่างประกาศสงกรานต์ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช 1219 พุทธศักราช 2400 ความว่า

ประกาศสงกรานต์

มีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย แลราษฎรในกรุงฯ นอกกรุงฯ ให้รู้ทั่วกันว่า ในปีมะเส็ง นักษัตรนพศกนี้ วันเสาร์ เดือน แรม ค่ำ เป็นวันมหาสงกรานต์ วันอาทิตย์แรม ค่ำ เป็นวันเนา

วันจันทร์แรม ค่ำ เป็นวันเถลิงศก เป็นวันนักขัตฤกษ์พิเศษเพียง วัน ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย แลราษฎรในกรุงฯ นอกกรุงฯ ทำบุญให้ทาน ในเขตมหาสงกรานต์นี้ เหมือนอย่างเคยทำมาแต่ก่อน

ปีมะเส็งนพศกนี้ พุทธศักราช ๒๔๐๐ นับตั้งแต่วันเสาร์ เดือน แรม ค่ำ ไป เป็นปีที่ ในรัชกาลประจุบันนี้ มหาศักราช ๑๗๗๙ จุลศักราช ๑๒๑๙ ตั้งแต่วันอาทิตย์ เดือน แรม ค่ำ ไป ปีนี้ ไม่มีอธิกมาส แลอธิกวาร

จะมีสุริยคาธครั้งหนึ่งในเดือน ๑๐ สิ้นเดือนจะมีจันทรุปราคาครั้งหนึ่งในเดือน กลางเดือน วันเสาร์ เดือน ขึ้น ค่ำ วันหนึ่ง วันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำวันหนึ่ง เป็นวันที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

ประกาศสงกรานต์

ประกาศมา วันพุธ เดือน แรม ๑๕ ค่ำ ปีมะโรงนักษัตรอัฐศก

อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์ดังกล่าวข้างต้น ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนส่วนใหญ่ เนื่องจากขาดความสำคัญเกี่ยวกับวันที่จะใช้ในการประกอบพิธีมงคล และเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศที่บอกเรื่อง น้ำมากน้ำน้อย

ในสมัยต่อมา ประกาศสงกรานต์จึงนิยมทำเป็นภาพปฏิทิน บอกวัน เดือน ปี ทั้งทางสุริยคติและทางจันทรคติ ในภาพมีนางสงกรานต์ประทับมาบนหลังพาหนะ แวดล้อมด้วยขบวนแห่เทวดานางฟ้าเชิญเศียรท้าวกบิลพรหม

ผู้ที่แห่นำหน้าจะขี่สัตว์ และถือธงบอกชื่อปี ชื่อสัตว์ในพวก 12 นักษัตร มีภาพนาคพ่นน้ำ หรือนาคให้น้ำตามจำนวนนาคที่มีในปีนั้น ตอนล่างมีข้อความบอกประกาศสงกรานต์ประจำปี ดังตัวอย่างประกาศสงกรานต์ประจำปีเถาะ พุทธศักราช 2542

ปีเถาะ (ธาตุไม้ มนุษย์ผู้หญิง) เอกศก จุลศักราช 1361 ทางจันทรคติ เป็นอธิกมาส ทางสุริยคติ เป็นปกติสุรทิน วันที่ 14 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 5 เวลา 10 นาฬิกา 58 นาที 58 วินาที

นางสงกรานต์ ทรงนามว่า มณฑาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จยืนมาเหนือหลัง คัทรภะ (ลา) เป็นพาหนะ, วันที่ 16 เมษายน เวลา 15 นาฬิกา 0 นาที 0 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1361

ปีนี้ วันพฤหัสบดีเป็นวันธงชัย วันอาทิตย์เป็นวันอธิบดี วันพุธเป็นวันอุบาทว์ วันอังคารเป็นวันโลกาวินาศ ปีนี้ วันศุกร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า นาคให้น้ำ 1 ตัว เกณฑ์ธัญญาหารได้เศษ 0 ชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 1 ส่วน เสีย 9 ส่วน เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปถวี (ดิน) น้ำงามพอดี

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับท่าทางของนางสงกรานต์ ซึ่งกำหนดตามเวลาที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ หรือเวลามหาสงกรานต์ตามที่คำนวณได้ เกณฑ์ในการกำหนดท่าทางของนางสงกรานต์เป็นดังนี้

ถ้าเวลามหาสงกรานต์เป็นเวลารุ่งสางถึงเที่ยง (06.00- 11.59 .) นางสงกรานต์ยืนมา, ถ้าเป็นเวลาเที่ยงถึงเย็น (12.00-17.59 .) นางสงกรานต์นั่งมา, ถ้าเป็นเวลาค่ำถึงเที่ยงคืน (18.00-23.59 .) นางสงกรานต์นอนลืมตามา และถ้าเป็นเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืด (00.00-05.59 .) นางสงกรานต์นอนหลับตามา ข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวนี้จะมีระบุในประกาศสงกรานต์เสมอ

[email protected]

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน