วัคซีน‘ไข้หวัดใหญ่’ เรื่องต้องรู้จากคุณหมอ

รายงานสุขภาพ

วัคซีน‘ไข้หวัดใหญ่’ เรื่องต้องรู้จากคุณหมอ : รายงานสุขภาพ – ไข้หวัดใหญ่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยอันดับต้นๆ แม้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็รณรงค์ถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง แต่ประชาชนก็ยังขาดการรับรู้ ขาดความเข้าใจในเชิงดูแลป้องกัน และยังไม่ตระหนักถึงมหันตภัย ไข้หวัดใหญ่อาจจะทำให้สูญเสียชีวิตได้

วัคซีน‘ไข้หวัดใหญ่’ เรื่องต้องรู้จากคุณหมอ

วัคซีน‘ไข้หวัดใหญ่’ เรื่องต้องรู้จากคุณหมอ

ประเทศไทยคาดการณ์ว่ามีประชากรใน 7 กลุ่มเสี่ยง อยู่ประมาณ 20 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 1 ใน 5 ของประชากรไทยทั้งหมด ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2.เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ 3.ผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4.ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป

5.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเอง ไม่ได้ 6.โรค ธาลัสซีเมีย ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ และ 7.โรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งหากกลุ่มเสี่ยงนี้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้มีโอกาสเสียชีวิตในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มคนปกติมากที่สุดถึง 100 เท่า

รศ.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์

รศ.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์

รศ.นพ.ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในแต่ละปีไวรัสไข้หวัดใหญ่มักปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ทำให้สามารถก่อโรคในคนได้ทุกปี นั่นเป็นสาเหตุต้องมีการพัฒนาวัคซีนที่ไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปีให้ได้มากที่สุดนั่นเอง จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอยู่มาก ที่ต้องศึกษาค้นคว้าและวิจัย อยู่ตลอดเวลาเพื่อพยายามควบคุมการแพร่ กระจายของโรคระบาดต่างๆ รวมถึงเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ

.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมศึกษาไข้หวัดใหญ่ กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมี 3 ชนิด คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยในเอเชียตะวันออก มีรายงานถึงการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza A (H3N2) เป็นไวรัสที่พบมากกว่าไวรัสอื่นๆ ส่วนไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วน ชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการ อย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้ เกิดการระบาด

รศ.พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล

รศ.พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล

รศ.พญ.อรินทยา พรหมินธิกุล แพทย์เฉพาะทาง อายุรแพทย์โรคหัวใจ และรองผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียง ใหม่ เปิดเผยว่า อุปสรรคของการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่ามีอัตราการให้วัคซีนอยู่ในระดับต่ำ แม้ผู้ป่วยจะเป็นกลุ่มเสี่ยง จากการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 211 คน พบมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 18.3 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนตามฤดูกาล และมีถึงร้อยละ 63.3 ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย

ปัจจัยสำคัญเกิดจากการที่แพทย์ไม่ได้แนะนำเรื่องวัคซีน (ร้อยละ 81) ไม่ได้รับการแนะนำจากสื่อด้านเอกสาร (ร้อยละ 5.3) จากการศึกษา CORE-Thailand cohort ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป จำนวน 9,000 ราย พบว่ามีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 15.5 เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนในกลุ่มความเสี่ยงจำเพาะ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้รับเพียงร้อยละ 17.2 อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้อัตราการรับวัคซีนต่ำ เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบถึงประโยชน์ และกังวลถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีน

ขณะที่แพทย์ยังมีความตระหนักและมีโอกาสน้อยที่จะแนะนำวัคซีนกับผู้ป่วย รวมถึงความกังวลของแพทย์เองถึงผลข้างเคียง และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน