ภัยร้ายของ‘MPS’ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด

ภัยร้ายของ‘MPS’ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด : สุขภาพ – คนทำงานส่วนใหญ่จะรู้จักอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะมีอาการปวดเฉพาะจุด เช่น คอ บ่า ไหล่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอาการ เหล่านี้เป็นเพียงกลุ่มย่อยของ MPS (Myo fascial Pain Syndrome) หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด

ภัยร้ายของ‘MPS’

ภัยร้ายของ‘MPS’

ภัยร้ายของ‘MPS’

ภัยร้ายของ‘MPS’

ลักษณะของอาการจะคล้ายกับออฟฟิศซินโดรม แต่อาการของ MPS จะมีอาการปวดแบบกว้างกว่า และมีความรุนแรงมากกว่า จึงเป็นภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าออฟฟิศซินโดรม

คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัด จากคลินิกกายภาพ บำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี) กล่าวว่า MPS หรือ อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่วงการแพทย์ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก MPS นี้เป็น กลุ่มอาการปวดซึ่งจะนำไปสู่อาการและโรคที่ร้ายแรงต่อผู้ที่เป็นได้

ปัจจุบันพบว่ากว่า 20% ของผู้มีอาการ MPS ที่ปล่อยให้เรื้อรัง(มีอาการต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน) จะส่งผลให้เป็นโรค Fibromyalgia /FMS หรืออาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดกระจายตัวทั้งร่างกายได้ ซึ่งความน่ากลัวของกลุ่มอาการนี้คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของสารเคมีในสมองบางตัว (Brain Chemical Adaptation) ทำให้ผู้มีอาการของ FMS นั้นไวต่อการรับรู้ ความรู้สึกเจ็บปวด

ภัยร้ายของ‘MPS’

ภัยร้ายของ‘MPS’

และที่สำคัญพบว่า ผู้เป็นเรื้อรังมากว่า 50% มักส่งผลต่อภาวะทางจิตใจและอาการต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงแค่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเท่านั้น เช่น นอนไม่หลับ เพลียไม่ทราบสาเหตุ เหนื่อยล้า ชาตามร่างกาย วิตกกังวล เครียด และนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าในที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้เกิด MPS เพราะมีการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างหนัก คือ ทำต่อเนื่องอยู่ในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน ไม่พักหรือเปลี่ยนอิริยาบถ อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมของที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานไม่ เหมาะสม ไม่ทราบวิธีเบื้องต้นในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมัดที่ต้องทำงานหนัก ออกกำลังกายเพื่อแก้อาการผิดวิธี ฯลฯ

ภัยร้ายของ‘MPS’

ส่วนใหญ่ผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ MPS มักไม่ทราบว่าตนเป็นอาการนี้ และถูกวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่คล้ายกัน เช่น ออฟฟิศซินโดรม ไมเกรน ปวดศีรษะจากความตึงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ หรืออักเสบเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวเป็นเพียงส่วนย่อยของ MPS

คุณเพ็ญพิชชากรกล่าวต่อว่า ลองสังเกตดูว่ามีอาการของ MPS หรือไม่ ประกอบด้วย กล้ามเนื้อแข็งเป็นลำ, ปวดมากเมื่อต้องอยู่ในท่าเดิมๆ, จุดกดเจ็บมักปวดร้าวไปบริเวณอื่นๆ, วิงเวียนหนักศีรษะ, ชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย, ตาพร่า คัดจมูก เหมือนน้ำตาเอ่อ และนอน ไม่หลับ เครียด

ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบแก้ไข เพราะในทางกายภาพบำบัดสามารถตรวจวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการปวดต่างๆ ได้ ซึ่งหากเราทราบแน่ชัดว่าอาการที่เป็นนั้นรุนแรง จัดอยู่ในขั้นของกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อแบบใด เราก็สามารถทราบวิธีการในการจัดการดูแล ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูอาการนั้นๆ ได้ก่อนที่อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้น” คุณเพ็ญพิชชากรกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน