เปิดบทเรียน AI เด็กไทยสู่สิงคโปร์

คอลัมน์ สดจากเยาวชน

เปิดบทเรียน AI – แม้เรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังมีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมโลก แต่ยังนับเป็นเรื่องใหม่ของหลักสูตรการศึกษาของไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดนำเข้ามาดำเนินการสอนในระบบอย่างจริงจัง

เปิดบทเรียน AI

การจัดค่าย Creative AI Camp for Incoming Society ของ บมจ.ซีพี ออลล์ และ 8 พันธมิตร พาเยาวชนพร้อมคณะครูเหินฟ้าไปเรียนรู้เรื่อง AI : Artificial Intelligence ที่ Advanced Robotics Center มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) และสำนักงาน IBM ประเทศสิงคโปร์ ผู้ผลิตและบริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก

เปิดบทเรียน AI

ปิยาภรณ์

..ปิยาภรณ์ พิกุล นักเรียนชั้น .4 โรงเรียนชานุมานวิทยาคม .อำนาจเจริญ เล่าว่า ก่อนมาร่วมค่ายนี้แทบไม่มีความรู้เรื่อง AI หรือแม้กระทั่งการเขียน Coding เลย การมาร่วมกิจกรรมในค่ายและได้พบเพื่อนเยาวชนที่พร้อมแลกเปลี่ยน ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ไม่ปิดกั้นตัวเอง

ได้เห็นว่าสิ่งที่เคยเรียนมา เช่น วิชาคณิตศาสตร์นำไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะเรื่อง AI นั้นทุกอย่างเป็นตัวเลข ทำให้รู้สึกว่าการเรียนหลายเรื่องนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

เป็นคนชอบคิด ชอบจินตนาการไปเรื่อย คิดอะไรที่เกินจริงมากๆ การมาค่าย Creative AI Camp ที่สิงคโปร์ทำให้รู้สึกว่าทุกอย่างที่เราเคยคิดนั้นเป็นไปได้ จึงอยากฝึกฝนและทำให้เกิดขึ้นจริง

 

ด้าน ..พีรดา ธนะขว้าง นักเรียนชั้น .5 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม .น่าน บอกว่า จากที่ไม่เคยเรียนเรื่อง AI มาก่อน จึงรู้สึกกดดัน แต่พอได้มาเข้าค่ายทุกคนเป็นกันเอง ทำให้ผลักดัน ตัวเองมากขึ้น และได้รับความรู้ใหม่ๆ

เปิดบทเรียน AI

พีรดา

เช่น การเขียน AI ให้ฉลาด เพื่อไปพัฒนา Machine Learning ทั้งในรูปแบบที่มนุษย์เป็น ผู้ป้อนข้อมูลให้เรียน และแบบที่ให้ AI เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง

เราอาจคิดว่า AI จะมาแทนคน แต่จริงๆ แล้ว AI มาเพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยให้เราใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น เมื่อได้เห็นและเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ทำให้อยากพยายามฝึกฝนและพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น

การเข้าร่วมกิจกรรมที่สิงคโปร์ เยาวชนทั้ง 4 ทีม 19 ชีวิต จะต้องนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากในค่ายทั้งที่ไทยและสิงคโปร์มาต่อ ยอดให้เกิดเป็นไอเดียสร้างสรรค์ผลงานจริง เพื่อช่วยเหลือสังคม

หลายผลงานได้รับการตอบรับที่ดีจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและสิงคโปร์ เช่น ผลงานแก้ปัญหา Zero Hunger ของกลุ่ม Hextreme และผลงานด้าน Community Relationship ของกลุ่ม Sigma X equal MA

..กณิกนันต์ ทองเพ็ง นักเรียนระดับ ปวช.2 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) หนึ่งในสมาชิกทีม Hextreme เล่าว่า จากโจทย์เรื่อง Zero Hunger ที่มีจุดมุ่งหมายให้ลดปัญหาขาดแคลนอาหาร ทีมเล็งเห็นปัญหาอาหารที่ไม่สามารถขายได้ทันวันหมดอายุ จึงเลือกแก้ปัญหาด้วยการพัฒนา AI ขึ้นมา

เปิดบทเรียน AI

กณิกนันต์

สำหรับการพยากรณ์สต๊อกสินค้าอาหารในร้าน โดยคำนวณจากชุดข้อมูลต่างๆ เช่น สถิติยอดขาย พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อช่วยบริหารสินค้ากลุ่มอาหารภายใต้แนวคิด Food Waste Reduction เพื่อให้อาหารไม่ต้องถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า

เรื่อง AI ไม่ใช่แค่คนที่ต้องเรียนวิทยาศาสตร์ ถึงจะมาเรียนได้ ทุกสายอาชีพสามารถนำเรื่อง AI ไปใช้ประโยชน์สร้างสรรค์สังคมได้ แค่เราต้องหมั่นฝึกฝนและมีวินัยที่อยากจะทำให้เกิดขึ้นได้จริง

ด้าน นายอติชาต อุปการสังข์ นักเรียนชั้น .5 โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Sigma X equal MA กล่าวว่า ทีมพยายามพัฒนาไอเดียแอพพลิเคชั่น “KAIKONG” (ขายของ) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ คนกับสินค้าและบริการร้านค้าปลีกทั้งเล็กและ ใหญ่ของชุมชนไว้ในแอพฯ

เปิดบทเรียน AI

อติชาต

โดยจะมี AI Chatbot เข้ามาช่วยตอบคำถามว่าสินค้าที่เรากำลังตามหามีขายที่ไหนบ้าง ราคาเท่าไหร่ ร้านห่างจากเราแค่ไหน และมีระบบการจดจำภาพเข้ามาช่วยตรวจสอบว่าร้านค้าไหนมีสินค้าที่ผู้ใช้กำลังตามหาบ้าง

จุดมุ่งหมายของทีมคืออยากให้ร้านค้าปลีก ทุกขนาดเติบโตไปด้วยกันได้ โดยแอพฯ ของเรา จะส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น เช่น รวบรวมข้อมูลสินค้าโอท็อปไว้ในแอพฯ ด้วย

เปิดบทเรียน AI

ก่อศักดิ์

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ อธิบายเสริมว่าหากจะให้ AI เป็น AI ที่ดี ต้องปลูกฝังให้คนทำ AI เป็นคนที่ดี จึงใช้การเรียนรู้แบบสหวิทยาการและปลูกฝัง ให้เยาวชนมีคุณธรรมควบคู่กับมีความรู้ในการสร้างสรรค์ AI

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน